เมนู

พราหมณวรรค



อรรถกถาพรหมายุสูตร



พรหมายุสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพรหมายุสูตรนั้น คำว่า ใหญ่ ในบทว่า พร้อมกับหมู่ภิกษุ
ใหญ่
นั้น ชื่อว่าใหญ่ เพราะความใหญ่ด้วยคุณบ้าง ใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง.
จริงอยู่ หมู่ภิกษุนั้น เป็นหมู่ใหญ่ แม้ด้วยคุณทั้งหลาย. จัดว่าใหญ่เพราะ
ประกอบด้วยคุณมีความมักน้อยเป็นต้น และเพราะนับได้ถึง 500 รูป. กับหมู่
แห่งพวกภิกษุ ชื่อว่าหมู่ภิกษุ. อธิบายว่า กับหมู่สมณะที่มีทิฏฐิสามัญญตา และ
สีลสามัญญตา เท่าเทียมกัน. คำว่า พร้อม คือ ด้วยกัน. คำว่า ภิกษุ
ประมาณ 500 รูป
คือ ชื่อว่ามีประมาณห้า เพราะประมาณห้าแห่งร้อย
ของภิกษุเหล่านั้น. ประมาณท่านเรียกว่า มาตรา. เพราะฉะนั้นจึงมีอธิบายว่า
ภิกษุรู้จักมาตราคือรู้จักประมาณในโภชนะ ที่ตรัสว่า เป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ ฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า มาตราห้าได้แก่
ประมาณห้าแห่งร้อยของภิกษุเหล่านั้น ฉันนั้น. ร้อยทั้งหลายแห่งพวกภิกษุ
ชื่อว่าร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย. กับร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย มีประมาณห้าเหล่านั้น.
คำว่า มีปี 120 คือ มีอายุ 120 ปี. คำว่า แห่งเวททั้งสาม คือแห่ง
ฤคเวท ยชุรเวท และ สามเวท. ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง เพราะถึงฝั่งด้วยอำนาจการ
ท่องคล่องปาก. พร้อมด้วย นิฆัณฑุ และเกฏุภะ ชื่อว่าพร้อมกับนิฆัณฑุ
และเกฏุภะ. ศาสตร์ที่ประกาศคำสำหรับใช้แทน นิฆัณฑุศาสตร์ และพฤกษ-

ศาสตร์เป็นต้น ชื่อสนิฆัณฑุ. เกฏุภะ ได้แก่การกำหนดกิริยาอาการที่เป็น
ศาสตร์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือของพวกกวี. ชื่อว่าพร้อมทั้งประเภทอักษร
เพราะพร้อมกับประเภทอักษร. คำว่า ประเภทอักษร ได้แก่ สิกขาและนิรุตติ.
คำว่า มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้า คือมีประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่เรื่องเก่าแก่
ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ว่า เป็นอย่างนี้ เล่ากันมาว่าเช่นนี้ เป็นที่ห้าแห่ง
พระเวทที่จัดอาถรรพณเวทเป็นที่สี่เหล่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า มีประวัติศาสตร์
เป็นที่ห้า. มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้าแห่งพระเวทเหล่านั้น. ชื่อว่าผู้เข้าใจบท
ฉลาดในไวยากรณ์ เพราะถือเอาหรือแสดงบทและไวยากรณ์ที่นอกเหนือจาก
บทนั้นได้อย่างแจ่มแจ้ง. วิตัณฑวาทศาสตร์ เรียกว่า โลกายตะ. คำว่า
ลักษณมหาบุรุษ ได้แก่ตำราประมาณ 12,000 เล่ม ที่แสดงลักษณะบุรุษ
ผู้ยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีบทคาถาประมาณ 16,000 บท ที่มีชื่อว่า
พุทธมนท์ ซึ่งเป็นเหตุให้รู้ความแตกต่างอันนี้คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะ
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้ เป็นพระอัคร
สาวกทั้งสองด้วยลักษณะนี้ เป็นพระสาวกผู้ใหญ่ แปดสิบท่าน ด้วยลักษณะ
นี้ เป็นพระพุทธมารดา, เป็นพระพุทธบิดา, เป็นอัครอุปัฏฐาก, เป็นอัคร
อุปัฏฐายิกา, เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยลักษณะนี้. คำว่า เป็นผู้ชำนาญ
ได้แก่ ผู้ทำให้บริบูรณ์ ไม่หย่อนในคัมภีร์โลกายตะ และตำราทายลักษณะ
มหาบุรุษ อธิบายว่า ได้แก่เป็นผู้ไม่ขาดตกบกพร่อง. ผู้ที่ไม่สามารถจำทรง
ทั้งใจความ และคัมภีร์ได้ ชื่อว่า ผู้ขาดตกบกพร่อง. คำที่จะต้องกล่าวในบท
เป็นต้นว่า ได้ยินแล้วแล ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสาเลยยกสูตร.

คำว่า นี้ พ่อ คือพรหมายุพราหมณ์นี้ เพราะเป็นคนแก่ไม่อาจไปได้
จึงเรียกมาณพมากล่าวอย่างนั้น. อนึ่ง พราหมณ์นี้คิดว่า ในโลกนี้ คนที่ถือ
เอาชื่อของผู้ที่ฟุ้งขจรไปว่า ข้าเป็นพุทธะ ข้าเป็นพุทธะ มากล่าวมีมากมาย
เพราะฉะนั้น เพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น เราจึงยังไม่ควรไปหา และเมื่อเข้าไป
หาบางคน หลีกไปเสียเฉย ๆ ก็เป็นเรื่องหนักใจ ทั้งจะเกิดความเสียหายด้วย
เป็นอันว่าทางที่ดี เราควรส่งศิษย์เรา เมื่อรู้ว่าเป็นพุทธะหรือไม่เป็นแล้ว จึง
ค่อยเข้าไปหาเขา เพราะฉะนั้น จึงเรียกมาณพมากล่าวคำเป็นต้นว่า นี้ พ่อ
ดังนี้. บทว่า ตํ ภควนฺตํ ได้แก่ ผู้เจริญนั้น. คำว่า เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
คือ เป็นจริงอย่างนั้น. ก็คำว่า สนฺตํ นี้เป็นทุติยาวิภัติ ลงในอรรถว่าเป็น
เช่นนี้. ในคำว่า นี่เธอทำอย่างไรเราเล่า คือ นี่เธอก็เราจะรู้จักท่าน
พระโคดมนั้นได้อย่างไร อธิบายว่า เธอจงบอกเราโดยประการที่เราสามารถ
รู้จักพระโคดมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โดยประการใด นี้เป็นเพียงคำที่ลง
แทรกเข้ามาเฉย ๆ ก็ได้. คำว่า อย่างไร นี้เป็นคำถามอาการ หมายความว่า
เราจะรู้จักท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างไร.
ได้ยินว่า เมื่อลูกศิษย์ว่าอย่างนั้น อุปชฌาย์กล่าวกะเธอเป็นต้นว่า พ่อ
เจ้ายืนอยู่บนแผ่นดิน แล้วมาพูดคล้ายกะว่า ผมมองไม่เห็นแผ่นดิน ยืนอยู่ใน
แสงพระจันทร์และพระอาทิตย์แล้วกลับมาพูดคล้ายกะว่า ผมมองไม่เห็นพระ-
จันทร์และพระอาทิตย์หรือ เมื่อจะแสดงรายละเอียดความรู้ จึงกล่าวคำเป็นต้น
ว่า มาแล้วแล พ่อ. ในคำเหล่านั้น คำว่า มนต์ หมายถึงพระเวท. พวกเทพ
ชั้นสุทธาวาส บางท่าน ทราบว่า นัยว่า พระตถาคตเจ้าจะทรงอุบัติ จึงเอา
ลักษณะมาใส่ไว้ในพระเวท แล้วแปลงตัวเป็นพราหมณ์มาสอนพระเวทว่า
เหล่านี้ ชื่อพุทธมนต์ คิดว่าโดยทำนองนั้น พวกสัตว์ (คน) ผู้ยิ่งใหญ่ จะ
รู้จักพระตถาคตเจ้าได้. เพราะเหตุนั้น มหาปุริลักษณะ จึงมาในพระเวทตั้ง

แต่ก่อนมา. แต่เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ค่อย ๆ สูญหายไป.
ฉะนั้น บัดนี้ จึงไม่มี. คำว่า ของมหาบุรุษ คือของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยการ
ตั้งพระทัย การยึดมั่น ความรู้และความสงสารเป็นต้น. คำว่า สองทางเท่า
นั้น
คือที่สุดสองอย่างเท่านั้น. ในเรื่องความรู้ทั่วไป คติศัพท์ เป็นไปใน
ประเภทภพในคำเป็นต้นว่า สารีบุตร ก็คติห้าอย่างเหล่านี้แล. เป็นไปในที่
เป็นที่อยู่ในคำเป็นต้นว่า ป่าใหญ่เป็นคติ (ที่อยู่) ของพวกเนื้อ. เป็นไปใน
ปัญญาในคำเป็นต้นว่า มีคติ (ปัญญา) มีประมาณยิ่ง อย่างนี้. เป็นไปใน
ความสละในคำเป็นต้นว่า ถึงคติ (ความสละ). แต่ในที่นี้พึงทราบว่าเป็นไป
ในความสำเร็จ (หรือที่สุด). แม้ถึงอย่างนั้น ในลักษณะเหล่านั้น ผู้ประกอบ
ด้วยลักษณะเหล่าใด เป็นพระราชา ก็ไม่ใช่ว่า เป็นพระพุทธเจ้าด้วยลักษณะ
เหล่านั้นเลย. แต่ท่านเรียกลักษณะเหล่านั้นเพราะความเสมอกันทางชาติเท่านั้น.
เพราะเหตุนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด.
คำว่า ถ้าอยู่ครองเรือน คือถ้าอยู่ในเรือน. คำว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ความว่า เพราะทำให้โลกยินดีด้วยสิ่งอัศจรรย์ 4 อย่าง และสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยว
น้ำใจ 4 อย่าง จึงชื่อว่า ราชา. เพราะมีการหมุนจักรแก้ว หมุนไปด้วย
สมบัติจักรทั้ง 4 ให้คนอื่นหมุนไปด้วยสมบัติจักรทั้ง 4 นั้นด้วย และเพราะ
ทรงพระพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอื่น และประพฤติเพื่อจักรอันได้แก่อิริยาบถ
จึงชื่อว่า จักรพรรดิ. และในที่นี้ คำว่า ราชา เป็นคำทั่ว ๆ ไป. คำว่า
จักรพรรดิ เป็นคำวิเศษณ์ (คุณศัพท์ขยายราชา). เพราะทรงประพฤติเป็น
ธรรม. จึงชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หมายความว่า ทรงประพฤติด้วยพระ-
ญาณที่ถูกต้อง. เพราะทรงได้รับราชย์โดยธรรม แล้วจึงเป็นราชา จึงชื่อว่า
ธรรมราชา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเพื่อเกื้อกูลคนอื่น จึง
ชื่อว่า ทรงประกอบด้วยธรรม เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเกื้อกูลพระองค์

จึงชื่อว่า พระธรรมราชา. เพราะเป็นใหญ่ในแผ่นดินอันมีทะเลหลวง 4 เป็น
ขอบเขต จึงชื่อว่า จาตุรนต์ อธิบายว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ประดับด้วย
ทวีปทั้งสี่ ซึ่งมีสมุทรทั้ง 4 ทิศเป็นที่สุด. เพราะทรงชำนะข้าศึกมีความโกรธ
เป็นต้นในภายใน และพระราชาทั้งหมดในภายนอก จึงชื่อว่า ผู้ชำนะพิเศษ.
คำว่า ถึงความมั่นคงในชนบท ความว่า ถึงความแน่นอน ความมั่นคงใน
ชนบท ไม่มีใครทำให้กำเริบได้ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทรงถึงความมั่นคงใน
ชนบท เพราะทรงมีชนบทที่ถึงความมั่นคง ไม่ต้องทรงมีความขวนขวายยินดี
ในการงานของพระองค์ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลนในชนบทนั้น. บทว่า
อย่างไรนี้ เป็นคำสำหรับลงแทรกเข้ามา. ความว่า แก้วเหล่านั้น ของพระเจ้า
จักรพรรดินั้น คืออะไรบ้าง. ในคำว่า จักรแก้ว เป็นต้น ชื่อว่าจักรแก้ว
เพราะสิ่งนั้นเป็นจักร และชื่อว่าเป็นแก้ว เพราะอรรถว่า ให้ความยินดี. ในทุก
บท ก็เช่นนี้ทั้งนั้น.
ก็ในบรรดารัตนะเหล่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงชนะแว่นแคว้นที่ยัง
ไม่ชนะด้วยจักรรัตนะ. ทรงเที่ยวไปตามความสุขสะดวกในแว่นแคว้นด้วย
ช้างแก้ว และม้าแก้ว ทรงรักษาแว่นแคว้นได้ด้วยปริณายกแก้ว. ทรงเสวย
อุปโภคสุขด้วยรัตนะนอกนี้. ก็การประกอบด้วยอำนาจแห่งความอุสสาหะ
แห่งพระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยรัตนะที่ 1 ความประกอบด้วย
ศักดิ์แห่งเจ้า ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว และคหบดีแก้ว การ
ประกอบด้วยอำนาจแห่งความฉลาด ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยปริณายกแก้วสุดท้าย.
ผลแห่งการประกอบด้วยอำนาจสามประการ ย่อนบริบูรณ์ดีด้วยนางแก้ว และ
แก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดินั้น ทรงเสวยความสุขในการใช้สอยด้วยนางแก้ว
และแก้วมณี. ทรงเสวยอิสริยสุขด้วยรัตนะนอกนี้. อนึ่ง รัตนะ 3 ข้างต้นของ
พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูลคือ อโทสะ

