เมนู

อรรถกถากรรณกัตถลสูตร



กรรณกัตถลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น คำว่า อุทญฺญายํ(1) นี้เป็นชื่อของทั้งรัฐ ทั้ง
พระนครนั้นว่า อุทัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอุทัญญานครประทับ
อยู่. บทว่า กณฺณกตฺถเล มิคทาเย ความว่า ในที่ไม่ใกล้พระนครนั้น
มีภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กรรณกัตถละ. ภูมิภาคนั้นเขาเรียกกันว่า
มิคทายวัน เพราะทรงพระราชทานไว้เพื่อให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย. ณ ที่กรรณ-
กัตถลมิคทายวันนั้น. บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ไม่ใช่กิจ
อย่างอื่น เป็นกรณียกิจอย่างที่ได้กล่าวไว้ในสูตรก่อนั่นแหละ. พระภคินี
ทั้งสองนี้คือ พระภคินีพระนามว่า โสมา และพระภคินีพระนามว่า สกุลา
ทรงเป็นประชาบดีของพระราชา. บทว่า ภตฺตาภิหาเร ได้แก่ในที่เสวย
พระกระยาหาร. ก็ที่เสวยพระกระยาหารของพระราชา นางในทุก ๆ คนจะต้อง
ถือทัพพีเป็นต้น ไปถวายงานพระราชา. พระนางทั้งสองนั้น ได้ไปแล้ว โดย
ทำนองนั้น .
บทว่า กึ ปน มหาราชา เป็นคำถามว่า เพราะเหตุไร จึง
ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะเปลื้องคำครหาพระราชาเสีย. เพราะพวกบริษัท
จะพึงคิดกันอย่างนี้ว่า พระราชานี้เมื่อจะเสด็จมาก็ยังนำข่าวของมาตุคามมาทูล
ด้วย พวกเราสำคัญว่า มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมดาของคน แต่
พระเจ้าอยู่หัวเอาข่าวของมาตุคานมาเห็นจะเป็นทาสของมาตุคามกระมัง แม้
คราวก่อนพระองค์ก็เสด็จมาด้วยเหตุนี้เหมือนกัน ดังนี้ . อนึ่ง พระราชา
นั้นถูกถามแล้วจักทูลถึงเหตุที่มาของตน คำครหาอันนี้จักไม่เกิดขึ้นแก่พระองค์
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำครหาจึงตรัสอย่างนั้น.

1. ฉ. อุรุญฺญายํ สี. อุชุญฺญายํ.

บทว่า อพฺภุทาหาสิ แปลว่า กล่าวแล้ว. คำว่า ไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์ที่จะรู้ธรรมทั้งปวง และที่จะเห็นธรรมทั้งปวงในคราว
เดียวกัน
ความว่า ผู้ใดจักรู้หรือจักเห็นธรรมทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคตและ
ปัจจุบันด้วยอาวัชชนะดวงเดียว ด้วยจิตดวงเดียว ด้วยชวนะดวงเดียว ผู้นั้น ย่อม
ไม่มี. จริงอยู่ ใคร ๆ แม้นึกแล้วว่า เราจักรู้เรื่องทุกอย่างทีเป็นอดีต ด้วยจิตดวง
เดียว ก็ไม่อาจจะรู้อดีตได้ทั้งหมด จะรู้ได้แต่เพียงวันเดียวเท่านั้น. ส่วนที่เป็น
อนาคตและปัจจุบัน ก็จะไม่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตนั้น. ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้.
ตรัสปัญหานี้ด้วยจิตดวงเดียวอย่างนี้แล. บทว่า เหตุรูปํ ได้แก่สภาวะแห่ง
เหตุ อันเกิดแต่เหตุ. บทว่า สเหตุรูปํ ได้แก่ อันเป็นชาติแห่งผลที่มีเหตุ.
บทว่า สมฺปรายิกาหํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ขอทูลถามถึงคุณอันจะมีในเบื้องหน้า.
บทว่า ปญฺจีมานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสองค์เป็นที่ตั้ง
แห่งความเพียร 5 ให้เจือด้วยโลกุตตระในพระสูตรนี้. แต่พระจูฬสมุทเถระ
ผู้อยู่ ณ กวลังคณะ เมื่อเขาถามว่า พระคุณเจ้า ท่านชอบอะไร ดังนี้
ตอบว่า เราชอบใจโลกุตตระอย่างเดียว. บทว่า ปธานเวมตฺตตํ ได้แก่
ความต่างกันแห่งความเพียร. จริงอยู่ ความเพียรของปุถุชนก็เป็นอย่างอื่น
ของพระโสดาบัน ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสกทาคามี ก็เป็นอย่างหนึ่ง
ของพระอนาคามีก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอรหันต์ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของ
พระอสีติมหาสาวก ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอัครสาวกทั้งสองก็เป็นอย่าง
หนึ่ง ของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ก็เป็นอย่างหนึ่ง. ความเพียรของปุถุชน ไม่ถึงความเพียรของพระโสดาบัน

