เมนู

ราชวรรควรรณนา


อรรถกถาฆฏิการสูตร



ฆฏิการสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิการสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ
ทรงกระทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ดำเนินไปโดยมหามรรคา ทรงตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง แล้วทรงรำพึงว่า
เมื่อเราประพฤติจริยาอยู่ เคยอยู่ในที่นี้บ้างหรือหนอ ดังนี้ ทรงเห็นว่า เมื่อ
ศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ที่นี้เป็นนิคมชื่อว่า เวภัลลิคะ1 ในกาลนั้น เรา
เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรามีสหายเป็นช่างหม้อชื่อ ฆฏิการะ เรากับนาย
ฆฏิการะนั้นได้กระทำเหตุอันดีไว้อย่างหนึ่งในที่นี้ ความดีนั้นยังปกปิดอยู่ ยัง
ไม่ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์ เอาเถิด เราจะกระทำเรื่องนั้นให้ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์
ทรงดำริดังนี้แล้ว ทรงหลีกออกจากทางประทับยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่งเทียว
ทรงกระทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ทรงแย้มพระโอษฐ์. พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมไม่ทรงพระสรวล เหมือนอย่างพวกมนุษย์ชาวโลกีย์ ย่อมตีท้อง
หัวเราะว่า ที่ไหน ที่ไหน ดังนี้. ส่วนการยิ้มแย้มของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ปรากฏเพียงอาการยินดีร่าเริงเท่านั้น. อนึ่ง การหัวเราะนั้นมีได้ด้วยจิตที่เกิด
พร้อมด้วยโสมนัส 13 ดวง. ในบรรดาจิตเหล่านั้น มหาชนชาวโลกย่อมหัวเราะ
ด้วยจิต 8 ดวง คือ โดยอกุศลจิต 4 ดวง โดยกามาวจรกุศลจิต 4 ดวง.
พระเสกขบุคคลย่อมหัวเราะด้วยจิต 6 ดวง นำจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิฝ่ายอกุศล
ออก 2 ดวง. พระขีณาสพย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต 5 ดวง คือ ด้วยกิริยาจิตที่เป็น

1. ฉ เวคะลิงคะ. สี. เวหลิงคะ.

สเหตุกะ 4 ดวง ด้วยกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะ 1 ดวง. แม้ในจิตเหล่านั้นเมื่อ
อารมณ์มีกำลังมาปรากฏย่อมยิ้มแย้มด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ 2 ดวง. เมื่อ
อารมณ์ทุรพลมาปรากฏ ย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต 3 ดวง คือ ด้วยทุเหตุกจิต 2
ดวง ด้วยอเหตุกะ 1 ดวง. แต่ในที่นี้ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสอันเป็นมโน
วิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาอเหตุกจิตทำให้ความหัวเราะเพียงอาการยินดีร่าเริงให้เกิด
แต่ภวังค์เท่านั้น. อนึ่ง ความแย้มนี้นั้น ถึงมีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้ ก็ได้
ปรากฏแก่พระเถระ. ถามว่า ปรากฏอย่างไร. ตอบว่า ธรรมดาในกาลเช่นนั้น
เกลียวรัศมีมีประมาณเท่าต้นตาลใหญ่ รุ่งเรืองแปลบปลาบประดุจสายฟ้ามีช่อตั้ง
100 จากพระโอษฐ์ ประหนึ่งมหาเมฆที่จะยังฝนให้ตกในทวิปทั้ง 4 ตั้งขึ้นจาก
พระเขี้ยวแก้วทั้ง 4 กระทำประทักษิณพระเศียรอันประเสริฐ 3 รอบ แล้วก็
อันตรธานหายไป ณ ปลายพระเขี้ยวแก้วนั่นแล. เพราะเหตุนั้นท่านพระอานนท์
ถึงจะเดินตามไปข้างพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทราบถึงความ
แย้มพระโอษฐ์ด้วยสัญญานั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โส ภควนฺตํ เอตทโวจ นี้ ดังต่อไปนี้
นัยว่า ท่านพระอานนท์ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ย่อม
ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ ทรงกระทำการประกาศสัจจธรรมทั้ง 4 เราจักให้พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพอพระทัยประทับนั่ง ณ ที่นี้ ภูมิภาคนี้ จักเป็นอันพระพุทธเจ้า
ถึงสองพระองค์ทรงใช้สอย มหาชนจักบูชา ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้
เป็นต้น จักกระทำเจดีย์สถานบำรุงอยู่ก็จักมีสวรรค์เป็นที่ไปในภายหน้า ดังนี้
แล้ว จึงได้กราบทูลคำว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้
เป็นต้นนั้น.
บทว่า มุณฺฑเกน สมณเกน ความว่า จะเรียกคนศีรษะโล้นว่า
คนโล้นหรือเรียกสมณะว่า สมณะ ย่อมสมควร. ก็แลโชติปาละนี้ระอาอยู่ด้วย