ให้เกิดแล้ว โดยพิเศษ. รัตนะกลาง ๆ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรมอัน
กุศลมูลคือ อโลภะให้เกิดแล้ว. รัตนะหลังอันเดียวพึงทราบว่า สำเร็จด้วย
อานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูล คือ อโมหะ ให้เกิดแล้ว ความย่อในรัตนะ
เหล่านี้เท่านี้.
ส่วนความพิสดารพึงถือเอาโดยอุปเทศแห่งรัตนสูตร1 ในโพชฌังคสังยุต.
อีกอย่างหนึ่ง การพรรณนาพร้อมกับลำดับแห่งการเกิดของรัตนะเหล่านี้ จักมา
ในพาลปัณฑิตสูตร.
บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า เกินกว่าพัน. บทว่า สูรา ความว่า
ผู้มีชาติแห่งคนกล้า. บทว่า วิรงฺครูปา ความว่า มีกายคล้ายเทพบุตร.
อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ก่อน. แต่ในเรื่องนี้มีสภาวะดังต่อไปนี้.
บทว่า วีรา ท่านกล่าวว่า มีความกล้าหาญอย่างสูงสุด. คุณแห่งผู้กล้าหาญ
ชื่อว่า วีรงฺคํ ท่านกล่าวอธิบายว่า เหตุแห่งผู้กล้า ชื่อวิริยะ... ชื่อว่า วีรังครูป
เพราะอรรถว่า มีรูปร่างองอาจกล้าหาญ ท่านกล่าวอธิบายว่า เหมือนมีร่างกาย
สำเร็จด้วยความกล้าหาญ. บทว่า ปรเสนปฺปมทฺทนา อธิบายว่า ถ้ากองทัพ
อันยืนเผชิญหน้าอยู่ ก็สามารถย่ำยีกองทัพนั้นได้. บทว่า ธมฺเมน ความว่า
ด้วยธรรมคือศีลห้ามีคำว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทเจ้า เปิดหลังคา
(คือกิเลส) ในโลกแล้วนี้
ชื่อว่า มีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะเปิดหลังคา
ในโลกอันมืดมนด้วยกิเลส ซึ่งถูกกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อวิชชาและทุจริตอันเสมือนหลังคาทั้ง 7 ปิดแล้วนั้น ทำให้เกิดแสงสว่างโดย
รอบตั้งอยู่แล้ว. ในบรรดาบทเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวความเป็น
ผู้ควรแก่การบูชาด้วยบทแรก กล่าวเหตุแห่งความเป็นผู้ควรแก่การบูชานั้น ด้วย

1. สํ 3/87

บทที่ 2 เพราะทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวความเป็นผู้มีหลังคาอันเปิด
แล้ว อันเป็นเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยบทที่ 3. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า
มีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะอรรถว่า ทั้งเปิดแล้วทั้งไม่มีเครื่องมุง ท่านกล่าว
อธิบายว่า เว้นจากวัฏฏะ และเว้นจากเครื่องมุงบัง. ด้วยคำนั้น ย่อมเป็นอัน
กล่าวเหตุทั้ง 2 แห่งบทในเบื้องต้นทั้ง 2 อย่างนี้ว่า ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์
เพราะไม่มีวัฏฏะ ชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่มีเครื่องมุงบัง
(หลังคา). ก็ในข้อนั้น ความสำเร็จตอนต้น ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ 2
ความสำเร็จข้อที่ 2 ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ 1 ความสำเร็จข้อที่ 3 ย่อมมี
ด้วยเวสารัชญาณข้อที่ 3 และ 4. พึงทราบว่า ข้อที่ 1 ให้สำเร็จธรรมจักษุ
ข้อที่ 2 ให้สำเร็จพุทธจักษุ ข้อที่ 3 ให้สำเร็จสมันตจักษุดังนี้บ้าง. ด้วยคำว่า
ตฺวํ มนฺตานํ ปฏิคฺคเหตา นี้ ย่อมให้เกิดความกล้าแก่มาณพนั้น.
แม้อุตตรมาณพนั้น ปราศจากความเคลือบแคลงในลักษณะทั้งหลาย
ตามถ้อยคำของอาจารย์นั้น ตรวจดูพุทธมนต์อยู่ประดุจเกิดแสงเป็นอันเดียวกัน
จึงกล่าวว่า อย่างนั้นขอรับ ดังนี้ . เนื้อความแห่งคำนั้น ดังต่อไปนี้ ข้าแต่
อาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทำเหมือนอย่างท่านอาจารย์สั่งข้าพเจ้า. บทว่า
สมนฺเนสิ ความว่า ได้ตรวจดูแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ตรวจดูนับอยู่ว่า 1,2
ดังนี้ . คำว่า อทฺทสา โข ถามว่า ได้เห็นอย่างไร. ตอบว่า ก็ใคร ๆ ย่อมไม่อาจ
แสวงหาลักษณะแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประทับนั่ง หรือบรรทมได้ แต่เมื่อทรง
ประทับยืน หรือทรงจงกรมอยู่ จึงจะอาจ. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ครั้นเห็นผู้มาเพื่อจะตรวจดูลักษณะจึงทรงลุกจากอาสนะ. ประทับยืนบ้าง ทรง
อธิฏฐานจงกรมบ้าง. อุตตรมาณพได้เห็นแล้วซึ่งลักษณะแห่งพระองค์ผู้ทรงยัง
อิริยาบถอันสมควรแก่ที่จะเห็นลักษณะ เป็นไปอยู่ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เยภุยฺเยน คือ โดยมาก หมายความว่า ได้เห็นลักษณะมาก
มิได้เห็นน้อย. แต่นั้น มิได้เห็นลักษณะอันใด จึงกล่าวว่า ฐเปตฺวา เทฺว

เว้น 2 ลักษณะ เพื่อแสดงถึงลักษณะ 2 เหล่านั้น. บทว่า กงฺขติ ความว่า
อุตตรมาณพเกิดความปรารถนาขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ เราพึงเห็น (ลักษณะ
อีก 2 ประการ) . บทว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ซึ่งลักษณะ
เหล่านั้น จากลักษณะนั้น ๆ ย่อมลำบาก คือ ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้. บทว่า
นาธิมุจฺจติ ความว่า ย่อมไม่ถึงความตกลงใจ เพราะความสงสัยอื่นนั้น.
บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า แต่นั้นจึงไม่เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า พระองค์มีพระลักษณะสมบูรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวความ
สงสัยอย่างอ่อนด้วยความกังขา อย่างกลางด้วยความเคลือบแคลง อย่างแรงด้วย
ความไม่น้อมใจเชื่อ. เพราะยังไม่มีความเลื่อมใส จิตจึงมีความท้อแท้ ด้วยเหตุ
สามอย่างเหล่านั้น. บทว่า โกโสหิเต ได้แก่ อันฝักแห่งไส้ปิดแล้ว. บทว่า
วตฺถคุยฺเห ได้แก่ องคชาต. จริงอยู่ คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝักของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เสมอด้วยห้องปทุม มีสีดุจทอง ดุจคุยหฐานของช้าง. อุตตร-
มาณพนั้น เมื่อไม่เห็นพระคุยหฐานนั้น เพราะผ้าปิดไว้ และความเพียงพอ
แห่งพระชิวหาก็กำหนดไม่ได้ เพราะอยู่ในพระโอษฐ์ จึงมีความสงสัย เคลือบ
แคลงในลักษณะ 2 นั้น. คำว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราไม่แสดงลักษณะทั้ง 2
เหล่านี้แก่อุตตรมาณพนี้ มาณพนั้นก็จักไม่หมดความสงสัย เมื่อเขายังมีความ
สงสัยอยู่ แม้อาจารย์ของเขาก็จักไม่หมดความสงสัย ทีนั้นเขาจักไม่มาหาเรา
เมื่อไม่มาก็จักไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ก็จักมิได้กระทำให้แจ้งซึ่ง
สามัญญผล 3 แต่เมื่อมาณพนั้นหมดความสงสัยแล้ว ทั้งอาจารย์ของเขาก็หมด
ความสงสัยเข้ามาหาเราแล้ว ฟังธรรมแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งผล 3 ได้ อนึ่ง
เราบำเพ็ญบารมีมากเพื่อประโยชน์อย่างนี้ เราจักแสดงลักษณะเหล่านั้น แก่
อุตตรมาณพนั้นดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเห็น
ปานนั้น.

ทรงบันดาลมีรูปเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้ มีถ้อยคำที่บุคคลอื่นพึงกล่าว
ได้อย่างไร. คำนั้นพระนาคเสนเถระอันพระเจ้ามิลินท์ถามแล้ว วิสัชนาไว้แล้ว.
ราชา. พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำขนาด
ถึงสิ่งที่ทำได้ยาก.
นาค. ทรงทำอะไร มหาบพิตร.
ราชา. พระคุณเจ้า พระองค์ทรงแสดงโอกาสที่ทำให้คนส่วนใหญ่อับ
อายแก่นายอุตตระศิษย์พรหมายุพราหมณ์ แก่พวกพราหมณ์
16 คน ศิษย์ของพาวรี และแก่มาณพ 300 คน ศิษย์ของ
เสลพราหมณ์อีกเล่า.
นาค. มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระองคชาต
หรอก ทรงแสดงแต่เงา คือพระองค์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระฤทธิ์
แล้วทรงแสดงเพียงรูปเป็นเงาที่อยู่ในผ้านุ่ง รัดสายประคตไว้
แล้วห่มจีวรทับ .
ราชา. เมื่อเห็นเงา ก็ชื่อว่าเห็นพระองคชาต มิใช่หรือครับ .
นาค. ข้อนั้น ยกไว้ก่อนเถิด มหาบพิตร คนเราต้องดูหัวใจให้เห็น
แล้ว จึงจะตรัสรู้ได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะต้องทรงเอา
เนื้อหัวใจออกมาแสดงด้วยกระนั้นหรือ.
ราชา. พระนาคเสน ท่านเก่งครับ .
บทว่า นินฺนาเมตฺวา ได้แก่ ทรงยื่น (พระชิวหา) ออก. บทว่า
ทรงสอด ได้แก่ ทรงสอดเข้าทำเหมือนสอดเข็มเย็บผ้ากฐินฉะนั้น . ก็ในข้อ
นั้น พึงทราบว่าประกาศความอ่อนด้วยการกระทำอย่างนั้น ประกาศความยาว
ด้วยการสอดเข้าช่องพระกรรณ ประกาศความบางด้วยการสอดเข้าช่องพระนาสิก
ประกาศความใหญ่ด้วยการปิดพระนลาฏ. อนึ่ง ในคำว่า ช่องพระกรรณ

ทั้งสอง เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า มลทินก็ดี สะเก็ดก็ดี ในช่องพระ-
กรรณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี ย่อมเป็นเหมือนหลอดเงินที่เขาล้างแล้ว
วางไว้. ในช่องพระนาสิกก็เหมือนกัน. ก็แม้ช่องเหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือน
หลอดทองที่เขาทำการตระเตรียมไว้เป็นอันดีและเหมือนกับหลอดแก้วมณีฉะนั้น
เพราะฉะนั้น จึงทรงแลบพระชิวหาออกม้วนเข้าไปในที่สุดพระโอษฐ์ไปข้างบน
กระทำดุจเข็มเย็บผ้ากฐิน สอดเข้าสู่ช่องพระกรรณข้างขวา นำออกจากช่องขวานั้น
สอดเข้าทางช่องพระกรรณซ้าย. นำออกจากช่องพระกรรณซ้าย สอดเข้าช่อง
พระนาสิกขวา นำออกจากช่องพระนาสิกขวา สอดเข้าช่องพระนาสิกาซ้ายได้.
ครั้นนำออกจากช่องพระนาสิกซ้ายแล้ว เมื่อจะแสดงความใหญ่ จึงปิดมณฑล
พระนลาฏตลอดทั้งสิ้นด้วยพระชิวหาซึ่งเป็นเหมือนสายฟ้าอันรุ่งเรื่องด้วยผืนผ้า
กัมพลแดง ดุจพระจันทร์ครึ่งซีก ถูกเมฆวลาหกสีแดงปิดไว้กึ่งหนึ่ง และ
ประดุจแผ่นทองฉะนั้น.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ถามว่า เหตุไร อุตตรมาณพจึงคิด. ตอบว่า
อุตตรมาณพ คิดว่าก็เราตรวจดูมหาปุริสลักษณะแล้ว กลับไป หากอาจารย์
ถามว่า พ่ออุตตระ เจ้าเห็นมหาปุริสลักษณะแล้วหรือ ก็จักอาจบอกได้ว่า ขอรับ
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าอาจารย์จักถามเราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกิริยา
เป็นเช่นไร เราก็ไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ แต่เมื่อเราตอบว่า ไม่รู้ อาจารย์ก็
โกรธว่าเราส่งเจ้าไป เพื่อให้ตรวจดูให้รู้ลักษณะทั้งหมดนี้ มิใช่หรือ เหตุไร
ยังไม่รู้. แล้วจึงกลับมาเล่า ฉะนั้น จึงคิดว่า ทำไฉนหนอ แล้วติดตามไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาสในที่ที่เหลือทั้งหลาย เว้นฐานะ 4 เหล่านี้
คือ ที่สรงน้ำ ที่ชำระพระโอษฐ์ ที่ชำระขัดสีพระวรกาย ที่ทรงประทับนั่ง
แวดล้อมด้วยนางห้ามของพระราชและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น โดย
ที่สุดแม้ในพระคันธกุฎีแห่งเดียว.

