เมนู

อรรถกถาอัสสลายนสูตร



อัสสลายนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น คำว่า นานาเวรชฺชกามํ ได้แก่ ผู้ที่มาจากแคว้น
ต่าง ๆ มีอังคะและมคธ เป็นต้น โดยประการต่าง ๆ กัน อีกอย่างหนึ่ง
ความว่า ผู้เกิดแล้วเจริญแล้ว ในแคว้นเหล่านั้นก็มี. บทว่า เกนจิเทว
คือด้วยกิจที่มิได้กำหนดมีการบูชายัญเป็นต้น. บทว่า จาตุวณฺณึ คือทั่วไป
แก่วรรณะ 4. ก็เราทั้งหลายกล่าวว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมสาธยายมนต์เพื่อ
ชำระล้างให้บริสุทธิ์บ้าง เพื่อความบริสุทธิ์แห่งภาวนาบ้าง จึงสำคัญว่า พระ-
สมณโคดมกระทำแม้สิ่งที่ไม่สมควร จึงคิดกันอย่างนั้น. บทว่า วุตฺตสิโร คือ
ปลงผม. บทว่า ธมฺมวาที ความว่า พูดวามภาวะของตน. บทว่า ทุปฺปภิ-
มนฺติยา
ความว่า อันผู้กล่าวไม่เป็นธรรมเช่นเราจะพึงโต้ตอบได้โดยยาก.
ท่านแสดงว่า ไม่อาจทำให้ผู้กล่าวเป็นธรรมแพ้ได้. บทว่า ปริพฺพาชกํ ได้แก่
วิธีบรรพชา. พราหมณ์เหล่านั้น สำคัญอยู่ว่า ผู้ที่เรียนพระเวทสามแล้วบวช
ในภายหลังคนอื่นทั้งหมด ย่อมบวชด้วยมนต์ใด ครั้นบวชแล้ว ย่อมบริหาร
มนต์เหล่าใด ย่อมประพฤติอาจาระใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นอันท่านผู้เจริญเรียน
แล้วศึกษาแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจะไม่แพ้ ท่านจักมีแต่ชนะอย่างเดียว
ดังนี้ จึง กล่าวอย่างนั้น.
คำว่า ทิสฺสนฺเต โข ปน ดังนี้ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อทำลายลัทธิ
ของพราหมณ์เหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโย ได้แก่ ใครๆ
ก็เห็นนางพราหมณีที่นำนาจากตระกูลเพื่อให้บุตรของพราหมณ์ (แต่งงาน) ด้วย
การอาวาหะ และวิวาหมงคล แต่นางนั้นโดยสมัยอื่นมีฤดู หมายความว่า เกิด