ฯลฯ ความเพียรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ถึงความเพียรของพระสัพพัญญู-
พุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปธานเวมตฺตตํ วทามิ แปลว่า
อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วยความเพียร ทรงหมายเอาเนื้อความข้อนี้.
บทว่า ทนฺตการณํ คจฺเฉยฺยุํ ความว่า ในบรรดาการฝึกทั้งหลาย
มีฝึกมิให้โกง ไม่ให้ทิ่มแทง ไม่ให้ทอดทิ้งธุระ เหตุอันใดย่อมปรากฏ
พึงเข้าถึงเหตุอันนั้น. บทว่า ทนฺตภูมี ได้แก่ สู่ภูมิสัตว์ที่ฝึกแล้ว
พึงไป. แม้บุคคล 4 จำพวกคือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ
อนาคามีชื่อว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ในบททั้งหลายว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น. จริง
อยู่ ปุถุชนชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. พระ-
โสดาบัน... ของพระสกทาคามี. พระสกทาคามี... ของพระอนาคามี. พระ
อนาคามีชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระอรหันต์. ความอาพาธ
ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น อาพาธแม้ทั้ง 5 ย่อมชื่อว่า
เป็นอาพาธมาก. ก็พระอริยสาวกย่อมไม่มีชื่อว่า ผู้โอ้อวด ผู้มีมารยา. เพราะ
เหตุนั้นแหละ พระเถระจึงกล่าวว่า เราชอบใจที่ตรัสองค์แห่งความเพียร
5 ให้เจือด้วยโลกุตตระ. ส่วนในอัสสขฬุงคสูตรตรัสไว้ว่า ชื่อว่า สัมโพธิ
แม้แห่งพระอริยสาวกมาแล้ว ในพระดำรัสนี้ว่า ตโย จ ภิกฺขเว อสฺส-
ขฬุงฺเค ตโย จ ปริสขฬุงฺเค เทสิสฺสามิ
ด้วยอำนาจแห่งปุถุชนเป็นต้น
นั้น จึงตรัสว่า เจือด้วยโลกุตตระ.
ฝ่ายปุถุชน ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
พระอนาคามี ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในพระอรหัตตมรรค. แม้เป็น
ผู้เกียจคร้าน ก็มี 4 เหมือนกัน ดุจผู้ไม่มีศรัทธา. ท่านผู้มีปัญญาทราม ก็

เหมือนกัน . อนึ่ง พึงทราบการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในฝ่ายดำ ด้วยคำว่า
อทนฺตหตฺถิอาทโยวิย (เหมือนช้างที่ยังมิได้ฝึกเป็นต้น ) และในฝ่ายขาวด้วย
คำว่า ยถา ปน ทนฺตหตฺถิอาทโย (เหมือนอย่างช้างที่ฝึกแล้วเป็นต้น) ดังนี้
เป็นต้น. ก็บุคคลที่เว้นจากมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก
ผู้มีมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว. ช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก ก็
ไม่อาจเพื่อจะไม่กระทำอาการโกง หนี สลัดธุระไปยังการฝึกแล้ว หรือถึงที่
ที่เขาฝึกแล้วได้ฉันใด ท่านผู้เว้นจากมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่
อาจเพื่อบรรลุคุณที่ท่านผู้มีมรรคปธานพึงถึง หรือพึงยังคุณที่ผู้มีมรรคปธาน
พึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้น.
อนึ่ง ช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว ก็ไม่กระทำอาการโกง ไม่ทิ่มแทง
ไม่สลัดธุระ ย่อมอาจไปยังที่ที่สัตว์ฝึกแล้วพึงไป หรือพึงถึงภูมิที่สัตว์
ฝึกแล้วพึงถึงฉันใด ผู้มีมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อาจบรรลุคุณที่ผู้มี
มรรคปธานพึงบรรลุ อาจยังคุณที่ผู้มีมรรคปธานพึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้นได้.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธาน ย่อมอาจบรรลุโอกาส
ที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธานบรรลุ เพื่อจะยังคุณที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธาน
พึงให้บังเกิด บังเกิดขึ้นได้ ฯลฯ ผู้มีอรหัตตมรรคปธาน ย่อมอาจเพื่อบรรลุ
โอกาสที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานบรรลุ เพื่อยังคุณที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานพึง
ให้บังเกิดขึ้น บังเกิดขึ้นได้.
บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ ความเพียรชอบ คือ การกระทำต่อ
เนื่องด้วยมรรคปธาน. ข้อว่า อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่างกัน
อย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ
ความว่า การกระทำต่าง ๆ กันปรารภผล
วิมุตติของตนนอกนี้ กับผลวิมุตติของคนหนึ่ง ที่ควรจะกล่าวอันใด เราย่อม
ไม่กล่าวถึงการกระทำต่างกันที่ควรกล่าวนั้นอย่างไร คือ เรากล่าวว่า ไม่มีความ