เมื่อกาลล่วงไปผ่านไป ก็ปรากฏว่า ได้ยินว่า มาณพของพรหมายุ-
พราหมณ์ชื่ออุตตระนี้ เที่ยวใคร่ครวญความเป็นพระพุทธเจ้าของพระตถาคตว่า
เป็นพระพุทธเจ้า หรือมิได้เป็น มาณพอุตตระนี้ ชื่อว่าเป็นคนสอบสวน
พระพุทธเจ้า. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทับอยู่ในที่ใด ๆ ย่อมเป็นอันทรง
การทำกิจ 5 ประการทีเดียว กิจเหล่านั้น ได้แสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นเทียว.
ในบรรดากิจเหล่านั้น ในเวลาปัจฉาภัตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่
ธรรมาสน์ ที่เขาตกแต่งแล้วทรงจับพัดอันวิจิตรที่ขจิตด้วยงา แสดงธรรมแก่
มหาชนอยู่ แม้อุตตรมาณพ ก็นั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล. ในตอนสิ้นสุดการฟังธรรม
พวกคนผู้มีศรัทธา ก็นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยพระกระยาหาร อันจะ
มีในวันพรุ่งนี้ ก็เข้าไปหามาณพด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อ พวกเรานิมนต์พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตัวท่านก็จงมารับภัตรในเรือนของพวกเราพร้อมกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า. ในวันรุ่งขึ้น พระตถาคตเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จ
เข้าไปสู่บ้าน. แม้อุตตรมาณพก็ติดสอยห้อยตามไปสำรวจ ทุก ๆ ฝีก้าว. ใน
เวลาที่ตรงเข้าไปสู่เรือนแห่งตระกูล มาณพนั่งตรวจดูอยู่ทุกประการ ตั้งแต่
การถือเอาน้ำเพื่อทักษิณาเป็นต้นไป. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ ในเวลาพระตถาคต
เจ้าประทับนั่ง วางบาตรไว้ ณ เชิงบาตร พวกคนก็จัดแจงอาหารเช้าแก่มาณพ.
มาณพนั้น นั่งบริโภค ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง แล้วกลับมายืน ณ ที่ใกล้พระศาสดา
ฟังภัตตานุโมทนา กลับไปยังวิหารพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรอให้ภิกษุทั้งหลายเสร็จภัตตกิจ ประทับนั่ง
ณ ศาลาคันธมณฑลนั้น. ครั้นภิกษุทั้งหลายกระทำภัตตกิจเสร็จพากันเก็บบาตร
และจีวรมาไหว้ กราบทูลกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าคันธกุฎี. แม้
มาณพก็เข้าไปด้วยกัน กับพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน . พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ทรงสั่งสอนหมู่ภิกษุที่มาแวดล้อมแล้วให้แยก

ย้ายกันไปแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. มาณพก็เข้าไปด้วย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงประทับนั่งที่เตียงเล็ก ชั่วเวลาเล็กน้อย. แม้มาณพก็นั่งพิจารณาดูอยู่
ในที่ไม่ไกล. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งชั่วครู่หนึ่ง จึงทรงแสดงการก้ม
พระเศียร.(1) มาณพคิดว่า จักเป็นเวลาประทับพักผ่อนของพระโคดมผู้เจริญ
แล้วปิดประตูพระคันธกุฎี ออกไปนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. พวกคนถวายทาน
ในกาลก่อนแห่งภัตร บริโภคอาหารเข้าแล้ว สมาทานองค์อุโบสถ ห่มผ้าสะอาด
ถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น มาสู่วิหารด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เหมือนกับ
เป็นค่ายของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ชั่วครู่หนึ่ง ทรงลุกขึ้น ทรง
กำหนดโดยส่วนเบื้องต้น เข้าสมาบัติ. ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ทราบว่ามหาชน
พากันมา จึงทรงออกจากพระคันธกุฎี อันมหาชนแวดล้อมแล้ว เสด็จไปยัง
ศาลาคันธมณฑล ประทับบนพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาปูลาดไว้แล้ว ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัท. ฝ่ายมาณพนั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล กำหนดอักขระต่ออักขระ
บทต่อบท ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม แสดงธรรม ยกย่องหรือรุกรานบริษัท
ด้วยอำนาจอาศัยเรือนหรือ หรือว่าไม่ทรงแสดงอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ตรัสกถาอย่างนั้นเลย ทรงทราบกาล ทรงหยุดเทศนา. มาณพกำหนดอยู่
โดยทำนองนี้ เทียวไปแต่ผู้เดียวตลอด 7 เดือน มิได้เห็นความผิดพลาดแม้
มีประมาณน้อยในกายทวารเป็นต้นของพระผู้มีพระเจ้า. ก็ข้อนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์
ทีอุตตรมาณพเป็นมนุษย์มิได้เห็นความผิดพลาดของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์
ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เทพบุตรผู้เป็นมาร เป็นอมนุษย์ ก็มิได้เห็น แม้มาตร
ว่าตรึก (วิตก) อาศัยเรือนในสถานที่ทรงบำเพ็ญความเพียรถึง 6 ปี ยังติดตาม

1. ฉฺ สีโสกฺกมนํ สฺ สีโสกมฺปนํ

พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วถึงหนึ่งปี ก็มิได้เห็นความผิดพลาดไร ๆ จึง
กล่าวคาถามีอาทิว่า
เราติดตามรอยพระบาทพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ถึง 7 ปี ก็มิได้ประสบความ
ผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติ ดังนี้

แล้วหลีกไป. แต่นั้น มาณพจึงคิดว่า เราติดตามพระโคดมผู้เจริญอยู่ถึง 7
เดือน ก็มิได้เห็นโทษไร ๆ แต่ถ้าเราจะพึงติดตามไป แม้อีกสัก 7 เดือน หรือ
7 ปี หรือ 100 ปี หรือ 1,000 ปี ก็คงจะมิได้เห็นโทษของพระองค์ ก็
แต่ว่าอาจารย์ของเรานั้นก็แก่เฒ่า คงจะไม่อาจทราบความเกษมจากโยคะ เรา
จะบอกว่า พระสมณโคดมเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยพระคุณตามที่เป็นจริงทีเดียว
แล้วเล่าเรื่องแก่อาจารย์ของเรา ดังนี้ แล้วทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้
ภิกษุสงฆ์ออกไปแล้ว.
ก็แล อุตตรมาณพกลับไปยังสำนักของอาจารย์แล้ว ถูกอาจารย์ถามว่า
พ่ออุตตระ กิตติศัพท์ของพระโคดมผู้เจริญที่ขจรไปมีอยู่เช่นนั้นจริงหรือ จึง
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรจักรวาลคับแคบเกินไป ภวัคคพรหม
ก็ต่ำเกินไป หมู่คุณของพระโคดมผู้เจริญนั้น หาที่สุดมิได้ ประดุจอากาศ
ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ กิตติศัพท์ของพระโคดมผู้เจริญนั้น มีอยู่เช่นนั้น
แท้จริง ดังนี้ เป็นต้น จึงบอกมหาปุริสลักษณะ 32 ประการตามที่ตนเห็นแล้ว
โดยลำดับแล้ว เล่าถึงกิริยสมาจาร. เพราะฉะนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึง
กล่าวว่า ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ฯลฯ พระโคดมผู้เจริญ เป็นเช่นนี้ด้วย
เป็นเช่นนี้ด้วย และยิ่งกว่านั้น ดังนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปติฏฺฐิตปาโท ความว่า เหมือน
อย่างว่า บุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นวางเท้าไว้เหนือพื้นดิน ปลายเท้าก็ดี ส้นเท้า

ก็ดี ด้านข้างก็ดี จะถูกพื้นก่อน หรือว่า กลางเท้าเว้า เมื่อยกขึ้น ส่วนหนึ่ง
ที่ปลายเท้าเป็นต้น จะยกขึ้นก่อน แต่ของพระองค์มิได้เป็นอย่างนั้น. ฝ่าพระ-
บาททั้งสิ้นของพระองค์ จะถูกพื้นพร้อมกันทีเดียว ดุจพื้นลาดพระบาททอง
ฉะนั้น ยกจากพื้นก็พร้อมกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ
พระองค์นั้น มีพระบาทประดิษฐานอยู่เป็นอันดี.
ในข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนั้น มีข้อ
ที่น่าอัศจรรย์ดังต่อไปนี้ แม้หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทด้วย
ตั้งพระทัยว่า เราจักเหยียบเหวลึกถึงหลายร้อยชั่วคน ในทันใดนั้น ที่ที่ลุ่ม
ก็จะนูนขึ้นมาเสมอแผ่นดิน ประดุจเครื่องสูบของช่างทองเต็มด้วยลมฉะนั้น.
แม้ที่ตอนจะเข้าไปอยู่ภายใน เมื่อทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจัก
เหยียบในที่ไกล ภูเขาแม้มีประมาณเท่าสิเนรุบรรพต ก็จะน้อมมาใกล้พระบาท
ประดุจหน่อหวายที่ชุ่มน้ำแล้วฉะนั้น. จริงอย่างนั้น เมื่อคราวพระองค์ทรง
กระทำยมกปาฏิหาริย์ ทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า จักเหยียบภูเขายุคนธร
ภูเขาก็น้อมมาใกล้พระบาท. พระองค์ทรงเหยียบภูเขานั้น ทรงย่างพระบาท
เหยียมภพดาวดึงส์ด้วยพระบาทที่สอง. ที่พระจักรลักษณะจะพึงประดิษฐาน
ไม่เสมอกันมิได้มี. ตอก็ดี หนามก็ดี ก้อนกรวดกระเบื้องก็ดี อุจจาระปัสสาวะ
ก็ดี น้ำลายน้ำมูกเป็นต้น ก็ดี ที่มีอยู่ก่อนเทียว ก็หายไป หรือจมหายเข้า
แผ่นดินในที่นั้น ๆ. จริงอยู่ ด้วยเดชแห่งศีล ปัญญา ธรรม อานุภาพแห่ง
บารมี 10 ประการ ของพระตถาคตเจ้า มหาปฐพีนี้ย่อมเสมอ นุ่ม เกลื่อนกล่น
ด้วยบุปผชาติ. พระตถาคตเจ้าทรงทอดพระบาทเสมอ (และ) ทรงยกพระบาท
เท่ากัน ทรงสัมผัสแผ่นดินด้วยพื้นพระบาททุกส่วน.
บทว่า จกฺกานิ คือ ที่พระบาททั้ง 2 ได้มีลายจักรข้างละ 1 ลายจักร.
ท่านกล่าวไว้ในพระบาลีว่า ที่จักรนั้นมีกำ กง ดุม. ก็และด้วยบทว่า บริบูรณ์

ด้วยอาการทั้งปวง นี้พึงทราบความต่างกัน ดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า จักร
เหล่านั้น ย่อมปรากฏลายดุมตรงกลางพื้นพระบาท. ปรากฏลายเขียนวงกลม
รอบดุม. ที่ปากดุมก็ปรากฏวงกลม. ปรากฏเป็นปากช่อง. ปรากฏเป็นซี่กำ.
ปรากฏเป็นลวดลายกลมที่กำทั้งหลาย. ปรากฏเป็นกง. ปรากฏเป็นกงแก้ว . นี้
มาตามพระบาลีก่อนทีเดียว.
แต่วาระส่วนมากมิได้มาแล้ว. ก็วาระนั้น พึงทราบดังนี้. รูปหอก 1
รูปโคขวัญ 1 รูปแว่นส่องพระพักตร์ 1 รูปสังข์ทักษิณาวัฏฏ์ 1 รูปดอก
พุดซ้อน 1 รูปเทริด 1 รูปปลาทั้งคู่ 1 รูปเก้าอี้ 1 รูปปราสาท 1 รูป
เสาค่าย 1 รูปเศวตฉัตร 1 รูปพระขรรค์ 1 รูปพัดใบตาล 1 รูปพัด
หางนกยูง 1 รูปพัดหางนก 1 รูปกรอบพระพักตร์ 1 รูปธงชายผ้า 1 รูป
พวงดอกไม้ 1 รูปดอกบังเขียว 1 รูปดอกบัวขาว 1 รูปดอกบัว
แดง 1 รูปดอกบัวหลวง 1 รูปดอกบุณฑริก 1 รูปหม้อเต็มด้วยน้ำ 1
รูปถาดเต็มด้วยน้ำ 1 รูปสมุทร 1 รูปเขาจักรวาฬ 1 รูปป่าหิมพานต์ 1
1 รูปเขาสิเนรุ 1 รูปพระจันทร์ 1 รูปพระอาทิตย์ 1 รูปหมู่ดาว
นักษัตร 1 รูปมหาทวีปทั้งสี่ ทวีปน้อย 2 พัน
1. โดยที่สุดบริวาร
แห่งจักรลักษณะทั้งสิ้น หมายเอาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า มีพระส้นยาว คือ พระส้นยาว หมายความว่า มีพระส้น
บริบูรณ์. เหมือนอย่างว่าปลายเท้าของคนเหล่าอื่นยาว แข็งตั้งอยู่ ณ ที่สุด
ส้นเท้า ส้นย่อมปรากฏดุจถากตั้งไว้ แต่ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น .
สำหรับของพระตถาคตเจ้าใน 4 ส่วน เป็นปลายเท้าเสีย 2 ส่วน. แข้งตั้งอยู่
ส่วนที่สาม. ในส่วนที่ 4 ส้นเท้าเป็นเช่นกับลูกกลมทำด้วยผ้ากัมพลแดงดุจหมุน
ติดอยู่ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น.

บทว่า มีพระองคุลียาว ความว่า เหมือนอย่างว่า คนเหล่าอื่น
บางคนนิ้วยาว บางคนนิ้วสั้น ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น . ส่วนของ
พระตถาคตเจ้า นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวโคนหนาเรียวเล็กขึ้นไปโดย
ลำดับจนถึงปลาย ดุจนิ้ววานร เป็นดุจลำเทียนที่ขยำด้วยน้ำมันยางไม้ปั้นไว้.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระองคุลียาว.
บทว่า ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ได้แก่ชื่อว่า
มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม เพราะอรรถว่า อ่อนดุจปุยนุ่นที่เขายีถึง
100 ครั้ง จุ่มด้วยเนยใสวางไว้ และมีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่นอยู่เป็นนิจ
ดุจของเด็กแรกเกิด.
บทว่า ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย ได้แก่
ระหว่างนิ้วไม่ติดกับหนัง. ก็บุคคลเช่นนี้ มีมือดุจพังพานอันปุริสโทษขจัด
เสียแล้ว ย่อมไม่ได้แม้การบรรพชา. แต่ของพระตถาคตเจ้านิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4
นิ้วพระบาททั้ง 5 มีขนาดเป็นอันเดียวกัน. เพราะนิ้วเหล่านั้นมีขนาดเป็นอัน
เดียวกัน ลักษณะจึงเบียดซึ่งกันและกันตั้งอยู่. ก็พระหัตถ์และพระบาท
ของพระตถาคตเจ้านั้น เช่นกับตาข่ายบานประตูหน้าต่างที่ช่างไม้ผู้ฉลาดขึง
ประกอบไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท
เป็นลายตาข่าย.
ชื่อว่า ทรงมีพระบาทสูงนูน เพราะอรรถว่าพระบาทของพระองค์สูงนูน.
เพราะมีข้อพระบาทตั้งอยู่ในเบื้องบน. แท้จริง ข้อเท้าของตนเหล่าอื่นมีที่
หลังเท้า. เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่าอื่น กระด้างเหมือนตอกลิ่ม
ไม่หมุนได้ตามสะดวก. เมื่อเดินไปพื้นเท้าไม่ปรากฏ. แต่ของพระตถาคตเจ้า
ข้อพระบาทขึ้นอยู่เบื้องบน. เพราะฉะนั้น พระกายเบื้องบนของพระองค์ตั้งแต่
พระนาภีไป จึงไม่หวั่นไหวดุจสุวรรณปฏิมาที่อยู่บนเรือ พระกายเบื้องล่างเท่านั้น

ไหว. พระบาทย่อมหมุนไปสะดวก. เมื่อคนยืนดูที่ข้างหน้าก็ดี ข้างหลังก็ดี
ที่ข้างทั้งสองก็ดี พื้นเท้าย่อมปรากฏ. ไม่ปรากฏข้างหลังเหมือนของช้างฉะนั้น.
บทว่า ทรงมีพระสงฆ์เรียวดังแข็งเนื้อทราย คือมีพระชงฆ์เต็ม
เพราะความนูนของเนื้อชื่อว่ามีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย ไม่มีเนื้อเป็นก้อนติด
เป็นอันเดียวกัน. หมายความว่า ประกอบด้วยแข้งที่มีเนื้อได้ส่วนกันหุ้มแล้ว
กลมดีเช่นกับท้องข้าวสาลีฉะนั้น.
บทว่า อโนนมนฺโต คือไม่ค้อมลง. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความที่
พระองค์ไม่เป็นคนแตระไม่เป็นคนค่อม. คือ คนอื่น ๆ เป็นคนแคระก็มี เป็น
คนค่อมก็มี. กายข้างหน้าของคนแคระไม่บริบูรณ์. กายท่อนหลังของคนค่อม
ไม่บริบูรณ์. คนเหล่านั้นก้มลงไม่ได้ ไม่อาจจะลูบเข่าได้ เพราะกายไม่บริบูรณ์.
สำหรับพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าอาจลูบได้ เพราะมีพระกายทั้งสองแห่งบริบูรณ์.
ชื่อว่า ทรงมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก เพราะอรรถว่า คุยหฐานตั้ง
ลง คือปิดอยู่ในฝัก เช่นกับฝักปทุมทองและดอกกัณณิการ์ เหมือนคุยหฐาน
ของโคอุสภะและช้างเป็นต้น . บทว่า วตฺถคุยฺหํ ได้แก่ สิ่งที่จะพึงซ่อนเร้น
ด้วยผ้าท่านเรียกว่า องคชาต.
บทว่า ทรงมีพระฉวีวรรณดังทองคำ ความว่า เช่นกับรูปเปรียบ
ทองคำแท่งที่เขาระบายด้วยชาดแดง ขัดด้วยเขี้ยวเสือ ทำการระบายสีแดงวา
ไว้. ด้วยคำนี้ท่านพระสังคีติกาจารย์ แสดงความที่พระองค์มีสรีระละเอียดสนิท
เป็นแต่งแล้ว จึงกล่าวว่า ทรงมีผิวพรรณผ่องใสดุจทอง ก็เพื่อแสดงถึงพระ-
ฉวีวรรณ. อีกนัยหนึ่งคำนี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้น.
บทว่า รโชชลฺลํ ได้แก่ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า น อุปลิมฺปติ
ได้แก่ ไม่ติด ย่อมหายไปเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปจากใบบัว. ถึงกระนั้น พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงกระทำการล้างพระหัตถ์และล้างพระบาทเป็นต้น เพื่อ

รับไออุ่น และเพื่อผลบุญแก่ทายกทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ย่อมทรงกระทำโดย
เป็นกิจวัตรทีเดียว. ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้าสู่เสนาสนะจะต้องล้างเท้าแล้วจึง
เข้าไปท่านกล่าวไว้เช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุทฺธคฺคโลโม ความว่า ชื่อว่ามีพระโลมาปลายงอนขึ้น
เพราะอรรถว่า พระโลมาของพระองค์มีปลายตั้งขึ้นที่ปลายผมเป็นม้วนกลมตั้ง
อยู่ เหมือนจะมองดูความงามแห่งดวงหน้า.
บทว่า ทรงมีพระกายตรงดังพรหม ความว่า มีพระกายตรงดุจ
พรหม คือมีพระสรีระสูงขึ้นไปตรงทีเดียว. ธรรมดาสัตว์โดยมากจะน้อมลงใน
ที่ 3 แห่งคือ ที่คอ. ที่สะเอว. ที่เข่า. คนเหล่านั้น เมื่อน้อมไปที่สะเอว ก็จะ
เอนไปข้างหลัง ที่น้อมไปที่ที่ทั้งสองนอกนี้ก็จะเอนไปข้างหน้า. บางพวกมีร่าง
กายสูง มีสีข้างคด. บางพวกหน้าเชิดเที่ยวไป เหมือนคอยนับหมู่ดาวนักษัตร
อยู่ บางพวกมีเนื้อและเลือดน้อย ดุจหลาว เดินสั่นอยู่. แต่พระตถาคตเจ้า
ครั้งขึ้นไปส่งพอประมาณ เป็นเหมือนเสาค่ายทองที่เขายกขึ้น ณ เทพนคร
ฉะนั้น
บทว่า ทรงมีพระกายเต็มในที่ทั้ง 7 คือ พระตถาคตเจ้านั้นมี
พระมังสะเต็มในที่ 7 แห่งเหล่านี้คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง 2 หลังพระบาททั้ง 2
จงอยบ่าทั้ง 2 พระศอ 1 ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีพระกายเต็มในที่ 7 แห่ง. ส่วนของ
คนเหล่าอื่นปรากฏเส้นเอ็นเป็นร่างแหที่หลังมือหลังเท้า ที่จงอยบ่าและที่คอ
ตรงปลายเป็นกระดูก. คนเหล่านั้น ย่อมปรากฏดุจดังมนุษย์เปรต. พระตถาคต
เจ้าหาเป็นเช่นนั้นไม่. คือพระตถาคตเจ้าทรงมีพระศอเช่นกับเขาสัตว์ทอง ที่
ขัดด้วยหลังมือแล้ววางไว้ด้วยร่างแหเอ็นเป็นเครื่องปกปิด ชื่อว่าย่อมปรากฏ
เหมือนรูปศิลาและรูปจิตรกรรม เพราะมีพระมังสะเต็มในที่ 7 แห่ง.

ชื่อว่ามีพระกายเต็มดังกึ่งกายท่อนหน้าแห่งสีหะ เพราะกายของพระองค์
ดุจท่อนหน้าแห่งสีหะ. คือกายท่อนหน้าแห่งสีหะบริบูรณ์ กายท่อนหลังไม่
บริบูรณ์. ส่วนของพระตถาคตเจ้าพระกายทั้งหมดบริบูรณ์ดุจกายท่อนหน้าของ
สีหะ. แม้พระกายนั้นใช่ว่าจะตั้งอยู่ไม่ดีไม่งาม เพราะโอนไปเอนไปเป็นต้น
ในที่นั้น ๆ ดุจของสีหะหามิได้. แต่ยาวในที่ที่ควรยาว. ในที่ที่ควรสั้น ควร
หนา ควรกลม ก็เป็นเช่นนั้นเทียว.
สมดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อผลของกรรมเป็นที่ชอบใจ
ปรากฏแล้ว ย่อมงามด้วยอวัยวะยาวเหล่าใด อวัยวะเหล่านั้นยาวก็ดำรงอยู่
ย่อมงามด้วยอวัยวะสั้นเหล่าใด อวัยวะสั้นเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะ
หนาเหล่าใด อวัยวะหนาเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะบางเหล่าใด
อวัยวะบางเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะกลมเหล่าใด อวัยวะกลมเหล่า
นั้นก็ดำรงอยู่ อัตตภาพของพระตถาคตเจ้า ความวิจิตรต่าง ๆ สั่งสมแล้ว ด้วย
ความวิจิตรแห่งบุญ อันบารมี 10 ตกแต่งแล้วด้วยประการฉะนี้ ช่างศิลป์ทั้ง
ปวง หรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ก็ไม่อาจกระทำแม้รูปเปรียบแก่พระตถาคตเจ้า
ได้ดังนี้
บทว่า จิตนฺตรํโส ความว่า ระหว่าสี่ข้างทั้งสอง ท่านเรียกว่ามีสี่ข้าง.
สีข้างนั้นของพระองค์งดงาม คือ บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า
จิตนฺรํโส แปลว่า มีพระปฤษฎางค์เต็ม. ส่วนสี่ข้างของคนอื่นนั้นต่ำ.
สีข้างด้านหลังทั้งสองย่อมปรากฏแยกกัน . ส่วนของพระตถาคตเจ้าชั้นเนื้อตั้งแต่
สะเอวถึงพระศอขึ้นปิดหลังตั้งอยู่ ดุจแผ่นทองที่เขายกขึ้นไว้สูง.
บทว่า ทรงมีปริมณฑลดังต้นไทรย้อย ความว่า ทรงมีปริมณฑล
ดุจต้นไทรย้อย ต้นไทรย้อยมีลำต้นและกิ่งเท่ากัน 50 ศอก บ้าง 100 ศอกบ้าง
มีประมาณเท่ากันทั้งโดยยาว ทั้งโดยกว้างฉันใด มีประมาณเท่ากันทั้งทางพระกาย

