เมนู

อรรถกถาสุนักขัตตสูตร



สุนักขัตตสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสุนักขัตตสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระอรหัตชื่อว่า
อัญญา. บทว่า พฺยากตา ความว่า อัญญา คือ พระอรหัต ท่านกล่าวด้วยบท
ทั้ง 4 มีอาทิว่า อธิมาเนน ความว่า เป็นผู้มีความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ถึง
ว่าถึงแล้ว มีความสำคัญผิดว่า พวกเราได้บรรลุแล้วดังนี้.
บทว่า เอวํ เอตฺก สุนกฺขตฺต ตถาคตสฺส โหติ ความว่า ดูก่อน
สุนักขัตตะ ในการที่พวกภิกษุเหล่านี้ พยากรณ์พระอรหัตนี้ ตถาคตมีความดำริ
อย่างนี้ว่า ฐานะนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังมืดอยู่สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
เหตุ ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีความสำคัญในธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ
แล้ว เอาเถิด เราตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทำให้บริสุทธิ์ให้ปรากฏ.
บทว่า อถ จ ปนีเธกจฺเจ ฯปฯ ตสฺส โหติ อญฺญถตฺตํ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุผู้ปฏิบัติในเรื่องที่มีโมฆบุรุษบางพวก
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นว่าโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนปัญ-
หานี้แล้ว ไม่รู้เลย ก็ทำเหมือนรู้ เมื่อยังไม่ถึงก็สำคัญว่าถึง จักเที่ยวโพนทนา
คุณวิเศษไปในตามนิคมเป็นต้น ข้อนั้นก็จักไม่เป็นประโยชน์ จักเป็นทุกข์แก่
โมฆบุรุษเหล่านั้นตลอดกาลนาน. พระดำริที่เกิดขึ้นแต่พระตถาคตว่า เราจัก
แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุที่พวก
โมฆบุรุษตั้งอยู่ในอิจฉาจารด้วยอาการอย่างนี้ ทรงหมายเอาข้อความนั้นจึงได้
ตรัสคำนี้.

บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต ความว่า น้อมไป คือโน้มไป โอนไป
เงื้อมไป ในกามคุณ 5 อันเป็นเหยื่อล่อของวัฏฏะ เป็นเหยื่อล่อของกามและ
เป็นเหยื่อล่อของโลก. บทว่า ตปฺปฏิรูปี ได้แก่มีกามคุณเป็นสภาวะ. บทว่า
อาเนญฺชปฏิสํยุตฺตาย แปลว่า เกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ. บทว่า สํเสยฺย
แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อาเนญิชสํโยชนน หิ โข วิสํยุตฺโต ได้แก่
ไม่คลุกคลีด้วยการเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ. บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต
ความว่า ก็พระเถระเห็นปานนี้ ครองจีวรปอน ๆ ถือบาตรดินไปยังปัจจันต-
ชนบทกับพระที่เหมือนกับคน 2-3 รูป ในเวลาเข้าบ้านไปบิณฑบาต พวก
มนุษย์เห็นแล้ว พากันกล่าวว่า ท่านผู้ถือมหาบังสุกุลมาแล้ว ต่างก็ตระเตรียม
ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น ถวายทานโดยเคารพ. เมื่อท่านฉันเสร็จ ได้ฟัง
อนุโมทนาแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถึงวันพรุ่งนี้ก็ขอนิมนต์ท่านเข้ามา
บิณฑบาตในที่นี้แหละ. พระเถระกล่าวว่า อย่าเลย อุบาสกทั้งหลาย แม้วันนี้
ท่านก็ถวายมากแล้ว. ชนทั้งหลายกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้นขอท่านทั้ง
หลายพึงอยู่ในที่นี้ตลอดพรรษา ดังนี้ ให้พระเถระรับนิมนต์แล้วถามทางไปยัง
วิหาร. ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะในวิหารนั้นแล้ว เก็บบาตรและจีวร. ใน
เวลาเย็น ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่งได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านเที่ยวบิณฑบาต
ที่ไหน ? พระอาคันตุกะ ตอบว่า ในบ้านโน้น. ถามว่า ภิกษาสมบูรณ์
หรือ ตอบว่า สมบูรณ์ขอรับ มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเห็นปานนี้ยังมีอยู่.
ถามว่า คนเหล่านั้นจะเป็นเช่นนี้ เฉพาะวันนี้หรือหนอ ? หรือเป็นเช่นนี้
เป็นนิจเลย ? ตอบว่า มนุษย์เหล่านั้นมีศรัทธาเช่นนี้เป็นนิจ วิหารนี้อาศัยคน
เหล่านั้นเท่านั้นจึงเจริญดังนี้ ต่อแต่นั้น พวกภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกจีวรกังคธุดงค์
เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญคุณของคนเหล่านั้นบ่อย ๆ กล่าวตลอดหมดทั้งวัน
แม้กลางคืนก็กล่าว. ด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ ศีรษะของผู้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร

