เมนู

อรรถกถาปิยชาติกสูตร



ปิยชาติกสูตรมีคำเริมต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว กมฺมนฺตา ปฏิภนฺติ ความว่า การงานย่อม
ไม่ปรากฏทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวงคือ ย่อมไม่ปรากฏโดยการกำหนดตามปรกติ.
แม้ในบทที่สองก็นัยนี้นั่นเทียว. ก็บทว่า น ปฏิภนฺติ ในพระสูตรนี้ แปล
ว่า ไม่ถูกใจ. บทว่า อาหฬนํ แปลว่า ป่าช้า. บทว่า อญฺญถตฺตํ ได้แก่
ความเป็นโดยประการอื่น เพราะมิวรรณะแปลกไป. ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ชื่อว่า อินทรีย์. แต่คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงโอกาสที่อินทรีย์ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า
ปิยชาติกา ความว่า ย่อมเกิดจากความรัก. บทว่า ปิยปฺปภิติกา ความ
ว่า มีมาแต่ของที่รัก. บทว่า สเจ ตํ มหาราช ความว่า แม้กำหนดความ
หมายของพระดำรัสนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น ด้วยความศรัทธาในพระศาสดา.
บทว่า จร ปิเร ความว่า เธอจงหลบไปทางอื่นเสีย หมายความว่า เธออย่า
ยืนอยู่ที่นี้ก็ได้. อนึ่ง บทว่า จร ปิเร คือ เธอจงไปทางอื่น อธิบายว่า อย่ายืน
ในที่นี้บ้าง. บทว่า ทฺวิธา เฉตฺวา ความว่า ตัดกระทำให้เป็น 2 ส่วน ด้วย
ดาบ. บทว่า อตฺตานํ อุปฺปาเลสิ ความว่า เอาดาบนั่นแหละแหวะท้องของ
ตน. ก็ถ้าหญิงนั้นไม่เป็นที่รักของชายนั้น บัดนี้ ชายนั้น ไม่พึงฆ่าคนด้วยคิดว่า
เราจักหาหญิงอื่น. แต่เพราะหญิงนั้นเป็นที่รักของชายนั้น ฉะนั้น ชายนั้น.
ปรารถนาความพร้อมเพรียงกับหญิงนั้นแม้ในปรโลก จึงได้กระทำอย่างนั้น .
คำว่า พระกุมาร พระนามว่า วชิรีเป็นที่โปรดปรานของพระ-
องค์หรือ
ความว่า ได้ยินว่า พระนางนั้นได้มีคำริอย่างนี้ พระนางกล่าว

อย่างนั้น เพราะคิดว่า ถ้าเราจะพึงกล่าวถ้อยคำเป็นต้นว่า ข้าแต่มหาราช เรื่อง
เคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้ ยังมีหญิงอื่นอีก พระองค์จะพึงปฏิเสธเรา
ว่า ใครได้กระทำอย่างนั้นแก่เจ้า จงถอยไป ข้อนั้นย่อมไม่มี เราจักยังหญิง
นั้นให้เข้าใจด้วยอาการที่เป็นไปอยู่นั่นเทียว.
ในบทว่า วิปริณามญฺญถาภาวา นี้ บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยน
แปลงเพราะความตาย คือ ความเป็นโดยประการอื่น ด้วยการหนีไปกับ ใคร ๆ
ก็ได้.
บทว่า วาสภาย ความว่า พระเทวีของพระราชาองค์หนึ่ง พระนาม
ว่า วาสภา ท่านกล่าวหมายถึงพระนางนั้น.
บทว่า ปิย เต อหํ ท่านกล่าวในภายหลังทั้งหมด เพราะเหตุไร.
ได้ยินว่า ความดำริอย่างนี้ได้มีแล้วแก่พระนางนั้น จึงทูลถาม ในภายหลังทั้ง
หมดเพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งถ้อยคำว่า พระราชานี้ทรงกริ้วเรา ถ้าเราจะพึงถาม
ก็อันคนอื่นทั้งหมดว่า หม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์หรือ พระองค์ก็จะพึง
ตรัสว่า เจ้ามิได้เป็นที่รักของเรา จงหลีกไปทางอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำก็จัก
ไม่ได้ตั้งขึ้น. บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยนแปลงโดยความเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ใน
แคว้นกาสีโกศล ความเป็นโดยประการอื่นโดยอยู่ในเงื้อมมือพระราชาผู้เป็น
ปฏิปักษ์ทั้งหลาย (ราชศัตรู).
บทว่า อาจเมหิ ความว่า เจ้าจงเอาน้ำบ้วนปากมา. พระเจ้าปัสเสนทิ -
โกศลทรงบ้วนแล้ว ทรงล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ทรงกลั้วพระโอษฐ์
แล้วประสงค์จะนมัสการพระศาสดา จึงตรัสอย่างนั้น. คำที่เหลือ ในที่ทุกแห่ง
ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปิยชาติสูตรที่ 7

8. พาหิติยสูตร



[549] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า
ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อ
บิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภายหลังภัต กลับจาก
บิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของมิคารมารดาเพื่อพักกลางวัน.
[550] ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นประทับคอช้างชื่อ
ว่าบุณฑรีก เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน ได้ทอดพระเนตร
เห็นท่านพระอานนท์กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ชื่อ
สิริวัฑฒะว่า ดูก่อนเพื่อนสิริวัฑฒะ นั่นท่านพระอานนท์หรือมิใช่. สิริวัฑฒ-
มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช นั่นท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาตรัสว่า ดูก่อนบุรุษผู้.
เจริญ ท่านจงไป จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วจงกราบเท้าทั้งสองของ
ท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และจง
เรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์
ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่
สักครู่หนึ่งเถิด บุรุษนั้นรับพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ได้
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาที่ท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่าน