บ้าง ทางวาบ้าง ฉันนั้น. ของคนเหล่าอื่น ทั้งกายทั้งวามีประมาณยาวไม่เท่า
กันอย่างนั้น. เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ยาวตกฺวสฺส กาโย ดังนี้
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตกฺวสฺส ตัดเป็น ยาวตโก อสฺส
(ของพระองค์เท่าใด).
บทว่า ทรงมีระศอกลมเสมอกัน คือมีพระศอกลมเสมอกัน. คน
บางพวกมีคอยาว มีคอคดและมีคอหนา เหมือนนกกะเรียน เหมือนนกยาง
ในเวลาพูดเส้นเอ็นบนศีรษะย่อมปรากฏ เสียงออกมาค่อย. ของพระตถาคตเจ้า
นั้นไม่เป็นอย่างนั้น คือของพระตถาคตเจ้ามีพระศอเช่นกับเขาสัตว์ทอง กลมดี.
ในเวลาตรัสเส้นเอ็นไม่ปรากฏ. มีเสียงดังดุจฟ้าร้อง ฉะนั้น .
บทว่า รสตฺตสคฺคี ความว่า ชื่อว่า รสติตสา เพราะอรรถว่า
ประสาทรับรสเลิศ. คำนั้นเป็นชื่อของประสาทเครื่องรับรสอาหาร. ชื่อว่า
รสตฺตสคฺคี เพราะอรรถว่า ประสาทเหล่านั้นของพระองค์เป็นเลิศ. ก็ประสาท
สำหรับรับรสอาหาร 7,000 ของพระตถาคตเจ้ามีปลายตั้งขึ้นต่อที่คอนั่นเอง
อาหารแม้มีประมาณเท่าเมล็ดงาวางบนปลายลิ้น ย่อมแผ่ไปทั่วพระกายทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อพระองค์ทรงตั้งความเพียรใหญ่ ทรงยังพระกายให้
เป็นไปแม้ด้วยข้าวสารเมล็ดหนึ่งเป็นต้นบ้าง ด้วยอาหารมีประมาณฟายมือ
หนึ่งแห่งยางถั่วดำบ้าง. แม้ด้วยอาหารมีประมาณฟายมือหนึ่งแห่งยางถั่วดำ
แต่ของตนเหล่าอื่น โอชาไม่แผ่ไปตลอดกายทั้งสิ้น เพราะไม่มีเช่นนั้น.
เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงมีโรคมาก. ลักษณะนี้ย่อมปรากฏด้วยอำนาจ
แห่งผลที่ไหลออก กล่าวคือความมีอาพาธน้อย.
ชื่อว่า ทรงมีพระหนุดังคางราชสีห์ เพราะอรรถว่า คางของ
พระองค์ดุจคางแห่งสีหะ. ในบทนั้น คางล่างของราชสีห์ ย่อมเต็ม คางบน
ไม่เต็ม. ส่วนของพระตถาคตเจ้า ย่อมเต็มทั้ง 2 ข้างดุจคางล่างของราชสีห์
ย่อมเป็นเช่นกับพระจันทร์แห่งปักษ์ ดิถีที่ 12 ค่ำ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีพระทนต์ 40 ซี่ เป็นต้น ชื่อว่า ทรง
มีพระทนต์ 40 ซี่ เพราะอรรถว่า มี 20 ซี่ที่อยู่พระหนุข้างบน 20 ซี่ที่พระหนุ
ด้านล่าง. คือ ของคนเหล่าอื่นแม้มีฟันเต็มก็มีฟัน 32 ซี่. ส่วนของพระ-
ตถาคตเจ้ามี 40 ซี่.
ของคนเหล่าอื่น มีฟันไม่เสมอกันคือ บางพวกมีฟันยาว บางพวกมี
ฟันสั้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้า เสมอกันดุจตัวสังข์ที่เขาขัดไว้เป็นอันดี1
ของคนเหล่าอื่น ฟันจะห่างเหมือนฟันจรเข้ เมื่อกินปลาและเนื้อ
เป็นต้นจะเต็มซอกฟัน. ส่วนของพระตถาคตเจ้าจะมีฟันไม่ห่าง ดุจแถวเพชร
ที่เรียงไว้ดีที่แผ่นลายกนก เหมือนกำหนดที่แสดงด้วยแปรง.
ส่วนฟันของคนเหล่าอื่น ฟันผุตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น บางคนเขี้ยวดำบ้าง
มีสีต่าง ๆ บ้าง. ส่วนพระตถาคตเจ้ามีพระเขี้ยวขาวสนิท พระเขี้ยวประกอบ
ด้วยแสงสุก ล่วงพ้นแม้ดาวประจำรุ่ง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุสุกฺก-
ทาโฐ
ทรงมีพระเขี้ยวอันขาวงาม.
บทว่า ปหุตชิวฺโห ความว่า ลิ้นของคนเหล่าอื่น หนาบ้าง บางบ้าง
สั้นบ้าง ไม่เสมอบ้าง. ส่วนของพระตถาคตเจ้าอ่อน ยาว ใหญ่ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ. พระองค์ม้วนพระชิวหานั้นเหมือนเข็มกฐินสอดช่องนาสิกทั้งสองได้
เพราะเป็นชิวหาอ่อนเพื่อบรรเทาความสงสัยของผู้มาตรวจดูลักษณะนั้น . จะ
สอดช่องพระกรรณทั้งสองได้ เพราะพระชิวหายาว. จะปิดพระนลาฏแม้ทั้งสิ้น
อันมีชายพระเกศาเป็นที่สุดได้ เพราะพระชิวหาใหญ่. เมื่อประกาศว่า พระ-
ชิวหานั้นอ่อน ยาวและใหญ่ ย่อมบรรเทาความสงสัยได้ ด้วยประการฉะนี้.
ท่านพระสังคีติกาจารย์อาศัยชิวหาที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะสามประการฉะนี้ จึง
กล่าวว่า ปหุตชิวฺโห ดังนี้.

1. ฉ. อยมฏฺฏฉินฺนสงฺขปลํ

บทว่า พฺรหฺมสฺสโร ความว่า คนเหล่าอื่นมีเสียงขาดบ้าง มีเสียง
แตกบ้าง มีเสียงดุจกาบ้าง. ส่วนพระตถาคตเจ้า ทรงประกอบด้วยเสียงเช่น
กับเสียงมหาพรหม. คือเสียงของมหาพรหม ชื่อว่า แจ่มใส เพราะไม่ถูกดี
และเสมหะพัวพัน. กรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงบำเพ็ญย่อมยิ่งวัตถุแห่งเสียงนั้น
ให้บริสุทธิ์. เสียงที่ตั้งขึ้น ตั้งแต่พระนาภี ย่อมแจ่มใส ประกอบด้วยองค์ 8
ตั้งขึ้น เพราะวัตถุบริสุทธิ์. ชื่อว่าทรงมีพระดำรัสดังเสียงนกการเวก เพราะ
ตรัสดุจนกการเวก. หมายความว่ามีพระสุรเสียงไพเราะดุจนกการเวกร้องอย่าง
เมามัน.
ในข้อนั้น การเปล่งเสียงร้องของนกการเวกเป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า
เมื่อนกการเวกจิกมะม่วงสุกอันมีรสหวานอร่อยด้วยจงอยปาก ลิ้มรสที่ไหลออก
แล้วให้จังหวะด้วยปีกกู้ก้องอยู่ สัตว์จตุบาทเป็นต้นย่อมเหมือนเคลิบเคลิ้มเริ่ม
งงงวย. สัตว์จตุบาทแม้ที่ขวนขวายหาอาหารก็ทิ้งหญ้าที่อยู่ในปากเสียฟังเสียงนก
นั้น. แม้พวกมฤค กำลังติดตามเนื้อน้อย ๆ อยู่ก็ไม่ย่างเท้าที่ยกขึ้นแล้วหยุดอยู่.
แม้เนื้อที่ถูกติดตามก็เลิกกลัวตายหยุดอยู่. แม้นกที่บินไปในอากาศก็ห่อปีก
หยุดบิน. ปลาในน้ำก็ไม่โบกครีบ ฟังแต่เสียงนั้นหยุดอยู่. นกการเวกร้อง
ไพเราะด้วยประการฉะนี้.
แม้พระเทวีของพระเจ้าธรรมาโศก พระนามว่า อสันธิมิตตา ถาม
พระสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ เสียงของใคร เหมือนกับพระสุรเสียงของพระ-
พุทธเจ้ามีบ้างหรือ.
พระสงฆ์. มีเสียงนกการเวก.
พระนาง. ท่านผู้เจริญ นกเหล่านั้นอยู่ที่ไหน.
พระสงฆ์. อยู่ที่ป่าหิมพานต์.

พระนางนั้นกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันใคร่จะ
เห็นนกการเวก. พระราชาทรงเปิดกรงทองตรัสว่า ขอนกการเวกจงมาจับอยู่
ที่กรงนี้. กรงจึงไปอยู่ข้างหน้านกการเวกตัวหนึ่ง. นกนั้นคิดว่า กรงมาตาม
พระราชโองการ ไม่อาจเพื่อจะไม่ไป จึงจับอยู่ที่กรงนั้น. กรงจึงมาอยู่ตรง
พระพักตร์ของพระราชา. แต่ใคร ๆ ก็ไม่อาจให้นกการเวกส่งเสียงได้. ลำดับนั้น
พระราชาตรัสว่า พนาย นกพวกนี้จะส่งเสียงร้องได้อย่างไร. อำมาตย์ทูลว่า
ขอเดชะ นกพวกนี้ เห็นพวกญาติแล้วจะส่งเสียงร้องได้. ทีนั้น พระราชาจึง
ทรงรับสั่งให้วงล้อมด้วยกระจก. นกนั้นครั้นเห็นเงาของตนเอง สำคัญว่าญาติ
ของเรามาแล้ว จึงให้จังหวะด้วยปีก ร้องด้วยเสียงอันไพเราะดุจคนเป่าปี่แก้ว
ฉะนั้น. พวกมนุษย์ในพระนครทั้งสิ้นงวยงงแล้วเหมือนคนเมา. พระนาง
อสันธิมิตตา คิดว่า สัตว์ดิรัจฉานนี้ยังมีเสียงไพเราะ เช่นนี้ก่อน เสียงของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ถึงสิริแห่งสัพพัญญุตญาณ จะไพเราะเพียงไหนหนอ
จึงเกิดปีติไม่ละปีตินั้น ทรงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนางสนม 700.
เสียงของนกการเวกไพเราะด้วยประการฉะนี้. พระสุรเสียงของพระตถาคตเจ้า
ยังไพเราะกว่านั้นถึงร้อยเท่า พันเท่า. แต่เพราะไม่มีเสียงไพเราะอย่างอื่นจาก
นกการเวกในโลก ท่านจึงกล่าวว่า กรวิกภาณี ดังนี้.
บทว่า ทรงมีดวงพระเนตรดำสนิท ความว่า มิใช่มีดวงพระเนตร
ดำทั้งสิ้นเทียว. แต่ดวงพระเนตรของพระองค์ประกอบด้วยสีดำในที่ที่ควรดำ
บริสุทธิ์ยิ่งดุจดอกผักตบ. ประกอบด้วยสีเหลืองเช่นกับดอกกรรณิกา ในที่ที่
ควรเหลือง. ประกอบด้วยสีแดง เช่นกับดอกชบาในที่ที่ควรแดง. ประกอบ
ด้วยสีขาว เช่นกับดาวประกายพรึก ในที่ที่ควรขาว. ประกอบด้วยสีดำ
เช่นกับเมล็ดประคำดีควายในที่ที่ควรดำ ย่อมปรากฏเช่นกับสีหบัญชรแก้วที่ยก
ขึ้นห้อยไว้ ณ วิมานทอง.