ต่างกัน. คำว่า อจฺฉิยา วา อจฺฉึ ความว่า หรือเปลวไฟกับเปลวไฟ. แม้ใน
2 บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทว่า อจฺฉึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ใน
อรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า กึ ปน ตฺวํ มหาราช ความว่า ดูก่อนมหาราช
พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่า เทวดามีอยู่อย่างนี้คือ มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช
มีเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ มีเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีเทวดาชั้นสูง ๆ ขึ้น
ไปอีก พระองค์ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุใด.
แต่นั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามคำนี้ว่า ข้าพระองค์รู้ว่ามี แต่เทวดา
ทั้งหลายมาสู่มนุษยโลกหรือไม่มาสู่มนุษยโลก จึงตรัสคำว่า ยทิ วา เต
ภนฺเต
ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ได้แก่มีทุกข์ คือยังละทุกข์
ทางใจไม่ได้ โดยละได้เด็ดขาด. บทว่า อาคนฺตาโร ความว่า ผู้มาโดย
อำนาจอุปบัติ. บทว่า อพฺยาปชฺฌา ได้แก่ ตัดความทุกข์ได้เด็ดขาด. บทว่า
อนาคนฺตาโร ได้แก่ผู้ไม่มาด้วยมสามารถแห่งอุปบัติ.
บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมอาจ. จริงอยู่ พระราชาย่อมอาจกระ
ทำผู้ที่ถึงพร้อมด้วยลาภแลสักการะแม้มีบุญโดยที่ไม่มีใครจะเข้าไปใกล้ได้ให้
เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจกระทำแม้ผู้ไม่มีบุญนั้น ผู้ไม่ได้สิ่งสักว่าเที่ยว
ไปสู่บ้านทั้งสิ้น เพื่อปิณฑะ แล้วยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ โดยประการที่จะ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภและสักการะให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจเพื่อ
ประกอบแม้ผู้มีพรหมจรรย์กับหญิงให้ถึงศีลพินาศ ให้สึกโดยพลการหรือ
ให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ไม่ให้อำมาตย์ผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ แม้มิได้
ประพฤติพรหมจรรย์ให้เข้าไปสู่เรือนจำ ไม่ให้เห็นแม้หน้าของหญิงทั้งหลาย
ชื่อว่า ย่อมให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. แต่เมื่อให้เคลื่อนจากรัฐ ชื่อว่า ขับไล่
ไปตามต้องการ.

บทว่า ทสฺสนายปิ นปฺปโหนฺติ ความว่า เทพผู้มีทุกข์ ย่อมไม่
อาจแม้เพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพผู้ไม่มีทุกข์ชั้นกามาวจรก่อน. ถาม
ว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีฐานะในภพนั้น โดยสมควร. แต่ย่อมอาจ
เพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพชั้นรูปาวจรว่า ย่อมยืนอยู่ด้วย ย่อม
นั่งอยู่ด้วยในวิมานเดียวกันนั่นเทียว. แต่ไม่อาจเพื่อจะเห็น เพื่อจะกำหนด
เพื่อจะแทงตลอด ลักษณะที่เทพเหล่านี้ เห็นแล้ว กำหนดแล้ว แทงตลอด
แล้ว. ย่อมไม่อาจเพื่อจะเห็นด้วยญาณจักษุ (ด้วยประการฉะนี้). ทั้งไม่อาจเพื่อ
จะเห็นเทพที่สูง ๆ ขึ้นไป แม้ด้วยการเห็นด้วยจักษุวิญญาณแล. บทว่า โก
นาโม อยํ ภนฺเต
ความว่า พระราชาแม้ทรงรู้จักพระเถระ ก็ตรัสถามเหมือน
ไม่รู้จัก. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเป็นผู้ใคร่เพื่อทรงสรรเสริญ.
บทว่า อานนฺทรูโป ได้แก่มีสภาวะน่ายินดี. แม้การตรัสถามถึงพรหม ก็พึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว. บทว่า อถโข อญฺญตโร ปุริโส ความ
ว่า ได้ยินว่า ถ้อยคำนั้น วิฑูฑภะนั่นเอง ตรัสแล้ว. ชนเหล่านั้น โกรธ
แล้วว่า ท่านกล่าวแล้ว ท่านกล่าวแล้ว จึงให้หมู่พลของตน ๆ ลุกขึ้นกระ
ทำแม้การทะเลาะซึ่งกันและกัน ในที่นั้นนั่นเทียว ราชบุรุษนั้นได้กล่าวคำนั้น
เพื่อจะห้ามเสียด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. อนึ่ง
เทศนานี้ จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคล ดังนี้แล.

จบอรรถกถากรรณกัตถลสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 4


รวมพระสูตรที่มีในราชวรรค


1. ฆฏิการสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
2. รัฏฐปาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
3. มฆเทวสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
4. มธุรสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
5. โพธิราชกุมารสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
6. อังคุลิมาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
7. ปิยชาติกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
8. พาหิติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
9. ธรรมเจติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
10. กรรณกัตถลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา