เมนู

อรรถกถาวาเสฏฐสูตร



ว่าเสฏฐสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับนาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในราวป่าชื่ออิจฉานังคละ คือในราว
ป่าอันไม่ไกลอิจฉานังคลคาม. ชนแม้ทั้ง 5 มีจังกีพราหมณ์เป็นต้น ต่างก็เป็น
ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยกันทั้งนั้น. คำว่า และพราหมณ์มหา-
ศาลเหล่าอื่น ที่มีชื่อเสียง
ได้แก่ พราหมณ์เหล่าอื่นเป็นอันมากมีชื่อเสียง
ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันในที่ 2 แห่งทุก ๆ 6 เดือน. ในกาลใด
ต้องการจะชำระชาติให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อุกกัฏฐคามเพื่อชำระ
ชาติให้บริสุทธิ์ ในสำนักของท่านโปกขรสาติ. ในกาลใดต้องการจะชำระมนต์
ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อิจฉานังคลคาม. ในกาลนี้ ประชุมกันที่
อิจฉานังคลคามนั้นเพื่อชำระมนต์ให้บริสุทธิ์. บทว่า ถ้อยคำที่พูดกันใน
ระหว่าง
ความว่า มีถ้อยคำอย่างอื่นเกิดขึ้นในระหว่างถ้อยคำที่เหมาะต่อ
ความเป็นสหายกัน ที่คน 2 คนเที่ยวเดินกล่าวตาม ๆ กัน. บทว่า มีศีล คือ
มีคุณ. บทว่า สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ. คำว่า
อันอาจารย์อนุญาตและปฏิญาณได้เอง ความว่า อันอาจารย์อนุญาตอย่างนี้
ว่า เธอทั้งหลายศึกษาจบแล้ว. บทว่า พวกเราเป็นผู้ที่อาจารย์ให้ศึกษาแล้ว
ความว่า และตนเองปฏิญาณแล้วอย่างนี้. บทว่า อสฺม แปลว่า ย่อมเป็น.
ด้วยคำว่า ข้าพระองค์เป็นศิษย์ของท่านไปกขรสาติพราหมณ์ มาณพ
ผู้นี้เป็นศิษย์ของท่านตารุกขพราหมณ์
วาเสฏฐมาณพแสดงว่า ข้าพระองค์
เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้
เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านตารุกขพราหมณ์. บทว่า ผู้ทรง

วิชชา 3 ได้แก่ พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท. คำว่า บทใดที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บอกแล้ว
ความว่า บทใดแม้บทเดียวที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ทั้งโดย
อรรถะและพยัญชนะ. คำว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมนต์นั้น ความ
ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความสำเร็จในบทนั้น เพราะรู้บทนั้นทั้งสิ้น. บัดนี้
วาเสฏฐมาณพเมื่อจะทำให้แจ้งถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ แม่นยำนั้นจึงกล่าวว่า
ปทกสฺม ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เช่นเดียวกับอาจารย์
ในสถานที่บอกมนต์
ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นเช่นเดียวกับอาจารย์
ในสถานที่กล่าว มนต์. บทว่า เพราะกรรม ได้แก่ เพราะกรรม คือ กุศล
กรรมบถ 10 ก็วาเสฏฐมาณพนี้หมายเอากายกรรมและวจีกรรม 7 ประการข้าง
ต้น จึงกล่าวว่า กาลใดแลท่านผู้เจริญมีศีล ดังนี้. หมายเอามโนกรรม 3
จึงกล่าวว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. ก็บุคคลผู้ประกอบมโนกรรม 3 นั้น ย่อม
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ. วาเสฏฐมาณพร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้
มีพระจักษุเพราะเป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุ 5. บทว่า ล่วงเลยความสิ้นไป ได้แก่
ล่วงเลยความพร่อง อธิบายว่าบริบูรณ์. บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เข้าไปใกล้.
บทว่า จะนอบน้อม แปลว่า กระทำความนอบน้อม. คำว่า เป็นดวงจักษุ
อุบัติขึ้นแล้วในโลก
ความว่า เป็นดวงจักษุโดยแสดงประโยชน์ปัจจุบันเป็น
ต้นของชาวโลก อุบัติขึ้น ขจัดความมืดนั้น ในโลกอันมืดเพราะอวิชชา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวาเสฏฐมาณพชมเชยแล้วทูลอาราธนาอย่างนี้
เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชนแม้ทั้งสองจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า เราตถาคตจักบอก
ถ้อยคำอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอทั้งสองนั้น ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จัก
บอกอย่างชัดแจ้ง
ได้แก่จักพยากรณ์. บทว่า ตามลำดับ ความว่า ความ
คิดของพราหมณ์จงพักไว้ก่อน เราจักบอกตามลำดับ คือโดยลำดับตั้งแต่หญ้า
ต้นไม้ แมลง และตั๊กแตน เป็นต้น. บทว่า การจำแนกชาติกำเนิด คือ

