เมนู

อรรถกถาเอสุกรีสูตร



เอสุการีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า พึงแขวนส่วน คือพึงให้แขวนส่วน.
ทรงแสดงชื่อว่า สัตถธรรม คือธรรมของพ่อค้าเกวียนด้วยคำนี้ . ได้ยินว่า
พ่อค้าเกวียนเดินทางกันดารมาก. เมื่อโคตายในระหว่างทาง ก็ถือเอาเนื้อมัน
มาแล้ว แขวนไว้สำหรับผู้ต้องการเนื้อทั้งปวงว่า ใคร ๆ เคี้ยวกินเนื้อนี้ จง
ให้ราคาเท่านี้ . ธรรมดาว่าเนื้อโค คนกินได้ก็มี กินไม่ได้ก็มี ผู้สามารถให้
ต้นทุนก็มี ผู้ไม่สามารถก็มี. พ่อค้าเกวียนซื้อโคมาด้วยราคาใด เพื่อให้ราคานั้น
จึงให้ส่วนแก่คนทั้งปวงโดยพลการแล้ว เอาแต่ต้นทุน. นี้เป็นธรรมของพ่อค้า
เกวียน. เพื่อแสดงว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ถือเอา
ปฏิญญาของชาวโลกแล้วบัญญัติการบำเรอ 4 ประการโดยธรรมดาของตนเอง
ดังนี้ จึงตรัสว่า อย่างนั้นเหมือนกันแล ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงมีแต่ความชั่ว
คือ พึงเป็นความชั่วช้าอย่างยิ่ง. คำว่า พึงมีแต่ความดี คือ พึงมีแต่ประโยชน์
เกื้อกูล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชั่ว คือ พึงเป็นอัตตภาพชั่ว คือ ลามก.
บทว่า ดี คือ ประเสริฐสุด. ได้แก่สูงสุด. บทว่า ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่า.
บทว่า เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ประเสริฐ เพราะความ
เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง. บทว่า ชั่วช้า คือ เลวทราม. ความเป็นผู้เกิดใน
ตระกลสูงเทียว ย่อมควรในตระกูลทั้งสอง คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูล
พราหมณ์. ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง ย่อมควรในตระกูลทั้งสาม. เพราะแม้
แพศย์ก็ย่อมเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งได้. ความเป็นผู้มีโภคะมากย่อมควรแม้ใน
ตระกูลทั้ง 4. เพราะแม้ศูทรจนชั้นที่สุดแม้คนจัณฑาล ก็ย่อมเป็นผู้มีโภคะ