ประจำเดือน. บทว่า คพฺภินิโย ได้แก่ เกิดท้องขึ้น. บทว่า วิชายมานา
ได้แก่ ตลอดลูกชายหญิง. บทว่า ปายมานา คือให้เด็กดื่มน้ำนม. คำว่า
โยนิชาวสมานา ความว่า เกิดทางช่องคลอดของนางพราหมณี. คำว่า
เอวมาหํสุ แปลว่า กล่าวอยู่อย่างนี้. ถามว่า กล่าวอย่างไร. ตอบว่า กล่าวว่า
พฺราหฺมโณว เสฏฺโฐ วณฺโณ ฯเปฯ พฺรหฺมทายาทา ดังนี้ . ก็ถ้าว่า
คำของตนเหล่านั้นพึงเป็นคำจริง ท้องนางพราหมณีก็พึงเป็นอกของมหาพรหม.
ช่องคลอดของนางพราหมณีก็พึงเป็นปากของมหาพรหม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เราทั้งหลายอย่าได้กล่าวว่า อยู่ในอกของมหาพรหมออกจากของพรหม ฉะนั้น
จึงกล่าวคำตัดเรื่องชาติออกได้เต็มปาก. คำว่า เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส
เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า
ความว่า พราหมณ์กับภริยาประกอบการค้าขาย
ไปยังแคว้นโยนก หรือแคว้นกัมโพช กระทำกาละ เมื่อบุตรผู้เจริญวัยในเรือน
เขาไม่มี นางพราหมณีก็สำเร็จสังวาสกับทาสหรือกรรมกร เกิดเด็กคนหนึ่ง
บุรุษนั้นเป็นทาส. เด็กที่เกิดของบุรุษนั้น ก็เป็นเจ้าของมรดก ชื่อว่าบริสุทธิ์
ฝ่ายมารดา ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดา. บุรุษนั้นประกอบการค้าขายอยู่ ไปยังมัชฌิม
ประเทศพาลูกสาวของพราหมณ์ไป ได้ลูกชายในท้องของนางนั้น. ถึงลูกชาย
นั้นก็ย่อมบริสุทธิ์ฝ่ายมารดาตามเดิม ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดา ด้วยอาการอย่างนี้
ความปนคละโดยชาติ ย่อมมีในลัทธิของพราหมณ์นั้นแหละ เพื่อแสดงความ
ดังกล่าวมานี้ จึงกล่าวคำนั้นไว้. คำว่า กึ พลํ โก อสฺสาโส ท่านแสดง
ว่า ในที่ใดพวกท่านเป็นทาส ทุกคนก็เป็นทาส ถ้าเป็นเจ้าทุกคนก็เป็นเจ้า ใน
ที่นี้อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดีของท่านทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ. คำว่า ขตฺติโย จ นุโข เป็นต้น เป็น
คำตัดฝ่ายขาวทิ้งเสีย.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความบริสุทธิ์อันมีวรรณะ 4 จึงกล่าวคำว่า อิธ
ราชา
ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สาปานโทณิยา ได้แก่ รางน้ำข้าวแม้แห่งสุนัข.
บทว่า อคฺคิกรณียํ ได้แก่หน้าที่ของไฟเป็นต้นว่า บรรเทาความหนาว ขจัด
ความมืด หุงต้มข้าว. ชื่อว่าผู้ทำกิจด้วยไฟในกิจทุกอย่างนี้ ชื่อว่า อัสสลายนะ
ในบทนี้.
บัดนี้ ในข้อที่พราหมณ์กล่าวว่า ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ 4
ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ 4 นี้ไม่มีความชี้ชัดลงไปว่า วรรณะ 4 เพราะยังมี
วรรณะผสมเป็นที่ 5 ฉะนั้น เพื่อจะแสดงความผิดพลาดในคำของพราหมณ์
เหล่านั้น โดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขัตติยกุมารในโลกนี้ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อมุตฺร จ ปน สานํ. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ก็แลเราไม่เห็นการกระทำอันต่างกันอะไร ๆ ของมาณพเหล่านี้ ในนัย
ก่อนโน้น . แต่แม้พราหมณ์เหล่านั้นยังมีการกระทำต่างกันเทียว. ก็ผู้ที่เกิดจาก
นางพราหมณีกับขัตติยกุมาร ก็ชื่อว่า ลูกผสมกษัตริย์. นอกนี้ชื่อว่าลูกผสม
พราหมณ์. เหล่านี้เป็นมาณพผู้มีชาติต่ำ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดง
โทษในวาทะของพราหมณ์เหล่านั้นว่า ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ 4 เพราะ
ยังมีวรรณะที่ 5 อยู่อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะหยั่งลงในความบริสุทธิ์ เกี่ยวกับ
วรรณะ 4 อีก จึงตรัสคำว่า ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธ ได้แก่ภัตรเพื่อผู้ตาย. บทว่า ถาลิปาเก
ได้แก่ ภัตรเพื่อบรรณาการ. บทว่า ยญฺเญ ได้แก่ภัตร เพื่อบูชายัญ. บทว่า
ปาหุเน ได้แก่ภัตรที่เขาทำเพื่อแขก. บทว่า กึ หิ คือย่อมแสดงว่า อันไหนจะมี
ผลมากหรือจะไม่มีผลมาก. บทว่า ภูตปุพฺพํ ความว่า อัสสลายนะในกาลก่อน
เราต่ำกว่าโดยชาติ ท่านแม้ประเสริฐกว่าก็ไม่อาจแก้ปัญหาในวาทะปรารภชาติที่
เราถามแล้วได้ บัดนี้ท่านเป็นผู้ต่ำกว่าเรา ถามปัญหาวาทะปรารภชาติของตนแห่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะแก้ได้หรือ การคิดในปัญหานั้น ก็พึงกระทำไม่ได้