ก็หลุดไป ต้องก็แตก. พึงทราบบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ด้วยประการ
ฉะนี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้ได้อาเนญชสมาบัติ ผู้สำคัญผิด จึง
ตรัสว่า ฐานํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อาเนญฺชาธิมุตฺตสฺส ความ
ว่า ผู้น้อมไป คือโน้มไป โอนไป เงื้อมไปในสมาบัติ 6 มีในเบื้องต่ำอัน
เว้นจากเครื่องหวั่นไหว คือกิเลสะ บทว่า เส ปวุตฺเต แปลว่า นั้นหลุดไป
แล้ว. เพราะอามิส คือ กามคุณ 5 ย่อมปรากฏแก่ผู้ได้สมาบัติ 6 ผู้สำคัญผิด
เหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วฉะนั้น. ด้วยเหตุนี้จึงตรัสคำนั้น.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงความลำบาก ของผู้ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติซึ่งสำคัญผิด จึงตรัสคำว่า ฐานํ โข ปน ดังนี้ เป็นต้น. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า เทวฺธา ภินฺนา (แตก 2 ซีก) ได้แก่ แตกตรงกลาง
(หักกลาง). บทว่า อปฺปฏิสนฺธิกา ความว่า หินก้อนเล็ก ขนาดหลังแผ่น
หินอาจยาต่อให้ติดกันด้วยชันหรือยางเหนียว. แต่ท่านหมายเอาหินก้อนใหญ่
ขนาดเท่าเรือนยอด จึงกล่าวคำนี้ . บทว่า เส ภินฺนา ได้แก่ ภินฺนํ แปล
ว่า มันแตกแล้ว เบื้องต่ำย่อมเป็นเหมือนหินแตกออก 2 ซีก (หัก 2 ท่อน)
สำหรับผู้ได้สมาบัติสูงขึ้นไป. ย่อมไม่เกิดความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัตินั้นดัง
นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำนั้น . บทว่า อาเนญฺชสญฺโญชเนหิ วิสํยุตฺโต
ความว่า คลุกคลีด้วยการประกอบในอาเนญชสมาบัติ.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความลำบากของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญ-
ญายตนสมาบัติผู้สำคัญผิด จึงตรัสว่า ฐานํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น. ใน
บทเหล่านั้น บทว่า เส วนฺเต ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนะ
นั้น อันผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติตายแล้ว เกิดขึ้น จริงอยู่ สมาบัติ
เบื้องต่ำ ย่อมปรากฏเป็นเหมือนตายแล้ว สำหรับผู้ได้สมาบัติ 8 ย่อมไม่เกิด

ความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัติอีก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำ (ว่า เส วนฺเต)
นั้น.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความลำบากของพระขีณาสพ จึงตรัสว่า
ฐานํ โข ปน ดังนี้เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เส อุจฺฉินฺเน
ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นอันผู้น้อมใจไปใน
พระนิพพานโดยชอบ ตัดขาดแล้ว. เพราะสมาบัติเบื้องต่ำ ย่อมปรากฏเหมือน
ตาลรากขาด. สำหรับผู้ได้สมาบัติเบื้องสูง ย่อมไม่เกิดความคิดที่ว่า เราจัก
เข้าสมาบัตินั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำนี้.
คำว่า ฐานํ โข ปเนตํ จ ดังนี้ เป็นอนุสนธิอันหนึ่ง จริงอยู่
พ ระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ทั้งที่สำคัญผิดทั้งที่
เป็นพระขีณาสพไว้ในหนหลัง. แต่สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งที่สำคัญผิด
ทั้งที่เป็นพระขีณาสพ มิได้ตรัสไว้. เพื่อทรงแสดงความลำบาก แห่งท่านแม้
ทั้งสอง (คือผู้ได้สมาบัติและสุกขวิปัสสก) เหล่านั้นจึงทรงเริ่มเทศนานี้ ก็คำ
นี้นั้นท่านคัดค้าน เพราะเมื่อกล่าวความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ที่สำคัญผิด
ย่อมเป็นอันกล่าว สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งท่านที่สำคัญผิด และ
เมื่อกล่าวความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติที่เป็นพระขีณาสพ ก็เป็นอันกล่าว
สำหรับท่านที่เป็นสิกขวิปัสสกแม้ที่เป็นพระขีณาสพด้วย. แต่เพื่อจะตรัส
สัปปายะและอสัปปายะของภิกษุทั้งสองเหล่านั้น จึงทรงเริ่มเทศนานี้. ในข้อ
นั้น พึงมีอธิบายดังต่อไปนี้. สำหรับปุถุชน อารมณ์ยังไม่เป็นสัปปายะ ก็ช่าง
เถอะ แต่สำหรับพระขีณาสพอย่างไรจึงไม่เป็นสัปปายะเล่า ? ไม่เป็นสัปปายะ
แก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลยแม้แก่พระขีณาสพ แม้ด้วย
อารมณ์นั้น. ขึ้นชื่อว่ายาพิษ รู้แล้วกินก็ตาม ก็คงเป็นยาพิษอยู่นั่นเอง. อัน
พระขีณาสพจะพึงเป็นผู้ไม่สังวร เพราะคิดว่าเราเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ ก็หา
ไม่ แม้พระขีณาสพก็ควรจะเป็นผู้ขะมักเขม้นจึงจะควร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมเณน ได้แก่ พุทธสมณะ. บทว่า
ฉนฺทราคพฺยาปาเทน ความว่า โทษอันเป็นพิษ คือ อวิชชานั้น ย่อม
แปรปรวน ย่อมกำเริบด้วยฉันทราคะ และพยาบาท. บทว่า อสปฺปายานิ
ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่เจริญใจ. บทว่า อนุทธํเสยฺย ได้แก่ พึงทำให้ร่วงโรย
คือให้เหี่ยวแห้ง. บทว่า สอุปาทิเสสํ ได้แก่ สิ่งที่ยึดถือเป็นส่วนเหลือ ก็
สิ่งที่พึงยึดมั่น คือสิ่งที่ยึดถือนี้ท่านเรียกว่า อุปาทิ. บทว่า อลํ จ เต
อนฺตภยาย
ความว่าไม่สามารถทำอันตรายแก่ชีวิตของท่าน. ธุลีและละออง
มีละอองข้าวเปลือกเป็นต้น ชื่อว่า รโชสุกํ. บทว่า อสุจิวิสโทโส ได้แก่
โทษอันเป็นพิษนั้นด้วย. บทว่า ตทุภเยน ได้แก่ ด้วยกิริยาอันไม่เป็น
สัปปายะ และโทษอันเป็นพิษทั้งสองนั้น. บทว่า ปุถุตฺตํ ได้แก่ ความ
เป็นแผลใหญ่.
ในคำว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นโทษอันมีพิษ คือ อวิชชาที่ยัง
ละไม่ได้ เหมือนการถอนลูกศรอันมีเชื้อ พึงเห็นเวลาที่ไม่สำรวมในทวารทั้ง
6 เหมือนภาวะคือการทรงอยู่ แห่งกิริยาอันไม่สบาย การบอกคืนสิกขาแล้ว
เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เหมือนการตาย เพราะแผลบวมขึ้นด้วยเหตุ 2
ประการนั้น พึงเห็นการต้องอาบัติหนัก เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือน
ทุกข์ปางตาย. แม้ในฝ่ายขาว. พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมา โดย
นัยนี้แหละ.
สติในคำว่า สติยา เอตํ อธิวจนํ นี้มีคติเหมือนปัญญา. โลกิย-
ปัญญา ย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตรปัญญาย่อมมีได้ด้วยปัญญา
อันเป็นโลกุตระ บทว่า อริยาเยตํ ปญฺญาย ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา อัน
บริสุทธิ์.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงกำลังของพระขีณาสพ จึงตรัสคำว่า โส วต
ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สํวุตการี ได้แก่ ผู้มีปกติปิด. บทว่า
อิติ วิทิตฺวา นิรุปธิ ความว่า เพราะรู้อย่างนี้แล้วละอุปธิคือกิเลส ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีอุปธิ อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้ไม่มีอุปาทาน. บทว่า อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต
ความว่า น้อมไปแล้วโดยอารมณ์ในพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิทั้ง
หลาย. บทว่า อุปธิสฺมึ ได้แก่ ในอุปธิคือกาม. บทว่า กายํ อุปสํหริสฺสติ
ความว่า จักยังกายให้ติดอยู่. ท่านอธิบายว่า ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วย
อารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิด
ขึ้น เพื่อเสพกามคุณ 5 นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้. คำที่เหลือในทุกแห่งง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสุนักขัตตสูตรที่ 5

6 อาเนญชสัปปายสูตร



ว่าด้วยปฏิปทาส่วนโลกิยะและโลกุตระ



[80] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรมของ
ชาวกุรุ ในแคว้นกุรุ. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว.
[81] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาม
ไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกาม
ดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มี
ในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าทั้งสอง
อย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจร
ของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ
บ้าง เป็นอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษา
อยู่ในธรรมวินัยนี้.
[82] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกาม
นั้นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มี
ในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ทั้งสองอย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัย
แห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้
คืออภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไปอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง
ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ถ้ากระไรเราพึงมี
จิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็น