ความพิสดารของชาติกำเนิด. คำว่า เพราะชาติกำเนิดคนละอย่าง ความ
ว่า เพราะชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ คนละอย่างคือ แต่ละอย่างต่าง ๆ
กัน. ด้วยบทว่า หญ้าและต้นไม้ ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระเทศนา
นี้ว่า เราจักกล่าวชาติกำเนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง แล้วจักกล่าวถึงชาติกำเนิด
ที่มีวิญญาณครองภายหลัง ความต่างกันแห่งชาติกำเนิดนั้น จักปรากฏอย่างนี้.
ก็พระมหาสิวเถระถูกถามว่า ท่านผู้เจริญ การกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งที่ไม่มี
วิญญาณครอง ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะมีพืชต่างกัน สิ่งที่มีวิญญาณครอง
ก็ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะกรรมต่างกัน ดังนี้ ไม่ควรหรือ จึงตอบว่า เออ
ไม่ควร. เพราะกรรมซัดเข้าในกำเนิดสัตว์เหล่านี้มีพรรณต่าง ๆ กัน เพราะ
การปฏิสนธิในกำเนิด. ในบทว่า หญ้าและต้นไม้ นี้มีกระพี้อยู่ข้างใน แก่น
อยู่ข้างนอก ชั้นที่สุดแม้ตาลและมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่าหญ้าทั้งนั้น. ส่วนไม้ที่
มีแก่นอยู่ข้างใน กระพี้อยู่ข้างนอก ชื่อว่าต้นไม้ทั้งหมด. คำว่า แม้จะปฏิญาณ
ไม่ได้
ความว่า ย่อมไม่รู้อย่างนี้ว่า พวกเราเป็นหญ้า พวกเราเป็นต้นไม้
หรือว่า เราเป็นหญ้าเราเป็นต้นไม้. คำว่า เพศอันสำเร็จด้วยชาติกำเนิด
ได้แก่ ก็หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น แม้ไม่รู้ (คือปฏิญาณไม่ได้) สัณฐานมันก็
สำเร็จมาแต่ชาติกำเนิดทั้งนั้น คือเป็นเหมือนหญ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นเค้าเดิมของ
ตนนั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะชาติกำเนิดมันต่าง ๆ กัน . คือ เพราะติณชาติ
ก็อย่างหนึ่ง รุกขชาติก็อย่างหนึ่ง แม้บรรดาติณชาติทั้งหลาย ชาติกำเนิดตาลก็
อย่างหนึ่ง ชาติกำเนิดมะพร้าวก็อย่างหนึ่ง. พึงขยายความให้กว้างขวางออกไปด้วย
ประการอย่างนี้ . ด้วยคำว่า ชาติกำเนิดต่างกัน นี้ทรงแสดงความหมายนี้ว่า
สิ่งใดต่างกันโดยชาติกำเนิด สิ่งนั้นแม้เว้นการปฏิญาณตนหรือการชี้บอกแนะนำ
ของตนอื่น ก็ย่อมถือเอาได้โดยพิเศษว่า (มันมี) ชาติกำเนิดคนละอย่าง. ก็หาก
ว่าคนพึงเป็นพราหมณ์แท้ ๆ โดยชาติกำเนิด แม้เขาเว้นการปฏิญาณตนหรือการ