บทว่า ปขุมํ ในคำว่า โคปขุโม นี้ท่านประสงค์เอาดวงพระเนตร
ทั้งหมด. ดวงพระเนตรนั้นมีธาตุหนาของลูกโคดำ ใสแจ๋วคล้ายดวงตาของ
ลูกโคแดง หมายความว่า มีดวงพระเนตรเหมือนลูกโคแดงที่เกิดชั่วครู่นั้น.
ก็ดวงตาของคนเหล่าอื่นไม่เต็ม ประกอบด้วยนัยน์ตา เฉออกไปบ้าง ลึกไปบ้าง
เช่นเดียวกับนัยน์ตาของช้าง หนูและกาเป็นต้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้ามี
พระเนตรที่อ่อนดำสนิท สุขุมตั้งอยู่ดุจคู่แก้วมณีที่เขาล้างขัดไว้ฉะนั้น.
บทว่า อุณฺณา ได้แก่พระอุณณาโลม (ขนขาว). บทว่า ภมุกนฺตเร
ความว่า พระอุณณาโลมเกิดเหมือนาสิกตรงกลางคิ้วทั้งสองนั่นเทียว แต่เกิดที่
กลางพระนลาฏสูงขึ้นไป. บทว่า โอทาตา ได้แก่บริสุทธิ์ มีสีดุจดาวประจำรุ่ง.
บทว่า มุทุ ความว่า เช่นกับปุยฝ่ายที่เขาจุ่มในเนยใส แล้วสลัดถึงร้อยครั้ง
ตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา ความว่า เสนอด้วยปุยดอกงิ้วและปุยลดา. นี้เป็น
ข้ออุปมาของความที่พระอุณณาโลมนั้นมีสีขาว. ก็พระอุณณาโลมนั้น เมื่อจับ
ที่ปลายดึงมา จะมีประมาณเท่ากึ่งแขน. ปล่อยไปแล้ว จะขดกลมมีปลายสูง
ขึ้นอยู่ โดยเป็นทักษิณาวัฏ. ย่อมรุ่งเรื่องด้วยศิริอันขึ้นใจยิ่ง เหมือนกับฟองเงิน
ที่เขาวางไว้ตรงกลางแผ่นทอง เหมือนสายน้ำนมที่ไหลออกจากหม้อทอง และ
เหมือนดาวประจำรุ่ง (ดาวพระศุกร์) ในท้องฟ้า อันรุ่งเรืองด้วยแสงอรุณฉะนั้น .
คำว่า อุณฺหิสสีโส นี้ ท่านกล่าวอาศัยอำนาจประโยชน์ 2 ประการ
คือ มีพระนลาฏเต็ม 1 มีพระเศียรเต็ม 1. คือชั้นพระมังสะตั้งขึ้น ตั้งแต่หนวก
พระกรรณเบื้องขวาไปปิดพระนลาฎทั้งสิ้น เต็มไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย
อยู่ รุ่งเรื่องดุจแผ่นกรอบพระพักตร์ ที่พระราชาทรงสวมไว้ ได้ยินว่า
นักปราชญ์ทราบลักษณะนี้ของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ จึงได้กระทำแผ่น
พระอุณหิสถวายพระราชา. อรรถข้อหนึ่งเท่านี้ก่อน. ส่วนคนเหล่าอื่นมีศีรษะ
ไม่เต็ม. บางคนมีศีรษะดุจหัวลิง บางคนมีศีรษะดุจผลไม้ บางคนมีศีรษะดุจ

กระดูก บางคนมีศีรษะดุจทนาน บางคนมีศีรษะงุ้ม ส่วนของพระตถาคคมี
พระเศียรเช่นกับฟองน้ำเต็มดี ดุจวนด้วยปลายเหล็กแหลมไว้. ชื่อว่ามีพระเศียร
กลมดังประดับด้วยกรอบพระพักตร์ เพราะอรรถว่า ส่วนแห่งพระเศียรโพกด้วย
แผ่นอุณหิสโดยนัยก่อนในพระสูตรนั้น. ชื่อว่ามีพระเศียรกลมดังประดับด้วย
กรอบพระพักตร์ เพราะอรรถว่า มีพระเศียรเป็นปริมณฑล ในทีทุกส่วนดุจ
กรอบพระพักตร์ ตามนัยที่สอง.
ก็มหาปุริสลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นอันท่านแสดงส่วนทั้ง 4 เหล่านี้
คือ กรรม 1 ผลอันบุคคลพึงเห็นเสมอด้วยกรรม 1 ลักษณะ 1 อานิสงส์แห่ง
ลักษณะ 1 ในลักษณะแต่ละอย่าง ๆ ท่านยกมากล่าวแสดงไว้เป็นอันกล่าวไว้
ดีแล้ว. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงแสดงกรรมเป็นต้นเหล่านี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในลักขณสูตรแล้วกล่าวเถิด. เมื่อไม่อาจวินิจฉัยด้วยสามารถแห่งพระสตรี
ก็พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งพระสูตรนั่นเทียว ในอรรถกถา
ฑีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินี เทอญ.
บทว่า อิเมหิ โข โส โภ ภวํ โคตโม ความว่า อุตตรมาณพกล่าว
คำเป็นต้นว่า คจฺฉนฺโต โข ปน ดังนี้ เพื่อจะแสดงแม้เนื้อความนี้แล้ว
บอกถึงพระกิริยาและพระอาจาระว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ พระโคดม
ผู้เจริญพระองค์นั้น ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
เหล่านี้ ทรงเที่ยวไป ประหนึ่งเสาค่ายทองอันวิจิตรด้วยแก้ว ที่บุคคลยกขึ้น
ในเทพนคร ประดุจต้นปาริฉัตรมีดอกบานสะพรั่งสูงถึง 100 โยชน์ ประดุจ
ต้นสาละมีดอกบานเต็มในระหว่างภูเขา ดุจพื้นท้องฟ้าที่เรียงรายไปด้วยหมู่ดาว
ประดุจทำโลกให้สว่างอยู่ด้วยศิริสมบัติของพระองค์ฉะนั้น .

บทว่า ทกฺขิเณน ความว่า ก็เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับยืน
ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี เมื่อจะทรงพระดำเนิน ทรงก้าวพระบาท
เบื้องขวาก่อน. ได้ยินว่า นี้เป็นพระปาฏิหาริย์โดย 7 ส่วน. บทว่า นาติทูเร
ปาทํ อุทฺธรติ
ความว่า ทรงยกพระบาทเบื้องขวานั้น ทรงพระดำริว่า จะไม่
ทรงวางพระบาทให้ไกลนัก. คือทรงยกพระบาทขวาไกลนัก พระบาทซ้ายจะ
ถูกลากไป แม้พระบาทเบื้องขวา ก็ไปไกลไม่ได้ จะพึงวางอยู่ชิด ๆ กันทีเดียว
เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นการจำกัดก้าวไป. แต่เมื่อย่างพระบาทเบื้อง
ขวาพอประมาณ แม้พระบาทเบื้องซ้าย ก็ย่อมยกขึ้นพอประมาณดุจกัน . เมื่อ
ยกพอประมาณ แม้ทรงวาง ก็วางได้พอประมาณเหมือนกัน. ด้วยการทรง
พระดำเนินอย่างนี้ หน้าที่ของพระบาทเบื้องขวาของพระตถาคตเจ้า ก็ย่อมเป็น
อันกำหนดแล้วด้วยพระบาทเบื้องซ้าย หน้าที่ของพระบาทเบื้องซ้ายก็เป็นอัน
กำหนดแล้วด้วยพระบาทเบื้องขวา บัณฑิตพึงทราบด้วยประการฉะนี้.
บทว่า นาติสีฆํ ความว่า ไม่ทรงพระดำเนินเร็วเกินไปเหมือนภิกษุ
เดินไปเพื่อรับภัตรในวิหาร เมือเวลาจวนแจแล้ว.1 บทว่า นาติสนิกํ ความ
ว่า ไม่ทรงพระดำเนินช้านัก เหมือนอย่างภิกษุที่มาภายหลังย่อมไม่ได้โอกาส
ฉะนั้น. คำว่า อทฺธเวน อทฺธวํ คือ พระชันนุกระทบกับพระชันนุ เข่ากับ เข่า
กระทบกัน.
บทว่า น สตฺถึ ความว่า ทรงยกพระอูรุสูงขึ้นเหมือนเดินไปในน้ำ
ลึก. บทว่า น โอนาเมติ ความว่า ไม่ทรงทอดพระอูรุไปข้างหลัง เหมือน
การทอดเท้าไปข้างหลังของคนตัดกิ่งไม้. บทว่า ไม่ทรงเอนไป คือ ไม่ทรง
ทำให้ติดกัน เหมือนย่ำเท้ากับที่ซึ่งเปียกแล้ว. บทว่า ไม่ทรงโคลงไป คือ

1. ฎีกา อุปกฏฺฐาย เวลาย

ไม่ทรงโยกโย้ไปมาเหมือนชักหุ่นยนต์. บทว่า อารทฺธกาโยว1 ความว่า พระ-
กายด้านล่างเท่านั้นไม่โยกไป. พระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว เหมือนรูป
ทองที่เขาวางไว้ในเรือ. ก็เมื่อบุคคลยืนแลดูอยู่ในที่ไกลจะไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายประทับยืน หรือทรงพระดำเนิน. บทว่า กายพเลน ความว่า ไม่
ทรงเหวี่ยงพระพาหา เสด็จพระดำเนินไปด้วยกำลังกายทั้งที่มีพระเสโทไหล
ออกจากพระสรีระ. บทว่า สพฺพกาเยน วา ความว่า ไม่หันพระศอเหลียว
หลังดู ด้วยสามารถแห่งการเหลียวดูดุจพระยาช้าง ดังที่กล่าวไว้ในราหุโลวาท
สูตร นั่นแล.
ในคำว่า น อุทฺธํ เป็นต้น คือไม่ทรงแหงนดูเบื้องบน ดุจกำลังนับ
ดาวนักษัตรอยู่ ไม่ทรงก้มดูเบื้องต่ำ ดุจกำลังแสวงหากากณิก หรือมาสก2
ที่หาย ไม่ทรงส่ายไปข้างโน้นข้างนี้ เหมือนกำลังมองดูช้างและม้าเป็นต้น.
บทว่า ยุคมตฺตํ ความว่า เมื่อทรงพระดำเนินทอดพระจักษุประมาณเก้าคืบ
ชื่อว่า ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระ
ดำเนินทอดพระเนตรมีประมาณเท่านี้ ดุจสัตว์อาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ที่เขาเทียม
แอกไว้ฉะนั้น. บทว่า ตโต จสฺส อุตฺตรึ ความว่า แต่ไม่ควรกล่าวว่าไม่ทรง
ดูเลยชั่วแอกไป. เพราะฝาก็ดี บานประตูก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ย่อมไม่
อาจกั้นไว้ได้. พันแห่งจักรวาลมิใช่น้อย ย่อมมีเนินเป็นอันเดียวกันทีเดียวแก่
พระองค์ผู้เป็นอนาวรณญาณนั้นโดยแท้แล. บทว่า อนฺตรฆรํ พึงทราบตั้งแต่
เสาเขื่อนไป ชื่อว่า ละแวกบ้าน ในมหาสกุลุทายิสูตรในหนหลัง แต่ในที่นี้พึง
ทราบว่าดังแต่ธรณีประตูบ้านไป ชื่อว่าละแวกบ้าน. บทว่า น กายํ เป็นต้น
ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า ย่อมทรงเข้าไปโดยอิริยาบถตามปกตินั่นเอง. ก็แม้เมื่อ
พระตถาคตเจ้าทรงเสด็จเข้าบ้านที่เตี้ยของพวกคนจน หลังคาย่อมสูงขึ้นบ้าง
แผ่นดินย่อมทรุดลงบ้าง. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระดำเนินไปโดยพระ

1. ฉ. อธรกาโย วา 2. เงินเท่ากากณิกหนึ่ง หรือมาสกหนึ่ง.

