เมนู

อรรถกถาเอสุกรีสูตร



เอสุการีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า พึงแขวนส่วน คือพึงให้แขวนส่วน.
ทรงแสดงชื่อว่า สัตถธรรม คือธรรมของพ่อค้าเกวียนด้วยคำนี้ . ได้ยินว่า
พ่อค้าเกวียนเดินทางกันดารมาก. เมื่อโคตายในระหว่างทาง ก็ถือเอาเนื้อมัน
มาแล้ว แขวนไว้สำหรับผู้ต้องการเนื้อทั้งปวงว่า ใคร ๆ เคี้ยวกินเนื้อนี้ จง
ให้ราคาเท่านี้ . ธรรมดาว่าเนื้อโค คนกินได้ก็มี กินไม่ได้ก็มี ผู้สามารถให้
ต้นทุนก็มี ผู้ไม่สามารถก็มี. พ่อค้าเกวียนซื้อโคมาด้วยราคาใด เพื่อให้ราคานั้น
จึงให้ส่วนแก่คนทั้งปวงโดยพลการแล้ว เอาแต่ต้นทุน. นี้เป็นธรรมของพ่อค้า
เกวียน. เพื่อแสดงว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ถือเอา
ปฏิญญาของชาวโลกแล้วบัญญัติการบำเรอ 4 ประการโดยธรรมดาของตนเอง
ดังนี้ จึงตรัสว่า อย่างนั้นเหมือนกันแล ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงมีแต่ความชั่ว
คือ พึงเป็นความชั่วช้าอย่างยิ่ง. คำว่า พึงมีแต่ความดี คือ พึงมีแต่ประโยชน์
เกื้อกูล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชั่ว คือ พึงเป็นอัตตภาพชั่ว คือ ลามก.
บทว่า ดี คือ ประเสริฐสุด. ได้แก่สูงสุด. บทว่า ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่า.
บทว่า เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ประเสริฐ เพราะความ
เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง. บทว่า ชั่วช้า คือ เลวทราม. ความเป็นผู้เกิดใน
ตระกลสูงเทียว ย่อมควรในตระกูลทั้งสอง คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูล
พราหมณ์. ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง ย่อมควรในตระกูลทั้งสาม. เพราะแม้
แพศย์ก็ย่อมเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งได้. ความเป็นผู้มีโภคะมากย่อมควรแม้ใน
ตระกูลทั้ง 4. เพราะแม้ศูทรจนชั้นที่สุดแม้คนจัณฑาล ก็ย่อมเป็นผู้มีโภคะ

มากได้เหมือนกัน. บทว่า เที่ยวไปเพื่อภิกษา ความว่า อันพราหมณ์แม้มี
ทรัพย์เป็นโกฏิก็ต้องเที่ยวขอภิกขา. พราหมณ์แต่เก่าก่อนแม้มีทรัพย์ตั้ง 80 โกฏิ
ก็ย่อมเที่ยวภิกขาเพลาหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า ข้อครหาว่า
เดี๋ยวนี้เริ่มเที่ยวขอภิกษา ดังนี้ จักไม่มีแก่โปราณกพราหมณ์ทั้งหลายในเวลา
เข็ญใจ. บทว่า ดูหมิ่น ความว่า พราหมณ์ละวงศ์ การเที่ยวภิกษาแล้ว
เลี้ยงชีวิตด้วยสัตถาชีพ (อาชีพชายศัสตรา) กสิกรรม และพาณิชกรรมเป็นต้นนี้
ชื่อว่าดูหมิ่น. บทว่า เหมือนคนเลี้ยงโค ความว่า เหมือนคนเลี้ยงโคลักของ
ที่ตนต้องรักษา เป็นผู้ทำในสิ่งที่มิใช่หน้าที่ฉะนั้น . พึงทราบเนื้อความในวาระ
ทั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า มีดและไม้คาน คือมีดสำหรับเกี่ยวหญ้า (คือเคียว)
และไม้คาน. บทว่า ระลึกถึง ความว่า ระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของ
มารดาบิดาที่คนเกิดนั้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเอสุการีสูตรที่ 6

7. ธนัญชานิสูตร



[672] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันสวนที่
ใช้เลี้ยงกระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยว
จาริกไปในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษ์สงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้น ภิกษุ
รูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงทัก-
ขิณาคิรีชนบท ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[673] ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวร และยังทรงพระกำลังอยู่หรือ.
ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวรและยัง
ทรงพระกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่หรือ.
ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์อยู่ที่ใกล้ประตูตัณฑุลปาละ ใน
พระนครราชคฤห์นั้น เขาไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ.
ภิ. แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มี
อายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ.
ภิ. ที่ไหนได้ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท.
เขาอาศัยพระราชา เที่ยวปล้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์