บอกเล่าของตนอื่น พึงถือเอาโดยพิเศษแต่กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทร แต่จะ
ถือเอาหาได้ไม่. เพราะฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็
หาไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงกระทำให้แจ้วซึ่งเนื้อความนี้ แห่งพระคาถา
ว่าในชาติกำเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ โดยทรงเปล่งพระวาจาไว้เท่านั้นข้างหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชาติกำเนิดในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
ครองอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงชาติกำเนิดในสิ่งที่มีวิญญาณครอง แต่นั้น
จึงตรัสคำนี้อาทิว่า ตั๊กแตน ดังนี้. คำว่า ตลอดถึงมดดำมดแดง ความว่า
ทรงทำมดดำมดแดงให้เป็นชาติสุดท้าย. ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์ที่กระโดด
ไป ชื่อว่าตั๊กแตน. คำว่า เพราะชาติกำเนิดคนละอย่าง หมายความว่า
ชาติกำเนิดเนื่องด้วยสิ่งที่มีสีเขียวสีแดงเป็นต้นของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็มี
ประการต่าง ๆ แท้. บทว่า ตัวเล็ก ได้แก่ กระรอกเป็นต้น. บทว่า ใหญ่
ได้แก่ งูและแมวเป็นต้น. บทว่า มีเท้าที่ท้อง แปลว่า มีท้องเป็นเท้า.
อธิบายว่า ท้องนั่นแหละเป็นเท้าของสัตว์เหล่าใด. บทว่า มีหลังยาว ความว่า
งูทั้งหลายมีหลังอย่างเดียว ตั้งแต่หัวจรดหาง เพราะฉะนั้น งูเหล่านั้นตรัส
เรียกว่า มีหลังยาว. บทว่า ในน้ำ คือเกิดในน้ำ.
บทว่า ปกฺขี ได้แก่ พวกนก. นกทั้งหลายชื่อว่า ไปด้วยปีก เพราะ
บินไปด้วยปีกเหล่านั้น. ชื่อว่า ไปทางอากาศ เพราะไปทางอากาศกลางหาว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงชาติกำเนิดแต่ละประเภทของสัตว์ที่ไปทางบก
ทางน้ำ และทางอากาศอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทำพระประสงค์อัน
เป็นเครื่องแสดงถึงเรื่องชาติกำเนิดนั้นให้ชัดแจ้ง จึงตรัสพระคาถาว่า ในชาติ
กำเนิดเหล่านี้ฉันใด
ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นทรงตรัสไว้โดยย่อ
ทีเดียว. แต่คำใดที่จะพึงตรัสในที่นี้โดยพิสดาร เมื่อจะทรงแสดงคำนั้นโดย
พระองค์เองจึงตรัสคำว่า มิใช่ด้วยผม ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีการประกอบ

ความดังต่อไปนี้. คำใดที่กล่าวว่า ในหมู่มนุษย์ ไม่มีเพศที่สำเร็จด้วยชาติกำเนิด
มากมาย ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า ไม่มีอย่างนี้. คืออย่างไร. คือ มิใช่ด้วย
ผมทั้งหลาย เพราะไม่มีการกำหนดไว้ว่า พวกพราหมณ์มีผมเช่นนี้ พวก
กษัตริย์เช่นนี้เหมือนผมของช้าง ม้า และเนื้อเป็นต้น. ก็พระดำรัสที่ว่า เพศ
อันสำเร็จด้วยชาติกำเนิด (ในมนุษย์ทั้งหลาย) ไม่เหมือนในชาติกำเนิดเหล่าอื่น
ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวสรุปเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วเท่านั้น บทนั้น
ประกอบความว่า เพราะเพศในมนุษย์ทั้งหลาย อันสำเร็จด้วยชาติเป็นอันมาก
ย่อมไม่มีด้วยผมเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบ
เพศนั้นว่า ในมนุษย์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยเป็นพราหมณ์เป็นต้น เพศที่สำเร็จ
ด้วยชาติกำเนิดหาเหมือนในชาติกำเนิดเหล่าอื่นไม่. บัดนี้ ในเมื่อความแตกต่าง
แห่งชาติกำเนิดแม้จะไม่มีอย่างนี้ เพื่อที่จะแสดงประการที่เกิดความต่างกันนี้
ที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์นั้น จึงตรัสคาถาว่า เป็นของเฉพาะตัว ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า โวการํ ได้แก่ ความต่างกัน. ก็ในคำนี้มีใจความย่อ
ดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า สำหรับสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ความต่างกันโดย
สัณฐาน มีผมเป็นต้น สำเร็จมาแต่กำเนิดทีเดียว ฉันใด สำหรับพวกพราหมณ์
เป็นต้น ความต่างกันนั้นในสรีระของตนย่อมไม่มี ฉันนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้
ความต่างกันที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ . ดังนี้นั้น ในหมู่มนุษย์เขาเรียกกันตาม
ชื่อ คือ เขาเรียกโดยสักว่าต่างกันเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มวาทะของ ภารทวาชมาณพ ด้วยพระ-
ดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ถ้าหากว่าคนจะเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติไซร้
แม้คนที่มีอาชีพ ศีล และความประพฤติเสียหาย ก็จะเป็นพราหมณ์ได้ แต่
เพราะเหตุที่พราหมณ์แต่เก่าก่อน ไม่ปรารถนาความที่คนเสียหายนั้นมาเป็น
พราหมณ์ และคนที่เป็นบัณฑิตแม้อื่น ๆ ย่อมมีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น เมื่อ

จะทรงยกย่องวาทะของว่าเสฏฐมาณพ จึงตรัสคาถา 8 คาถาว่า ก็บุคคลใดคน
หนึ่งในหมู่มนุษย์
ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า การรักษาโค คือ
การรักษานา. อธิบายว่า กสิกรรม. ก็คำว่าโคเป็นชื่อของแผ่นดิน เพราะฉะนั้น
จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ด้วยศิลปะมากมาย ได้แก่ ศิลปะต่าง ๆ มีการงาน
ของช่างทอหูกเป็นต้น . บทว่า ค้าขาย ได้แก่ การค้าขาย. บทว่า ด้วยการ
รับใช้ผู้อื่น
คือด้วยกรรม คือการขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น. บทว่า อาศัย
ศัสตราเลี้ยงชีวิต
คือการเป็นอยู่ด้วยอาวุธ อธิบายว่า (อาศัย) ลูกศรและ
ศัสตรา. บทว่า ด้วยความเป็นปุโรหิต คือด้วยการงานของปุโรหิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศ ความที่คนเสียหายด้าน
อาชีพ ศีล และความประพฤติ ว่าไม่เป็นพราหมณ์ โดยลัทธิของพราหมณ์
และโดยโวหารของชาวโลกอย่างนี้แล้ว ทรงให้ยอมรับความถูกต้องนี้ โดย
ใจความอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนย่อมไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่
เป็นพราหมณ์เพราะพวกคนวัยรุ่น เพราะฉะนั้น คนใดเกิดในตระกูลใด
ตระกูลหนึ่ง เป็นคนมีคุณความดี คนนั้นเป็นพราหมณ์ นี้เป็นความถูกต้องใน
อธิการที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์นี้ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความถูกต้อง
นั้น ด้วยการเปล่งคำพูดออกมา จึงตรัสว่า และเราก็ไม่เรียกว่าเป็นพราหมณ์
ดังนี้เป็นต้น. ใจความของพระดำรัสนั้นมีว่า เพราะเราไม่เรียกคนผู้เกิดใน
กำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง บรรดากำเนิด 4 หรือผู้ที่เกิดในมารดาที่พราหมณ์ยกย่อง
สรรเสริญโดยพิเศษในกำเนิด 4 แม้นั้น ผู้เกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็นแดน
เกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ คือ เราไม่เรียกคนผู้ที่เขากล่าวว่าเกิดแต่กำเนิด
มีมารดาเป็นแดนเกิด เพราะเป็นผู้เกิดแต่กำเนิด โดยมารดาสมบัติก็ตาม
โดยชาติสมบัติก็ตาม ด้วยคำที่มานี้ว่า กำเนิดกล่าวคือ เพียงแต่ความบังเกิดขึ้น
อันบริสุทธิ์ของพราหมณ์ ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ผู้เกิดดีแล้ว