ดำเนินตามปกตินั่นเอง. บทว่า นาติทูเร ความว่า ก็ในที่ไกลเกินไป ก็ทรง
กลับถอยหลังก้าวหนึ่งหรือสองก้าวแล้วจึงค่อยประทับนั่งลง. ในที่ใกล้เกินไป
ก็ทรงก้าวเสด็จไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง สองก้าว แล้วค่อยประทับนั่งลง. เพราะ
ฉะนั้น เมื่อประทับยืนที่ย่างพระบาทใด เสด็จทรงถอยข้างหน้าหรือมาข้างหลัง
แล้ว จึงจะประทับนั่งได้ ก็จะทรงเปลี่ยนที่ย่างพระบาทนั้น.
บทว่า ปาณินา ความว่า ไม่ทรงเอาพระหัตถ์จับอาสนะมาประทับนั่ง
เหมือนคนป่วย เพราะโรคลม. บทว่า ปกฺขิปติ ความว่า บุคคลใดกระทำ
การงานอะไร ๆ เหน็ดเหนื่อยจนล้มไปทั้งยืน แม้บุคคลใดนั่งพิงอวัยวะด้านหน้า
เอนกายไปจนถึงอวัยวะด้านหลัง หรือนั่งพิงอวัยวะด้านหลังเอนกายอย่างนั้น
จนถึงอวัยวะด้านหน้า ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า พิงกายที่อาสนะ. ส่วนพระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำอย่างนั้น ประทับนั่งค่อย ๆ ดุจป้องกันของที่ห้อยอยู่ตรง
กลางอาสนะ ดุจวางปุยนุ่นไว้ฉะนั้น. บทว่า หตฺถกุกฺกุจฺจํ ความว่า กระทำ
การเช็ดหยดน้ำที่ขอบปากบาตร คือ กระทำการที่ไม่ได้ระวัง โบกแมลงวัน
และใช้มือแคะเขี่ยหูเป็นต้น. บทว่า ปาทกุกฺกุจฺจํ คือ การไม่ระวังเท้า เช่น
เอาเท้าถูพื้นเป็นต้น.
บทว่า น ฉมฺภติ แปลว่า ไม่กลัว. บทว่า น กมฺปติ แปลว่า
ไม่จมลง. บทว่า น เวธติ คือ ไม่หวั่นไหว. บทว่า น ปริตสฺสติ แปลว่า
ไม่สะดุ้ง ด้วยความสะดุ้งเพราะกลัวบ้าง ด้วยการสะดุ้งเพราะทะยานอยากบ้าง.
คือภิกษุบางรูปย่อมสะดุ้ง ด้วยความสะดุ้งเพราะกลัวว่า เมื่อพวกคนมาเพื่อ
ประโยชน์ธรรมกถาเป็นต้น ไหว้แล้วยืนอยู่ เราจักอาจเพื่อยึดใจของคนเหล่า
นั้น กล่าวธรรมหรือหนอ เมื่อถูกถามปัญหาแล้วจักอาจวิสัชนาได้ หรือจัก
อาจกระทำอนุโมทนาได้หรือ. ภิกษุบางรูปก็คิดว่าข้าวยาคูที่ชอบใจจะมาถึงเรา
หรือหนอ หรือว่าของเคี้ยวชนิดของว่างที่ชอบใจจะมาถึงเรา และก็สะดุ้งด้วย

ความสะดุ้งเพราะตัณหา. เพราะความสะดุ้ง 2 อย่างนั้นของพระโคดมผู้เจริญ
นั้นไม่มี เพราะฉะนั้น พระโคดมผู้เจริญจึงไม่ทรงสะดุ้ง. บทว่า วิเวกวตฺโต
ความว่า เป็นผู้มีใจเวียนมาในวิเวกคือ พระนิพพาน ปาฐะว่า วิเวกวตฺโต
ดังนี้ ก็มี. ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวัตร คือความสงัด. การเรียนมูล
กัมมัฏฐานแล้วนั่งคู้บัลลังก์ ในที่พักในเวลากลางวันของภิกษุผู้กระทำภัตกิจแล้ว
ด้วยสามารถแห่งสมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า วิเวกวัตร. เพราะอิริยาบถของ
ภิกษุผู้นั่งอย่างนี้ย่อมเข้าไปสงบระงับ.
ในบทว่า น ปตฺตํ อุนฺนาเมติ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า บางรูปย่อม
ชูบาตรขึ้นเหมือนรองน้ำจากขอบปากบาตร บางรูปลดบาตรลงเหมือนวางไว้ที่
หลังเท้า. บางรูปย่อมรับทำให้เนื่องกัน. บางรูปแกว่งไปทางโน้นทางนี้. ความ
ว่า ไม่กระทำอย่างนั้น รับด้วยมือทั้งสองน้อมไปนิดหน่อยรับน้ำ. บทว่า
น สมฺปริวตฺตกํ ความว่า ไม่หมุนบาตร ล้างหลังบาตรก่อน. บทว่า
นาติทูเร ความว่า ไม่เทน้ำล้างบาตร ให้ตกไปไกลจากอาสนะที่นั่ง. บทว่า
น อจฺจาสนฺเน ความว่า ไม่ทิ้งในที่ใกล้เท้านั่งเอง. บทว่า วิจฺฉฑฺฑิยมาโน
ความว่า กระเซ็นไป คือไม่เทโดยอาการที่ผู้รับจะเปียก.
บทว่า นาติโถกํ ความว่า ไม่รับเหมือนคนบางคนเป็นผู้มีความ
ปรารถนาลามก แสดงว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยรับเพียงพอกับข้าวกำมือ
เดียวเท่านั้น. บทว่า อติพหุํ คือ รับมากเกินไปกว่าที่จะยังอัตตภาพให้เป็น
ไป. บทว่า พฺยญฺชนมตฺตาย ความว่า ส่วนที่ 4 แห่งข้าวสุกชื่อว่าพอ
ประมาณแก่กับข้าว. คือคนบางคน เมื่อภัตรถูกใจ ก็รับภัตรมาก เมื่อกับข้าว
ถูกใจ ก็รับกับข้าวมาก แต่พระศาสดาไม่ทรงรับอย่างนั้น. บทว่า น จ
พฺยญฺชเนน
ความว่า ก็บริโภคแต่ภัตรอย่างเดียว เว้นกับข้าวที่ไม่ชอบใจ
หรือบริโภคแต่กับข้าวอย่างเดียว เว้นภัตร ชื่อว่า น้อมคำข้าวเกินกว่ากับข้าว.

พระศาสดาทรงรับภัตรมีสิ่งอื่นแกม ทั้งภัตรทั้งกับข้าวพอประมาณกัน . บทว่า
ทฺวตฺติกฺขตฺตุํ ความว่า โภชนะที่พระชิวหาใหญ่ ของพระตถาคตเจ้านำเข้าไป
ย่อมเหมือนไล้ด้วยแป้งที่เขาทำให้ละเอียดพอพระทนต์บด 2-3 ครั้งเท่านั้น.
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า มุเข อวสิฏฺฐา ความว่า ย่อมล่วง
เข้าไปสู่ลำคอเหมือนหยาดน้ำที่ตกลงในใบบัว เพราะฉะนั้น จึงไม่เหลืออยู่.
บทว่า รสํ ปฏิสํเวเทติ คือ ทรงทราบรสมีหวานขม และเผ็ดเป็นต้น.
ก็สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเหมือนกับใส่ทิพยโอชะลงโดยที่สุดพร้อม
กับน้ำเสวย. เพราะฉะนั้น ย่อมปรากฏรสในอาหารทั้งหมดเทียว แก่พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ความใคร่ในรสไม่มี. บทว่า อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ คือ
ประกอบด้วยองค์ 8 ประการที่กล่าวไว้ว่า ไม่เสวยเพื่อเล่นเป็นต้น. คำวินิจฉัย
ของบทนั้นมาแล้วในวิสุทธิมรรค ฉะนั้น คำนี้ท่านกล่าวไว้ในสัพพาวสูตร.1
ถามว่า ข้อว่า เมื่อทรงล้างพระหัตถ์แล้ว พระศาสดาทรงกระทำ
อย่างไร. ตอบว่า พระศาสดาทรงล้างส่วนที่พระหัตถ์จับบาตรก่อน. ทรง
จับบาตรที่ตรงนั้นแล้ว ส่งฝ่าพระหัตถ์ที่เป็นลายตาข่ายกลับไปมา 2 ครั้ง.
อามิสทั้งหมดที่บาตรจะหลุดไปเหมือนน้ำในใบบัวที่ตกไปด้วยอาการเพียงเท่านี้.
บทว่า น จ อนตฺถิโก ความว่า เหมือนอย่างภิกษุบางรูปวางบาตรไว้ที่เชิง
บาตรไม่เช็ดน้ำที่บาตร เพ่งดูแต่ธุลีที่ตกไปฉันใด พระองค์ไม่ทรงกระทำ
อย่างนั้น. บทว่า น จ อติเวลานุรกฺขี ความว่า เหมือนอย่างภิกษุบางรูป
ตั้งการรักษาไว้เกินประมาณ หรือฉันแล้วเช็ดน้ำที่บาตรแล้วสอดเข้าไปใน
ระหว่างกลีบจีวร ถือบาตรแนบไปกับท้องนั่นเอง แต่พระศาสดาไม่ทรงการทำ
เหมือนอย่างนั้น.

1. ม. 1/12

บทว่า น จ อนุโมทนสฺส ความว่า ก็ภิกษุใด พอฉันเสร็จแล้ว
เมื่อพวกเด็ก ๆ ร้องไห้อยู่ เพื่อจะกินข้าว พอเมื่อพวกคนหิว กินแล้วยังไม่
มาเลย ก็เริ่มอนุโมทนา. ต่อแต่นั้น บางพวกก็ทิ้งงานทิ้งสิ้นมา บางพวกยัง
ไม่ทันมา. ผู้นี้ย่อมยังเวลาให้ล่วงไปเร็วนัก. แม้บางรูปเมื่อพวกคนมาไหว้แล้ว
นั่งลง เพื่อประโยชน์แก่อนุโมทนา ก็ยังไม่กระทำอนุโมทนา ตั้งถ้อยคำเฉพาะ
เป็นต้นว่า เป็นอย่างไร ติสสะ ปุสสะเป็นอย่างไร สุมนเป็นอย่างไร พวกท่าน
ไม่เจ็บป่วยด้วยไข้หรือ ข้าวปลาดีไหม ดังนี้ ผู้นี้ชื่อว่า ทำเวลาแห่งการอนุ-
โมทนาให้เสียไป. แต่เมื่อกล่าวในเวลาที่พวกคนรู้เวลาอาราธนาแล้ว ชื่อว่า
ไม่ทำเวลาให้เสียเกินไป พระศาสดาทรงทำอย่างนั้น.
บทว่า น ตํ ภตฺตํ ความว่า ไม่กล่าวติเตียนเป็นต้นว่า นี่ข้าวอะไรกัน
สวยนัก แฉะนัก. บทว่า น อญฺญํ ภตฺตํ ความว่า ก็เมื่อจะกระทำอนุโมทนา
ด้วยคิดว่า เราจักยังภัตรให้เกิดขึ้นเพื่อการบริโภคอันจะมีในวันพรุ่งนี้ หรือ
เพื่อวันต่อไป ชื่อว่าย่อมหวังภัตรอื่น. หรือภิกษุใดคิดว่าเราจะกระทำอนุโมทนา
ต่อเมื่อพวกมาตุคามหุงข้าวสุกแล้ว แต่นั้นเมื่ออนุโมทนาของเรา พวกเขาจะให้
ข้าวหน่อยหนึ่งจากข้าวที่ตนหุง แล้วจึงขยายอนุโมทนา แม้ภิกษุนี้ ก็ชื่อว่า ย่อม
หวัง. พระศาสดาไม่ทรงกระทำอย่างนั้น. บทว่า น จ มุญฺจิตุกาโม ความว่า
ก็บางรูปทิ้งบริษัทไว้ไปเสีย พวกภิกษุทั้งหลายจะต้องติดตามไปโดยเร็ว. แต่
พระศาสดาไม่ทรงดำเนินไปอย่างนั้น. ทรงดำเนินไปอยู่ท่ามกลางบริษัท บทว่า
อจฺจุกกฏฺฐํ ความว่า ก็รูปใดห่มจีวรยกขึ้นจนติดคาง รูปนั้น ชื่อว่า รุ่มร่าม.
รูปใดห่มจนคลุมข้อเท้าเทียว จีวรของรูปนั้น ชื่อว่า รุ่มร่าม. แม้รูปใดห่ม
ยกขึ้นจากข้างทั้งสองเปิดท้องไป จีวรของรูปนั้น ก็ชื่อว่า รุ่มร่าม. รูปใดกระทำ
เฉวียงบ่าข้างหนึ่งเปิดนมไป รูปนั้นก็ชื่อว่า รุ่มร่าม. พระศาลดาไม่ทรงกระทำ
อาการอย่างนั้นทุกอย่าง.