โวหารที่ตนเรียนแล้ว ในพราหมณสกุล เพราะยังมีญาณไม่แก่กล้าแล้ว จึง
กล่าวอย่างนั้น. บทว่า โสตฺติสินานํ ได้แก่ ผงบดที่ทำไว้สำหรับอาบน้ำ.
ที่เคล้าจุณหินสีดังพลอยแดงกับต่างทำแล้วท่านเรียกว่า ผงบด. ซึ่งท่านหมายเอา
กล่าวไว้ว่า เตน โข ปน สมเยน ฉพฺพคฺคิยา ภิกฺขู กุรุวินฺทิยสุตฺติกาย
นหายนฺติ
1 ก็ครั้งนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ อาบน้ำด้วยผงหินแดงสำหรับขัดสีตัว.
สหายทั้งสองนั้นถือเอาผงหินแดงสำหรับขีดสีตัวนั้นไปขัดสีตัว. บทว่า เอวํ
สมฺม
ความว่า แม้ในปัจจุบันนี้ พวกมนุษย์ มิใครชวนว่า พวกเราไปไหว้
พระเจดีย์ ไปฟังธรรมกันเถอะ จะไม่กระทำความอุตสาหะ แต่ใคร ๆ ชวนว่า
พวกเราไปดูฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น กันเถอะ ดังนี้ จะรับคำด้วยการชักชวน
เพียงครั้งเดียวฉันใด โชติปาละก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อฆฏิการะชวนว่า ไป
อาบน้ำกันเถอะ ก็รับคำด้วยการชวนคำเดียว จึงตอบไปอย่างนั้น.
บทว่า โซติปาลํ มาณวํ อามนฺเตสิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้อ
อาบน้ำด้วยการบริหารอย่างดีที่ข้างหนึ่งแล้วขึ้นก่อนยืนรออยู่ เมื่อโชติปาละอาบ
อยู่ด้วยการบริหารอย่างผู้มีอิสริยยศอันใหญ่ จนอาบเสร็จแล้วเรียก โชติปาละ
ผู้นุ่งห่มแล้ว กำลังกระทำผมให้แห้งอยู่. ฆฏิการะเมื่อจะแนะนำจึงกล่าวว่า อยํ
เพราะโชติปาละมาณพอยู่ใกล้กัน.
บทว่า โอวฏฺฎิกํ วินิเวเฐตฺวา ความว่า พระโพธิสัตว์ผู้มีกำลังดุจ
ช้างสารเอนไปหน่อยหนึ่งกล่าวว่า ถอยไปสหาย ให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยการ
จับที่จับไว้แล้ว. บทว่า เกเสสุ ปรามสิตฺวา เอตทโวจ ความว่า ได้ยิน
ว่า ฆฏิการะนั้น ดำริว่า มาณพโชติปาละนี้ เป็นคนมีปัญญาเมื่อได้เห็นครั้งเดียว
จักเลื่อมใสในการเห็นพระตถาคตด้วย จักเลื่อมใสในธรรมกถาด้วย ธรรมดา
ผู้ที่เลื่อมใสแล้วจักอาจทำอาการที่ได้เลื่อมใส ชื่อว่า มิตรย่อมมีคุณประโยชน์