แต่ข้างทั้งสองฝ่าย มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์นั้น ผู้เกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็น
แดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าเกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็นแดน
เกิดนี้. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที มีวาทะว่าผู้เจริญ
เพราะเป็นผู้วิเศษกว่าคนเหล่าอื่น ผู้มีความกังวล ด้วยสักแต่กล่าวว่าผู้เจริญ
ผู้เจริญ บุคคลนั้นแลเป็นผู้มีความกังวล มีความห่วงใย. ส่วนบุคคลใดแม้จะ
เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ไม่ถือมั่น เพราะสละความยึดถือทั้งปวง เรา
เรียกบุคคลผู้ไม่มีความกังวล ผู้ไม่ยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. เพราะเหตุไร.
เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว. สูงขึ้นไปหน่อย คาถา 27 เป็นต้น ว่า ตัดสังโยชน์
ทั้งปวง ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ สังโยชน์
ทั้งหมด คือแม้ทั้ง 10. บทว่า ย่อมไม่สะดุ้ง คือ ย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้ง
คือตัณหา. บทว่า ล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า ผู้ไม่ประกอบ คือ ผู้ไม่ประกอบด้วยกำเนิด 4 หรือด้วย
กิเลสทั้งปวง. บทว่า สายเชือกหนัง ได้แก่ อุปนาหะ ความผูกโกรธ. บทว่า
สายหนัง ได้แก่ ตัณหา. บทว่า. ที่ต่อ แปลว่า เชือกบ่วง. คำว่า เชือกบ่วง
นี้เป็นชื่อของกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือทิฐิ. ปมที่สอดเข้าในบ่วงเรียกว่า สายปม
ในคำว่า สหนุกฺกมํ นี้. คำนี้เป็นชื่อของ ทิฏฐิอนุสัย. ในคำว่า มีลิ่มสลัก
อันถอนขึ้นแล้วนี้
อวิชชา ชื่อว่า ดุจลิ่ม. บทว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่
ตรัสรู้สัจจะทั้ง 4. บทว่า ย่อมอดกลั้น คือ ย่อมอดทน. บทว่า ผู้มี
ขันติเป็นหมู่พล
คือ มีอธิวาสนขันติเป็นหมู่พล ก็ขันตินั้น เกิดขึ้น
คราวเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นกำลังดังหมู่พล ต่อเกิดบ่อย ๆ จึงเป็น. ชื่อว่า มีกำลัง
ดังหมู่พล เพราะมีอธิวาสนขันตินั้น.

บทว่า ผู้มีองค์ธรรมเครื่องจำกัด คือ มีธุดงควัตร. บทว่า
มีศีล คือ มีคุณความดี. บทว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น คือ ปราศจาก
กิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บาลีว่า อนุสฺสุตํ ดังนี้ก็มี. ความหมายว่า
ผู้ไม่ถูกกิเลสรั่วรด. บทว่า ผู้ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ. บทว่า ย่อมไม่
ฉาบทา
คือ ย่อมไม่ติด. บทว่า ในกามทั้งหลาย ได้แก่ในกิเลสกาม
และวัตถุกาม. พระอรหัต ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในพระบาลี
นั้นว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในภพนี้เอง ดังนี้. บทว่า ย่อมรู้ชัด
หมายความว่า รู้ด้วยอำนาจการบรรลุ. บทว่า ผู้มีภาระอันปลงแล้ว คือ
ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ได้แก่ ทำภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และ
กามคุณ ให้หยั่งลงตั้งอยู่. บทที่ไม่ประกอบแล้ว มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแล.
บทว่า มีปัญญาลึกซึ้ง คือ มีปัญญาอันไปแล้วในอารมณ์อันลึกซึ้ง. บทว่า
มีปรีชา ได้แก่ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตามปกติ. คำว่า (ด้วยคฤหัสถ์)
และบรรพชิตทั้งสองพวก ความว่า ผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต
อธิบายว่า ผู้ไม่คลุกคลีเด็ดขาดในชนทั้งสองพวก และด้วยคฤหัสถ์ และ
บรรพชิตแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น. ในบทว่า ผู้ไม่อาลัยเที่ยวไป ความว่า
ความอาลัยในกามคุณ 5 เรียกว่า โอกะ ผู้ไม่ติดอาลัยคือกามคุณ 5 นั้น.
บทว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย คือ ผู้ไม่มีความปรารถนา. บทว่า
ผู้สั่นคลอน คือ ผู้มีตัณหา. บทว่า ผู้มั่นคง คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า
ผู้มีอาชญาในตนคือ ผู้ถืออาชญา. บทว่า ผู้ดับแล้ว คือ ดับแล้ว
ด้วยการดับกิเลส. บทว่า ผู้มีความยึดถือ คือ ผู้มีความถือมั่น. บทว่า
ปลงลงแล้ว แปลว่า ให้ตกไป. บทว่า ไม่แข็งกระด้าง คือ ไม่มีโทษ.
เพราะแม้ต้นไม้ที่มีโทษก็เรียกว่า มีความแข็งกระด้าง. บทว่า อันยังผู้อื่น
ให้เข้าใจ
คือ อันยิ่งคนอื่นให้เข้าใจ ได้แก่ ไม่ส่อเสียด. บทว่า จริง

