เมนู

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากแล เป็นมโน
สมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียด
เบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียด
เบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายของบุคคลผู้มีมโน
สมาจารนั้นย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูก่อนมหาบพิตร
มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอ
ถวายพระพร.
[555] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง
ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร.

ทรงชื่นชมยินดีภาษิต



[556] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเพียงใด เรา
ทั้งหลายมีใจชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์นี้ ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายยินดีเป็นอย่างยิ่งด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์อย่างนี้
ถ้าว่าช้างแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ช้างแก้ว เราทั้งหลายก็พึง
ถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าม้าแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ม้าแก้ว
เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าว่าบ้านส่วยพึงควรแก่ท่านพระ-

อานนท์ไซร้ แม้บ้านส่วย เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ก็แต่ว่า
เราทั้งหลายรู้อยู่ว่า นั่นไม่สมควรแก่ท่านพระอานนท์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ผ้าพาหิติกาผืนนี้ โดยยาว 16 ศอกถ้วน โดยกว้าง 8 ศอกถ้วน พระเจ้าแผ่นดิน
มคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทานแก่ข้าพเจ้า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกานั้นเถิด.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร อย่าเลย ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว
ขอถวายพระพร.
[557] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม่น้ำอจิรวดีนี้ ท่านพระอานนท์
และเราทั้งหลายเห็นแล้ว เปรียบเหมือนมหาเมฆยังฝนให้ตกเบื้องบนภูเขา .
ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ ย่อมไหลล้นฝั่งทั้งสองฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จักทำไตรจีวรของตน ด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแจกไตรจีวร
อันเก่ากับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทักษิณาของเราทั้งหลายนี้
คงจักแพร่หลายไปดังแม่น้ำล้นฝั่งฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์
โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด.
ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกา. ลำดับแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ตรัสอำลาท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราทั้งหลายขอ
ลาไปบัดนี้ เราทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก. ท่านพระอานนท์ถวายพระพร
ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. ลำดับนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว เสด็จลุกขึ้นจาก
ที่ประทับทรงถวายอภิวาทท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จ
กลับไป.
[558] ลำดับนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับไปไม่นาน
ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการ
เจรจาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้
ทูลถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดี
แล้วหนอ ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากัน
ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบพาหิติสูตรที่ 8

อรรถกถาพาหิติยสูตร



พาหิติยสูตร1 มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น บทว่า เอกปุณฺฑริกนาคํ ได้แก่ ช้างที่มีชื่อ
อย่างนี้. ได้ยินว่า เหนือซี่โครงของพญาช้าง นั้นมีที่ขาวอยู่ประมาณเท่าผล
ตาล เพราะฉะนั้น เขาจึงตั้งชื่อพระยาช้างนั้นว่า เอกปุณฑริกะ. บทว่า
สิริวฑฺฒํ มหามตฺตํ ได้แก่ มหาอำมาตย์มีชื่ออย่างนั้น ซึ่งขึ้นช้างอีก
เชือกหนึ่งต่างหากไปด้วย เพื่อจะสนทนาตามความผาสุก. บทว่า โน
ในคำว่า อายสฺมา โน นี้ เป็นนิบาตใช้ในการถาม. มหาอำมาตย์กำหนด
อาการที่พระเถระทรงสังฆาฏิและบาตรได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช.
บทว่า โอปารมฺโภ ความว่า ควรติเตียน คือ ควรแก่อันยกโทษ.
พระราชาตรัสถามว่า เราจะถามอย่างไร. พระราชาตรัสถามว่า พระสูตรนี้
เกิดขึ้นในเรื่องที่งาม เราจะถามเรื่องนั้น. บทว่า ยํ หิ มยํ ภนฺเต
ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายไม่อาจถือเอาบทว่า "อันสมณพราหมณ์
ผู้รู้แจ้ง" นี้ใดให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ เหตุอันนั้น ท่านพระอานนท์ผู้กล่าว
อยู่อย่างนี้ให้บริบูรณ์แล้ว . บทว่า อกุสโล ได้แก่ อันเกิดแต่ความไม่ฉลาด.
บทว่า สาวชฺโช ความว่า เป็นไปกับด้วยโทษ. บทว่า สพฺยาปชฺโฌ
ความว่า เป็นไปกับด้วยทุกข์. ในบทว่า ทุกฺขวิปาโก นี้ ท่านกล่าวถึง
วิบากที่ไหลออก. บทว่า ตสฺส ความว่า แก่กายสมาจารที่เป็นไปแล้วเพื่อ
ประโยชน์แก่ความเบียดเบียนตนเองเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วนั้น. ในคำว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตละอกุศลธรรมได้ทั้งหมดแล ประกอบด้วย
กุศลธรรม นี้ คือ ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมสิ้นทุกอย่างนั้นเองแล

1. ฉ. พาหิติกสูตร