เมนู

อรรถกถาธนัญชานิสูตร



ธนัญชานิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในทักขิณาคิรีชนบท ความว่า ภูเขา
ชื่อ คิรี. คำนี้เป็นชื่อของชนบทในด้านทิศทักษิณแห่งภูเขาที่ตั้งล้อมกรุง
ราชคฤห์. บทว่า ที่ประตูตัณฑุลปาละ ความว่า กรุงราชคฤห์มีประตูใหญ่
32 ประตู ประตูเล็ก 64 ประตู. บรรดาประตูเหล่านั้น ประตูแห่งหนึ่งชื่อว่า
ประตูตัณฑุปาละ. ท่านธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวหมายเอาประตูตัณฑุลปาละ
นั้น. คำว่า อาศัยพระราชา ความว่า ธนัญชานิพราหมณ์อันพระราชาทรง
ส่งไปว่า จงไปเก็บส่วนแบ่งข้าวกล้าโดยไม่เบียดเบียนประชาชน เขาไปเก็บ
เอาข้าวกล้ามาหมดเลย และเป็นผู้อันประชาชนพูดว่า ท่านผู้เจริญ อย่าทำ
พวกข้าพเจ้าให้ฉิบหาย กลับกล่าวว่า ข้าวกล้าที่หว่านไว้ในราชสกุลมีน้อย
พระราชาทรงสั่งเราอย่างนี้ในเวลาที่จะมาทีเดียว พวกท่านอย่าได้คร่ำครวญไป
เลย. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพระราชาอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมปล้นพราหมณ์และ
คหบดีทั้งหลาย. ข้าวเข้าบ้านตนโดยส่วนมาก ส่งเข้าราชสกุลมีประมาณ
น้อยแล. และถูกพระราชาตรัสถามว่า ท่านไม่ได้ทำการบีบบังคับพราหมณ์
และคหบดีทั้งหลายหรือ ก็กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ในวาระนี้
นามีข้าวกล้าน้อย เพราะฉะนั้น เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่บีบบังคับเก็บเอา จึงไม่
มากแล. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายอย่างนี้ปล้น
พระราชา. คำว่า จงดื่มน้ำนมสด ความว่า จงดื่มน้ำนมสดอ่อน ๆ. คำว่า
แห่งภัตตาหารก่อน ความว่า เวลาภัตตาหารจักมีตราบเท่าที่ท่านนั่งดื่มนมสด.
ธนัญชานิพราหมณ์แสดงว่า ชนทั้งหลายจักนำอาหารเข้ามาเพื่อเราทั้งหลาย ณ

ที่นี้แหละ. ในคำว่า มารดาและบิดา ดังนี้เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัย
นี้ว่า บิดามารดาแก่เฒ่า อันบุตรพึงแสวงหาเครื่องปูลาดและเครื่องนุ่งห่มอ่อนๆ
ผ้าเนื้อละเอียด โภชนะที่มีรสอร่อย และของหอมกับพวงดอกไม้ที่หอมดีเป็นต้น
มาพอกเลี้ยง. บิดากระทำกิจทุกอย่างมีงานมงคลในการตั้งชื่อบุตรและธิดา พึง
เลี้ยงดูบุตรและภรรยา. ก็เมื่อไม่ทำอย่างนี้ การติเตียนย่อมเกิดขึ้น. บทว่า
เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม อธิบายว่า กรรมคือความเป็นผู้ไม่มีศีลห้า
หรือไม่มีศีลสิบ ชื่อว่าอธรรม ในที่นี้. บทว่า พึงฉุดคร่า คือ พึงฉุดเข้าไปสู่
นรกขุมนั้น ๆ เพื่อกระทำกรรมกรณ์ มีการจองจำ 5 อย่างเป็นต้น. บทว่า
ผู้ประพฤติชอบธรรมคือ ผู้มีปรกติทำการงานมีการไถนา และการค้าขาย
เป็นต้นที่ชอบธรรม. บทว่า ย่อมลอยลง คือ สารีลง ได้แก่ คลายลง.
บทว่า กล้าขึ้น คือกำเริบขึ้น ได้แก่เพิ่มขึ้น. บทว่า ประเสริฐ แปลว่า
ประเสริฐกว่า. บทว่า เลว คือ ต่ำช้า ลามก. คำนี้ว่า สารีบุตร ก็พราหมณ์
กระทำกาละแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระด้วยพระประสงค์ว่า
เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น. แม้พระเถระก็ไปในขณะ
นั้นทันทีแล้วแสดงธรรมแก่มหาพราหมณ์. จำเดิมแต่นั้นไป เมื่อพระเถระแม้
กล่าวคาถา 4 บาท ก็ไม่กล่าวถึงความหลุดพันด้วยสัจจะ 4 แล.
จบอรรถกถาธนัญชานิสูตรที่ 7

8. วาเสฏฐสูตร



[704] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้
หมู่บ้านอิจฉานังคละ. ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ
จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณิพราหมณ์
โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ใน
หมู่บ้านอิจฉานังคละ ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เที่ยวเดินเล่น
เป็นการพักผ่อนอยู่ มีถ้อยคำพูดกัน ในระหว่างนี้เกิดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่างไร
บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ
ปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึง
ชาติได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ วาเสฏฐมาณพ
กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตรด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพไม่อาจให้
ว่าเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงว่าเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณพยินยอม
ได้เหมือนกัน.
[705] ครั้งนั้นแล ว่าเสฏฐมาณพได้ปรึกษากะภารทวาชมาณพว่า
ท่านภารทวาชะ พระสมณโคดมศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล
ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านอิจฉานังคละ ก็กิตติศัพท์อันงาม
ของท่านพระสมณโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี
ตระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วย