คือ ไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า เปล่ง คือ กล่าว. คำว่า ไม่ทำให้คนอื่น
ข้องใจด้วยวาจาใด
ความว่า ย่อมกล่าววาจาอัน ไม่หยาบ ไม่เป็นเหตุทำให้
คนอื่นติดใจหรือข้องใจเช่นนั้น. ทรงแสดงสิ่งของที่ร้อยด้ายไว้ ด้วยคำว่า
ยาว. ทรงแสดงสิ่งของที่กระจัดกระจายกันอยู่ ด้วยคำว่า สั้น. บทว่า
ละเอียด แปลว่าเล็ก. บทว่า หยาบ แปลว่าใหญ่. บทว่า งามไม่งาม
คือ ดี ไม่ดี. เพราะสิ่งของ (ที่ร้อยเป็นพวง) ยาว มีราคาน้อยบ้าง มากบ้าง.
แม้ในสิ่งของนั้น (คือกระจายกันอยู่) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ดังนั้น ด้วยพระ
ดำรัสมีประมาณเท่านี้ หาได้ทรงกำหนด ถือเอาสิ่งทั้งหมดไม่ แต่ทรงกำหนด
ถือเอาด้วยสิ่งของนี้ที่ว่า งามและไม่งาม. บทว่า ไม่มีความหวัง คือ
ไม่มีความหยาก. บทว่า ความอาลัย ได้แก่ความอาลัย คือ ตัณหา.
บทว่า เพราะรู้ทั่ว คือ เพราะรู้. บทว่า อันหยั่งลงสู่อมตธรรม คือ
อันเป็นภายในอมตธรรม. บทว่า ถึงแล้วโดยลำดับ ได้แก่ เข้าไปแล้ว
โดยลำดับ. บทว่า ธรรมเครื่องข้องทั้งสอง คือ ธรรมเครื่องข้องแม้
ทั้งสองนั้น. เพราะว่าบุญย่อมทำให้สัตว์ข้องในสวรรค์ บาปย่อมยังสัตว์ให้ข้อง
อยู่ในอบาย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น . บทว่า
เลยแล้ว แปลว่า ล่วงไปแล้ว. บทว่า ไม่ขุ่นมัว คือ เว้นจากกิเลสที่
ทำให้ขุ่นมัว. บทว่า ผู้มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ได้แก่ มีความ
เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว มีภพสิ้นไปแล้ว. ด้วยคาถาว่า โย อิมํ ความว่า
อวิชชานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ดุจทางลื่น เพราะอรรถว่าทำให้
เคลื่อนคลาด ชื่อว่า ดุจหล่ม เพราะเป็นของอันถอนขึ้นได้ยากมาก ชื่อว่า
สังสาร เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไป (และ) ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่า
โง่เขลา. บทว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามโอฆะทั้ง 4. คำว่า ถึงฝั่ง คือ
ถึงพระนิพพาน. บทว่า มีปรกติเพ่ง คือ มีปรกติเพ่งด้วยอำนาจเพ่งอารมณ์