เมื่อจะค้ำชูมาณพนั้น จึงปรารภการเทศนานี้ด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้น
บทว่า อสิโต แปลว่า ดำ. คำว่า เทวโล เป็นชื่อของดาบสนั้น. โดยสมัยนั้น
ก็คือพระผู้มีพระภาคเจ้านี้แหละ. บทว่า อาคลิโย ได้แก่ รองเท้าสองชั้น.
บทว่า ปตฺติณฺฑิเล ได้แก่บริเวณบรรณศาลา. คำว่า โก นุ โข ได้แก่
ณ ที่ไหนหนอแล. คำว่า คามณฺฑรูโป วิย ได้แก่ เหมือนเด็กชายชาวบ้าน.
คำว่า โส ขฺวาหํ โภ โหมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเป็น
อสิเทวละ. ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระมหาสัตว์เป็นผู้ฝึกม้าที่ยังมิได้ฝึกเที่ยวไป.
คำว่า อภิวาเทตุํ อุปกฺกมึสุ คือกระทำความพยายามจะไหว้. และต่อแต่
นั้น แม้ดาบสผู้มีอายุ 100 ปี ก็ไม่ไหว้ พราหมณ์กุมารผู้เกิดในวันนั้น เป็น
ผู้ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว.
คำว่า ชนิมาตา ความว่า หญิงใดให้ท่านเกิดมา หญิงนั้นก็เป็นแม่
ผู้เกิดกล้าของท่าน. บทว่า ชนิมาตุ คือ แห่งมารดาบังเกิดเกล้า. บทว่า
ชนิปิตา คือผู้ใดเป็นบิดาบังเกิดเกล้า. ปาฐะว่า โย ชนิปิตา ดังนี้ก็มี.
บทว่า อสิเตน ความว่า ฤาษีอสิตเทวละผู้ได้อภิญญา 5 ถามปัญหา
ปรารภคนธรรพ์นี้ แล้วแก้ไม่ได้. บทว่า เยสํ ได้แก่ ฤาษี 7 ตน เหล่าใด. คำว่า
ปุณฺโณ ทพฺพิคาโห ความว่า มาณพคนหนึ่ง ขอปุณณะจับทัพพีคั่วใบไม้
ให้ฤาษี 7 ตนเหล่านั้น. ปุณณะนั้นรู้ศิลปะในการจับทัพพี แต่ปุณณะไม่ได้
เป็นอาจารย์ของฤาษีเหล่านั้น ท่านไม่รู้แม้เพียงศิลปะ คือการจับทัพพีที่ปุณณะ
นั้นรู้แล้ว. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
ก็อัสสลายนพราหมณ์นี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ได้สร้าง
เจดีย์ไว้ในนิเวศน์ของตน. ผู้ที่เกิดในวงศ์ของอัสสลายนพราหมณ์ สร้าง
นิเวศน์แล้ว ก็สร้างเจดีย์ไว้ในภายในนิเวศน์จนคราบเท่าถึงวันนี้.

จบอรรถกถาอัสสลายนสูตรที่ 3

4. โฆฏมุขสูตร



[630] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะได้ไปถึงเมืองพาราณสีด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง. ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อน ได้เข้า
ไปยังเขมิยอัมพวัน . ก็สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. โฆฏ-
มุขพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอุเทนถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุเทน
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้เดินตามท่านพระอุเทนผู้
กำลังเดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบ
ธรรมย่อมไม่มี ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย
เช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.
[631] เมื่อโฆฏนุขพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนลงจาก
ที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ แม้โฆฏมุขพราหมณ์ก็ลง
จากที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ท่านพระอุเทนได้กล่าวกะโฆฏมุขพราหมณ์ว่า พราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่าน
ปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด.
โฆ. ก็ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญของท่านพระอุเทนนี้แล จึงยังไม่นั่ง
เพราะว่าคนเช่นข้าพเจ้า อันใครไม่เชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการที่จะพึง
นั่งบนอาสนะอย่างไร.
ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอุเทนว่า สมณะผู้เจริญ การ