บทว่า อลฺลีนํ ความว่า จีวรของภิกษุเหล่าอื่นชุ่มด้วยเหงื่อติดอยู่
ฉันใด ของพระศาสดาย่อมไม่เป็นอย่างนั้น. บทว่า อปกฏฺฐํ ความว่า พ้น
จากกายไม่อยู่เหมือนผ้าสาฎกลื่น. บทว่า วาโต ได้แก่ แม้ลมเวรัมภวาต
ตั้งขึ้นก็ไม่อาจจะให้ไหวได้. บทว่า ปาทมณฺฑนานุโยคํ ความว่า ประกอบ
การทำพระบาทให้สวยงามมีการขัดสีพระกายด้วยอิฐเป็นต้น. บทว่า ปกขา-
ลิตฺวา
(ทรงล้างแล้ว) ความว่า ทรงล้างพระบาทด้วยพระบาทนั่นเทียว. ท่าน
กล่าว บทว่า โส เนว อตฺตพฺยาพาธาย ไม่เพื่อเบียดเบียนพระองค์เอง
เป็นต้น เพราะมีปุพเพนิวาสญาณและเจโตปริยญาณ. แต่เห็นความมีอิริยาบถ
สงบ จึงกล่าวด้วยความคาดคะเนเอา. บทว่า ธมฺมํ คือ ประยัติธรรม. บทว่า
น อุสฺสาเทติ ความว่า ไม่กล่าวคำมีอาทิว่า แม้ท่านพระราชา ท่านมหา
กฎุมพีเป็นต้น แล้วยกยอด้วยสามารถแห่งความรักอาศัยเรือน. บทว่า
อปสาเทติ
ความว่า ไม่กล่าวคำมีอาทิว่า ท่านอุบาสก ท่านรู้ทางไปวิหาร
แล้วหรือ ท่านมาเพราะกลัวหรือ. ภิกษุไม่ปล้นของอะไรเอาหรอก ท่านอย่ากลัว
หรือว่า ท่านช่างมีชีวิตตระหนี่เหนียวแน่นอะไรอย่างนี้ แล้วรุกรานด้วยความ
รักอาศัยเรือน.
บทว่า วิสฺสฏฺโฐ ความว่า ไม่ข้อง คือไม่ขัด. บทว่า วิญฺเญยฺโย
คือ พึงรู้ได้ชัด ปรากฏ. คือพระสุรเสียงนั้นรู้ได้ชัดเจน เพราะสละสลวย.
บทว่า มญฺชุ คือไพเราะ. บทว่า สวนีโย คือสะดวกหู ก็เสียงนั้น ชื่อว่า
น่าฟัง เพราะมีความไพเราะนั่นเอง. บทว่า พินฺทุ คือกลมกล่อม. บทว่า
อวิสารี คือไม่พร่า. ก็เสียงนั้นไม่พร่าเพราะมีความกลมกล่อมนั่นเอง. บทว่า
คมฺภีโร คือเกิดจากส่วนลึก. บทว่า นินฺนาที คือมีความกังวาล. ก็เสียงนั้น
ชื่อว่ามีความกังวาล เพราะเกิดจากส่วนลึก. บทว่า ยถา ปริสํ คือย่อมยัง
บริษัทที่เนื่องเป็นอันเดียวกันแม้มีจักรวาลเป็นที่สุด ให้เข้าใจได้. บทว่า

พหิทฺธา ความว่า ย่อมไม่ไปนอกจากบริษัท แม้มีประมาณเท่าองคุลี.
เพราะเหตุไร เพราะเสียงที่ไพเราะเห็นปานนั้น มิได้ศูนย์ไปโดยใช่เหตุ. เสียง
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมกระจายไปโดยที่สุดแห่งบริษัทด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อวโลกยมานา ความว่า. คนทั้งหลายวางอัญชลีไว้เหนือเศียร
แลดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังหันกลับมาไหว้ในที่ที่จะละการเห็นแล้วจึงไป. บทว่า
อวิชหนฺตา ความว่า ก็ผู้ใดฟังพระดำรัสแล้ว ลุกขึ้นยังกล่าวถ้อยคำที่ได้เห็น
และได้ฟังเป็นต้น อย่างอื่นจึงไป นี้ชื่อว่าละไปโดยภาวะของตน. คนใดกล่าว
สรรเสริญคุณธรรมกถาที่ได้ฟังแล้วจึงไป ผู้นี้ชื่อว่า ไม่ละ. ชื่อว่าย่อมหลีกไป
โดยไม่ละไปด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า คจฺฉนฺตํ ความว่า เสด็จไปอยู่ดุจ
แท่งทองสูงถึง 100 ศอก ด้วยสามารถแห่งยนต์คือสายฟ้า. บทว่า อทฺทสาม
ฐิตํ
ความว่า เราได้เห็นพระองค์ประทับยืนอยู่ประดุจภูเขาทองที่เขายกขึ้นตั้งไว้.
บทว่า ตโต จ ภิยฺโย ความว่า เมื่อไม่อาจจะกล่าวคุณให้พิสดารจึงย่อคุณ
ที่เหลือลง กระทำเหมือนแล่งธนูและเหมือนกลุ่มด้าย กล่าวอย่างนั้น. ในข้อ
นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ พระคุณของพระโคดมผู้เจริญนั้น ยังมิได้กล่าวมีมาก
กว่าคุณที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว เปรียบเหมือนมหาปฐพีและมหาสมุทรเป็นต้น
หาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้ กว้างขวางประดุจอากาศฉะนั้นแล.
บทว่า อปฺปฏิสํวิทิโต ความว่า การมาโดยมิได้ทูลให้ทรงทราบ.
ก็ผู้จะเข้าหาบรรพชิต เข้าไปหาในเวลาที่บริกรรมจีวรเป็นต้น หรือในเวลาที่
นุ่งผ้าผืนเดียวกำลังดัดสรีระ ก็จะต้องถอยกลับจากเหตุนั้นเทียว. แม้การ
ปฏิสันถารก็จักไม่เกิดขึ้น. แต่เมื่อโอกาสท่านกระทำก่อนแล้ว ภิกษุกวาดที่พัก
ในกลางวัน ห่มจีวรนั่งในที่อันสงัด. ผู้ที่มาเห็นอยู่ก็จะเลื่อมใสแม้ด้วยการ
เห็นท่าน การปฏิสันถารก็จะเกิดขึ้น. ก็จะได้ทั้งปัญหาพยากรณ์ ทั้งธรรมกถา.
เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงต้องรอโอกาส. และนั้นก็เป็นโอกาสอย่างใด

อย่างหนึ่งของตนเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น เขาจึงมีความติดอย่างนั้น. พรหมายุ-
พราหมณ์ไม่กล่าวถึงความที่ตนเป็นผู้สูงเป็นต้น กล่าวอย่างนี้ว่า ชิณฺโณ วุฑฺโฒ
เพราะเหตุไร. ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงมีพระกรุณาเมื่อทรงทราบ
ว่าเป็นผู้แก่แล้ว จักประทานโอกาสให้โดยเร็ว ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า
โอรมตฺถ โอกาสมกาสิ ความว่า บริษัทนั้นรีบลุกขึ้นแยกออกเป็น 2 ฝ่าย
ให้โอกาส. บทว่า เย เม เท่ากับ เย มยา. บทว่า นารีสมานสวฺหยา
ความว่า มีชื่อเสมอด้วยนารีเป็นเพศหญิง ชื่อว่านารีสมานสวหยา เพราะ
อรรถว่า ร้องเรียกตามเพศแห่งหญิงนั้น พึงกล่าวามเพศแห่งหญิง ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในโวหาร. บทว่า ปหุตชิวฺโห ได้แก่
มีพระชิวหาใหญ่. บทว่า นินฺนามเย แปลว่า ขอพระองค์โปรดนำพระ
ลักษณะนั้นออก. บทว่า เกวลี คือทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณทั้งสิ้น.
บทว่า ปจฺจภาสิ ความว่า เมื่อถูกถามเพียงครั้งเดียว ก็ทรงพยากรณ์
คือได้ตรัสตอบปัญหาถึง 8 ข้อ. บทว่า โย เวที ความว่า ผู้ใดรู้ คือทราบ
ภพเป็นที่อยู่อาศัยในกาลก่อนของผู้ใด ปรากฏแล้ว. บทว่า สคฺคาปายญฺจ
ปสฺสติ
ความว่า ท่านกล่าวถึงทิพยจักษุญาณ. บทว่า ชาติกฺขยํ ปตฺโต
ได้แก่ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว. บทว่า อภิญญาโวสิโต ได้แก่ รู้ยิ่งแล้ว
ซึ่งพระอรหัตต์นั้น เสร็จกิจแล้ว คือถึงที่สุดแล้ว. บทว่า มุนี ได้แก่ประ-
กอบด้วยธรรมเครื่องความเป็นมุนีคือ อรหัตตญาณ.
บทว่า วสุทฺธํ ได้แก่ อันผ่องใส. บทว่า มุตฺตํ ราเคหิ ความว่า พ้น
จากราคกิเลสทั้งหลาย. บทว่า ปหีนชาติมรโณ ได้แก่ ชื่อว่าผู้ละความเกิดได้
เพราะถึงความสิ้นชาติแล้ว ชื่อว่าผู้ละมรณะได้แล้ว เพราะละชาติได้นั่นเอง.
บทว่า พฺรหิมจริยสฺส เกวลี ความว่า ผู้ประกอบด้วยคุณล้วนแห่งพรหม
จรรย์ทั้งสิ้น หมายความว่า ผู้ปกติอยู่ประพฤติพรหมจรรย์คือมรรค 4 ทั้งสิ้น.

บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมานํ ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยความรู้ยิ่งซึ่งโลกิยธรรม
และโลกกุตรธรรมทั้งปวง อธิบายว่า รู้ยิ่งซึ่งสรรพธรรมอยู่. อีกนัยหนึ่ง
บทว่า ปารคู ท่านกล่าวอรรถไว้ดังนี้ว่า ผู้ถึงฝั่งการกำหนดรู้ขันธ์ 5 ผู้ถึงฝั่ง
ด้วยการละกิเลสทั้งปวง ผู้ถึงฝั่งด้วยภาวนา ซึ่งมรรค 4 ผู้ถึงฝั่งด้วยการกระทำ
ให้แจ้งซึ่งนิโรธ ผู้ถึงฝั่งด้วยการถึงพร้อมซึ่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยคำเพียงเท่านี้.
ท่านกล่าวการถึงฝั่งด้วยอภิญญา ด้วยคำว่า ธรรมทั้งปวง อีกแล. บทว่า
พุทฺโธ ตาที ปวุจฺจติ ความว่า ผู้เช่นนั้น คือผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ 6 ท่าน
เรียกว่า พระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจธรรมทั้ง 4 โดยอาการ
ทั้งปวง.
ก็ปัญหาย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแล้วด้วยพระ
ดำรัสเพียงเท่านี้หรือ. ถูกแล้ว เป็นอันวิสัชนาเสร็จทุกข้อ. คือทรงวิสัชนา
ปัญหาข้อที่หนึ่ง เพราะเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว ชื่อว่า พราหมณ์ ด้วย
พระดำรัสว่า มุนีนั้นรู้จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลายดังนี้.
ด้วยพระดำรัสว่า ถึงฝั่ง ชื่อว่าถึงเวท เพราะจบเวทแล้ว นี้ย่อมเป็นอัน
วิสัชนาปัญหาข้อที่สอง. ด้วยบทเป็นต้นว่า ปุพฺเพนิวาสํ ชื่อว่า ผู้มีวิชชาสาม
เพราะมีวิชชาสามเหล่านี้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สาม. ด้วยพระ
ดำรัสนี้ว่า พ้นจากราคะทั้งหลายโดยประการทั้งปวง นี้ชื่อว่า ผู้มีความสวัสดี
เพราะสลัดบาปธรรมออกได้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สี่. อนึ่ง ด้วย
พระดำรัสนี้ว่า บรรลุถึงความสิ้นชาติ นี้ชื่อว่า ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหา
ข้อที่ห้า เพราะตรัสถึงพระอรหัตต์นั่นเทียว. ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่
หก ด้วยพระดำรัสเหล่านี้คือว่า เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว และว่า ชื่อว่าผู้มีคุณครบ
ถ้วนแห่งพรหมจรรย์. ด้วยพระดำรัสนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่า มุนี ผู้ยิ่งถึงที่สุดแล้ว

ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่เจ็ด ด้วยพระดำรัสนี้ว่า ชื่อว่า ถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวงบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพุทธผู้คงที่ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่แปด.
บทว่า ทานกถํ เป็นต้น ท่านให้พิสดารแล้วในพระสูตรก่อนนั่น
เทียว. บทว่า ได้บรรลุ คือถึงเฉพาะแล้ว. บทว่า ธมฺมํ สานุธมฺมํ ความ
ว่า อรหัตตมรรค ชื่อว่าธรรม ในพระสูตรนี้ มรรค 3 และสามัญญผล 3
ชั้นต่ำ ชื่อ อนุธรรม สมควรแก่ธรรม อธิบายว่า ได้มรรคและผลเหล่านั้น
ตามลำดับ. ข้อว่า ไม่เบียดเบียนเราได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย
ความว่า ไม่ยังเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย อธิบายว่า ไม่ให้เราต้อง
กล่าวบ่อย ๆ. คำที่เหลือในบททั้งปวงตื้นทั้งนั้น. ก็ด้วยบทว่า ปรินิพฺพายิ
ในบทนั้น พระองค์ทรงถือเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัตต์ทีเดียวแล
จบอรรถกถาพรหมายุสูตรที่ 1

2. เสลสูตร



[604] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเทียวจาริกไปในอังคุตราปชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 1,250 รูป เสด็จถึงนิคมของชนชาว
อังคุตราปะ อันชื่อว่าอาปณะ ชฎิลชื่อเกณิยะได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม
ศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศายกสกุล เสด็จจาริกไปในอังคุตราปชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 1,250 รูป เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว ก็
กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้
เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ...เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว
ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรง
แสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ก็การได้
เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อนเป็นความดีแล.
[605] ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ชี้แจงให้เกณิยชฎิลเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมี
กถา ลำดับนั้นแล เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้กราบทูลพระผู้มี