เมนู

อรรถกถารัฏฐปาลสูตร



รัฏฐปาลสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในรัฏฐปาลสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ บทว่า ถุลฺลโกฏฺฐิติ
ได้แก่ แน่นยุ้ง คือ เต็มเปี่ยมเรือนยุ้ง. ได้ยินว่า ชนบทนั้น มีข้าวกล้าเป็น
นิตย์ คือ เมล็ดข้าวออกไปเข้าลานทุกเมื่อ. ด้วยเหตุนั้น ในนิคมนั้น ยุ้งทั้ง
หลายจึงเต็มอยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชนบทนั้นจึงนับได้ว่า ถุลลโกฏฐิตะ
แปลว่า มีข้าวแน่นยุ้งทีเดียว. เหตุไร ท่านพระรัฐปาล จึงชื่อว่า รัฐปาละ.
ที่ชื่อว่า รัฐปาละ เพราะเป็นผู้สามารถ ดำรงรักษารัฐที่แบ่งแยกได้. ถามว่า
ชื่อของท่านพระรัฐปาละนั้น เกิดขึ้น เมื่อไร. ตอบว่า เมื่อครั้งพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ.
จริงอยู่ ปลาย 100,000 กัป ก่อนแต่กัปนี้ มนุษย์มีอายุ 100,000 ปี
พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ อุบัติขึ้น มีภิกษุ 100,000 รูปเป็นบริวาร
เสด็จจาริก เพื่อโปรดโลกที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า
พระศาสดา พระนามว่า ปทุมุตตระ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา ณ
นคร หงสวดี.

ครั้น พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติ. กุฏุมพีสองคนแห่งกรุงหงสวดี
มีศรัทธาเลื่อมใส ทั้งโรงทานสำหรับคนเข็ญใจ คนเดินทางและยาจกเป็นต้น.
ครั้งนั้น ดาบส 500 ตน ผู้อยู่ในภูเขา มาถึงกรุงหงสวดี. คนทั้งสองนั้น ก็
แบ่งดาบส คนละครึ่งบำรุงกัน. ดาบสทั้งหลาย อยู่ชั่วเวลานิดหน่อย ก็กลับ