และลักษณะ. บทว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คือ ไม่มี ตัณหา. คำว่า ดับแล้ว
เพราะไม่ถือมั่น
ได้แก่ ดับแล้ว ด้วยการดับกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดถือ
อะไร. บทว่า กามทั้งหลาย ได้แก่กามแม้ทั้งสอง. บทว่า ไม่มีเรือน
แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน. บทว่า เว้น แปลว่า ย่อมเว้นทุกด้าน. บทว่า
มีกามและภพสิ้นแล้ว คือ สิ้นกาม สิ้นภพ. คำว่า กิเลสเครื่อง
ประกอบของมนุษย์
ได้แก่กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ 5 อันเป็นของ
มนุษย์. บทว่า กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ คือ กิเลสเครื่อง
ประกอบ คือกามคุณ 5 อันเป็นทิพย์. บทว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลส
เครื่องประกอบทั้งปวง
ความว่า ปราศจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง.
บทว่า ยินดี คือ ยินดีกามคุณ 5. บทว่า ไม่ยินดี ได้แก่ ไม่พอใจ
ในกุศลภาวนา. บทว่า ผู้แกล้วกล้า คือ มีความเพียร. บทว่า ผู้ไปดีแล้ว
คือ ไปสู่สถานที่ดี หรือดำเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันดี. บทว่า คติ คือ
ความสำเร็จ. บทว่า ข้างหน้า ได้แก่ ในอดีต. บทว่า ข้างหลัง
ได้แก่ ในอนาคต. บทว่า ในท่ามกลาง คือ ในปัจจุบัน . บทว่า เครื่อง
กังวล
คือ กิเลสตัวที่ทำให้กังวล. บทว่า ผู้แสวงหาอันยิ่ง คือ ชื่อว่า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง เพราะแสวงหาคุณอันใหญ่. บทว่า ผู้มีความชนะ คือ
ผู้มีความชนะอันชนะแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้นว่า
เป็นพราหมณ์โดยคุณความดีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลใดกระทำ
การถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้ บุคคลนั้นไม่รู้การถือมั่นนี้
ทิฐิอันนั้น ของคนเหล่านั้น เป็นทิฐิชั่ว จึงตรัสสองคาถาว่า อันชื่อว่า
ดังนี้. เนื้อความของสองคาถานั้นมีว่า อันชื่อและโคตรที่เขาจัด แจงไว้ ตั้ง
ไว้ ปรุงแต่งไว้ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ภารทวาชะ วาเสฏฐะนั้นใด อันนั้น

เป็นชื่อ (เรียกกัน ) ในโลก อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน. เพราะเหตุไร.
เพราะสมมุติ เรียกกัน คือ มาโดยการหมายรู้กัน. พระชื่อและโคตรนั้น
ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้น ๆ. หากไม่กำหนดชื่อ
และโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไร ๆ เห็นใคร ๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพราหมณ์
หรือว่า เป็นภารทวาชะ. ก็ขอและโคตรนั้นที่เขากำหนดไว้อย่างนั้น กำหนด
ไว้เพื่อความรู้สึกว่า ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้น
กาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่ว่าชื่อและโคตรที่เขากำหนด
ไว้เพื่อเรียกกัน อธิบายว่าเพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น
คือไม่รู้เลยว่า เป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดย
ชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการเรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดัง
นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติอย่างเด็ดขาด และทรง
ตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้ . เพื่อขยาย
ความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดำรัสนั้น จึงตรัสคำว่า
เป็นชาวนาเพราะการงาน ดังนี้เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะ
การงาน
ได้แก่ เพราะกรรมคือเจตนาตัวบังเกิดการงานมีกสิกรรมเป็นต้น
อันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
อย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้เพราะปัจจัยนี้. บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม
ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ว่า ย่อมมีการอุบัติในตระกูล
อันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอำนาจกรรม ความเลวและความ
ประณีตแม้อื่น ๆ
ย่อมมีในเมื่อกรรมเลว และประณีตให้ผล. ก็พระคาถาว่า