1. วิ. จุ 7/3

อันนี้ เราจักทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จับสหายผู้เสมอ ไปยังสำนักพระทศพลให้
จงได้ ดังนั้น จึงจับโชติปาลมาณพนั้นที่ผมแล้วได้กล่าวคำนั้น. บทว่า
อิตรชจฺโจ ความว่า ฆฏิการะ มีชาติเป็นอย่างอื่น คือ มีชาติไม่เสมอกัน
กับเรา หมายความว่า มีชาติต่ำ. บทว่า น วตีทํ นี้ ได้ถึงความตกลงใน
การจับนั่นแหละว่า การจับเรานี้ จักไม่เป็นการจับที่ทราม คือ ไม่ใช่การจับ
ที่เล็กน้อย จักเป็นการจับที่ใหญ่ คือ ฆฏิการะช่างหม้อนี้ มิได้จับด้วยกำลัง
ของตน จับด้วยพระกำลังของพระศาสดา ดังนี้. อักษร หิ อักษร และ
ปิ อักษรในคำว่า ยาวตโทหิปิ นี้ เป็นนิบาต ความว่า เท่านั้นเป็นอย่าง
ยิ่ง. คำนี้มีอรรถาธิบายว่า เรียกด้วยวาจา และจับที่ชายพก เลยไปจนถึงจับ
ผม ควรทำประโยคเพื่อการจับในข้อนั้น. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ พึง
ทราบธรรมิกถาที่ปฏิสังยุตด้วยปุพเพนิวาสญาณเพื่อได้เฉพาะซึ่งสติในที่นี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถาเพื่อให้โซติปาละนั้นกลับได้
สติโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนโชติปาละ ตัวท่านมิใช่สัตว์ผู้หยั่งลงสู่ฐานะอันต่ำทราม
แต่ท่านปรารถนาสัพพัญญุตญาณหยั่งลง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ธรรมดาคนเช่น
ท่านไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท ดังนี้. ฝ่ายพระเถระผู้อยู่ ณ สมุทรข้างโน้น
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมิกถาว่า โชติปาละ เราบำเพ็ญบารมี 10
ประการ ตรัสรู้สัพพัญญุตญาณ มีภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เที่ยวไปในโลก
ด้วยประการใด แม้ตัวท่านก็จงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ แทงตลอดสัพพัญญุต-
ญาณ มีหมู่สมณะเป็นบริวาร ท่องเที่ยวไปในโลก ด้วยประการเช่นเดียวอย่าง
นั้นเถิด เราเห็นปานนี้ไม่สมควรจะต้องประมาท ดังนี้ จิตของโชติปาละนั้น
ย่อมน้อมไปในบรรพชาด้วยประการใด ก็ทรงสั่งสอนถึงโทษในกามทั้งหลาย
และอานิสงส์ในการออกบวชด้วยประการนั้น.

บทว่า อลตฺถ โข อนนทฺท ปพฺพชฺชํ อลตฺถ อุปสมฺปทํ ความ
ว่า โชติปาลมาณพบวชแล้วได้กระทำอย่างไร ที่ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะพึงกระทำ.
ธรรมดาพระโพธิสัตว์ย่อมบรรพชาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย. ก็แลครั้นบวชแล้วย่อมไม่เป็นผู้มีเขาอันตกแล้วดุจสัตว์นอกนี้ ตั้งอยู่
ในจตุปาริสุทธิศีลแล้วเล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก สมาทาน
ธุดงค์ 13 เข้าป่า บำเพ็ญคตวัตร และ ปัจจาคตวัตร กระทำสมณธรรม
เจริญวิปัสสนา จนถึงอนุโลมญาณจึงหยุด ไม่กระทำความพยายามเพื่อมรรคผล
ต่อไป แม้โชติปาลมาณพ ก็ได้กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อฑฺฒ-
มาสูปสมฺปนฺเน
ความว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังทารกแห่งตระกูล
ให้บวชแล้ว ไม่ประทับอยู่หนึ่งเดือน เสด็จไปแล้ว ความเศร้าโศกของมารดา
บิดาไม่สงบ. เขายังไม่รู้การถือบาตรและจีวร ความคุ้นเคยกับภิกษุหนุ่มและ
สามเณรทั้งหลายยังไม่เกิด ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลายยังไม่มั่นคง ยังไม่
เกิดความยินดีในที่ที่ไปแล้ว ๆ แต่เมื่ออยู่ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ มารดา
บิดา ก็ย่อมได้เพื่อเห็น ด้วยเหตุนั้น ความโศกของมารดาและบิดานั้น ย่อม
เบาบางลง ย่อมรู้การถือบาตรและจีวร ย่อมเกิดความคุ้นเคยกับสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลาย ย่อมตั้งมั่น ในที่ไปแล้วๆ
ย่อมมีความยินดียิ่ง ย่อมไม่กระสัน เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ตลอดกาลมีประมาณ
เพียงนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงประทับอยู่
สิ้นกึ่งเดือน ทรงหลีกไปแล้ว.
บทว่า ปณฺฑุมุทิกสฺส สาลิโน ได้แก่ ข้าวสาลีแดงที่กระทำให้
อ่อนนุ่มแห้งแล้ว. ได้ยินว่า ข้าวสาลีนั้นตั้งแต่หว่านไปมีการบริหาร ดังนี้
แปลงนา ต้องมีกระทำบริกรรมเป็นอย่างดี แล้วเอาพืชวางในที่นั้น รดด้วยน้ำ
หอม. ในเวลาหว่าน ผูกลำแพนมีผ้าอยู่เบื้องบน ท่าดุจเพดาน เวลาแก่ ก็