ย่อมเป็นไปเพราะกรรม ดังนี้ มีความหมายเดียวเท่านั้นว่า ชาวโลกหรือหมู่
สัตว์ หรือว่าสัตว์. ต่างกันแต่สักว่าคำ. ก็ในพระคาถานี้ ด้วยบทแรก พึงทราบ
การปฏิเสธทิฐิว่า มีพรหม มหาพรหม ผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดแจง. ชาวโลก
ย่อมเป็นไปในคตินั้น ๆ เพราะกรรม ใครจะเป็นผู้จัดแจงโลกนั้น. ด้วยบทที่
สอง ทรงแสดงว่า แม้เกิดเพราะกรรมอย่างนี้ก็เป็นไปและย่อมเป็นไปเพราะ
กรรมอันต่างโดยเป็นกรรมปัจจุบัน และกรรมอันเป็นอดีต. เสวยสุขทุกข์และ
ถึงประเภทเลว และประณีตเป็นต้น เป็นไป. ด้วยบทที่สาม ทรงสรุปเนื้อ
ความนั้นนั่นแลว่า สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ที่กรรม หรือเป็นผู้อันกรรมผูกพันไว้
เป็นไปอยู่ แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้. มิใช่โดยประการอื่น. ด้วยบทที่ 4
ทรงทำเนื้อความนั้นให้ชัดแจ้งด้วยการเปรียบเทียบ. เหมือนอย่างว่ารถที่กำลัง
แล่นไป เพราะยังมีลิ่มสลักอยู่ รถที่ลิ่มนั้นไม่สลักไว้ย่อมแล่นไปไม่ได้ ฉันใด
ชาวโลกผู้เกิดแล้วและเป็นไปแล้ว มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ถ้ากรรมนั้นไม่
ผูกพันไว้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ชาวโลกถูกผูกไว้ในเพราะกรรม เพราะเหตุนั้น
เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัส 2 คาถา
ว่า คือ เพราะตบะ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะตบะ
ได้แก่ เพราะตบะ คือ ธุดงค์วัตร. บทว่า เพราะพรหมจรรย์ คือ เพราะ
เมถุนวิรัติ. บทว่า เพราะความสำรวม คือ เพราะศีล. บทว่า เพราะการฝึก
คือ เพราะการฝึกอินทรีย์. บทว่า นี้ ความว่า เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอัน
ประเสริฐ คือ บริสุทธิ์ เป็นดุจพรหมนี้. เพราะเหตุไร. เพราะความเป็น
พราหมณ์นี้เป็นของสูงสุด อธิบายว่า เพราะกรรมนี้เป็นคุณความดีของพราหมณ์
อย่างสูงสุด. ก็ในคำว่าพราหมณ์นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
พราหมณ์ เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งพรหม อธิบายว่านำมาซึ่งความเป็นพราหมณ์.

บทว่า ผู้สงบ ดังนี้ในคาถาที่ 2 มีความว่า เป็นผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว. คำ
ว่า เป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ คือเป็นพระพรหม เป็นท้าวสักกะ อธิบาย
ว่า บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่แท้ บุคคลนั้น
เป็นพรหมและเป็นท้าวสักกะของบัณฑิต ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย วาเสฏฐะ ท่านจง
รู้อย่างนี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ 8

9. สุภสูตร



[709] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยย-
บุตรอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคฤหบดีผู้หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง. ครั้งนั้น สุภนาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะคฤหบดีที่ตนอาศัยใน
นิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนครสาวัตถี
ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ไหนหนอ.
คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ
พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.
[710] ลำดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรรับคำคฤหบดีนั้นแล้ว เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกัน
อย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์
บรรพชิตไม่เป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่าน
พระโคดมตรัสว่าอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพในเรื่องนี้ เราแยกออกกล่าว เรา
ไม่รวมกล่าว เราพรรณนาการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต มาณพ