เกี่ยวรวงข้าวเปลือกทำเป็นกำ ๆ ผูกเชือกห้อยตากให้แห้ง ลาดจุณของหอมให้
เต็มฉางเก็บไว้แล้วเปิด ทุกสามปี. ข้าวสาลีแดงกลิ่นหอมที่เก็บไว้ถึงสามปีอย่าง
นี้ ซ้อมเป็นข้าวสารบริสุทธิ์ดี ไม่มีเมล็ดดำ จะตกแต่งเป็นของเคี้ยวชนิดต่าง ๆ
ก็ได้ เป็นข้าวสวยก็ได้. ท่านหมายเอาคำนั้น จึงกล่าวว่า ปณีตญฺจ ขาทนียํ
โภชนียํ ฯลฯ กาลํ อาโรจาเปสิ
แปลว่า ตกแต่งขาทนียะโภชนียะอัน
ประณีต ฯเปฯ แล้วให้ราชบุรุษกราบทูลภัตตกาล ดังนี้.
สองบทว่า อธิวุฏฺโฐ เม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
กัสสป ตรัสหมายถึงอย่างไร ? ตรัสหมายถึงว่า ในเวลาพระองค์เสด็จออก
จากเวภัลลิคะ ฆฏิการะได้ถือเอาปฏิญญาเพื่อให้เสด็จประทับอยู่จำพรรษาใน
สำนักของคนนั้นเสียแล้ว. ตรัสหมายถึงการจำพรรษานั้น . บทว่า อหุเทว
อญฺญถตฺตํ อหุ โทมนสุสํ
ความว่า พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงปรารภถึงความ
ไม่มีลาภ มีความเสียพระทัย มีจิตโทมนัสว่า เราไม่ได้เพื่อถวายทานตลอด
ไตรมาส และไม่ได้เพื่อฟังพระธรรม และไม่ได้เพื่อปฏิบัติพระภิกษุถึง 2 หมื่น
รูป โดยทำนองนี้เสียแล้ว. ไม่ทรงปรารภพระตถาคต. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน.
ได้ยินมาว่า แต่ก่อนพระเจ้ากิกิกาสิราชนั้นทรงนับถือพราหมณ์. ต่อ
มาสมัยหนึ่ง เมื่อชายแดนกำเริบขึ้น ทรงเสด็จไประงับ จึงตรัสสั่งธิดา พระนาม
ว่า อุรัจฉทา ว่า ลูกรัก เจ้าจงอย่าประมาทในเทวดา ของเรา. พวกพราหมณ์
ทั้งหลายเห็นราชธิดานั้นแล้ว ต่างหมดความสำคัญไป. ราชบุรุษทั้งหลายเมื่อ
พระนางถามว่า คนพวกนี้คือใคร ก็ตอบว่า เป็นเทวดา1ของพระองค์. พระ-
ราชธิดาตรัสถามว่า ชื่อว่า ภุมเทวดา มีรูปอย่างนี้เอง แล้วทรงเสด็จขึ้น
ปราสาท. วันหนึ่ง พระนางทรงยืนทอดพระเนตรถนนหลวง ทรงเห็นพระ

1. ฎีกาว่า เตสํ สมญฺญา สมัยนั้นเรียก พราหมณ์เหล่านั้นว่า ภุมเทวดา

อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงสั่งให้นิมนต์มาแล้ว
ถวายบิณฑบาต ทรงสดับอนุโมทนาอยู่เทียว ได้เป็นพระโสดาบัน จึงตรัส
ถามว่า ภิกษุรูปอื่น ๆ ยังมีอีกบ้างไหม ได้ทรงสดับว่า พระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูป เสด็จประทับ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ จึงทรงให้ไปนิมนต์มา
แล้วทรงถวายทาน. พระราชาทรงยังพระราชอาณาเขตให้สงบแล้ว เสด็จกลับ
แล้ว. ทีนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายมาเฝ้าพระราชาก่อนกว่าทีเดียว กล่าวโทษ
พระธิดาแล้วแตกกัน. แต่พระราชาได้ทรงประทานพรไว้ในเวลาพระราชธิดา
ประสูติ. พระญาติทั้งหลาย ขอพรถวายพระนางว่า ขอให้ครองราชย์ 7 วัน.
ครั้งนั้นพระราชาจึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชธิดาสิ้น 7 วัน. พระราชธิดา
ทรงยังพระศาสดาให้เสวยอยู่ สั่งให้เชิญพระราชาเสด็จประทับนั่ง ณ ภายนอก
ม่านแล้ว. พอพระราชาได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระ-
โสดาบัน. ก็ธรรมดาพระโสดาบันจะไม่ทรงมีอาฆาตปรารภพระตถาคต. เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น ตถาคตํ อารพฺถ แปลว่า ความเสียใจ ความ
โทมนัสใจ ไม่ได้ปรารภพระตถาคต.
บทว่า ยํ อิจฺฉติ ตํ หรตุ ความว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อ
ทำภาชนะทั้งหลายไว้ ไม่กระทำการซื้อและการขาย. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
จึงไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนบ้าง เพื่อหาดินบ้าง เพื่อหาใบไม้บ้าง. มหาชนได้ยินว่า
ฆฏิการะช่างหม้อทำภาชนะเสร็จแล้ว จึงถือเอาข้าวสาร เกลือ นมส้ม น้ำมัน
และน้ำอ้อยที่อย่างดี ๆ เป็นต้นมา. ถ้าภาชนะมีค่ามาก มูลค่า มีน้อย. จะต้องให้
สิ่งของสมควรกันจึงค่อยเอาไป ฉะนั้นมหาชนจึงยังไม่เอาภาชนะนั้นไป. จะต้อง
ไปนำเอามูลค่ามาอีก ด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อเป็นพ่อค้า ประกอบด้วยธรรม
ปฏิบัติบำรุงมารดาบิดา บำรุงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อกุศลจักมีแก่เราเป็นอันมาก
ดังนี้. แต่ถ้าภาชนะมีค่าน้อย มูลค่าที่เขานำมามีมาก จะช่วยเก็บงำมูลค่าที่นำ

มาให้ดีเหมือนเจ้าของบ้านแล้วจึงไปด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อ เป็นพ่อค้าที่
ประกอบด้วยธรรม จักเป็นบุญของพวกเรา ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า กัสสป เมื่อจะทรงตัดขาดคลองแห่งพระดำรัสของพระราชาว่า ก็ฆฏิการะ
ช่างหม้อมีคุณถึงอย่างนี้ เหตุไรจึงยังไม่บวช จึงตรัสว่า ฆฏิการะช่างหม้อ
เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ตาบอด ผู้แก่เฒ่า ดังนี้.
บทว่า โก นุ โข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ฆฏิการะ
ช่างหม้อไปไหนละ. บทว่า กุมฺภิยา แปลว่า จากหม้อข้าว. บทว่า ปริโยคา
แปลว่า. จากหม้อแกง. บทว่า ปริภุญฺช แปลว่า จงบริโภคเถิด. ถามว่า
ก็มารดาบิดาของฆฏิการะกล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร. ตอบว่า ได้ยินว่า
ฆฏิการะช่างหม้อหุงข้าวแล้วต้มแกงแล้ว ให้มารดาบิดาบริโภคแล้ว ตัวเองจึง
บริโภค แล้วตั้งข้าว ตั้งแกงที่ตักไว้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะไว้
นำอาหารเข้าไปวางไว้ใกล้ ตั้งนำไว้ให้สัญญาแก่มารดาบิดาแล้วจึงไป
สู่ป่า เพราะฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อภิวิสฺสฏฺโฐ แปลว่า ทรงคุ้นเคย
อย่างยิ่ง. บทว่า ปีติสุขํ น วิชหิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้อไม่ละปิติสุข
ตลอดไป โดยแท้จริง ฆฏิการะช่างหม้อระลึกอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าขณะใด ๆ เป็น
กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ทั้งในบ้านทั้งในป่าว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลก
ที่เรียกว่า พร้อมทั้งเทวโลก ทรงเข้ามาในบ้านเรา ถือเอาอามิสไปบริโภค
ช่างเป็นลาภของเราหนอ ปีติมีวรรณะ 5 ย่อมเกิดขึ้นทุกขณะ ๆ. ท่านกล่าว
คำนั้นหมายถึงเรื่องนี้.
บทว่า กโฬปิยา แปลว่า จากกระเช้า. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำอย่างนี้ได้หรือ. ตอบว่า เป็นเหตุอันชอบธรรม เช่นเดียวกับข้าว
ในบาตรของภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำอย่าง
นั้น. อนึ่ง การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า

เขตแดนแห่งสิกขาบทย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เหมือนอย่างว่า
ดอกไม้และผลไม้ที่มีอยู่ในพระราชอุทยาน คนเหล่าอื่นเก็บดอกไม้แลผลไม้
เหล่านั้นไปย่อมมีโทษ ส่วนพระราชาทรงบริโภคได้ตามพระราชอัธยาศัย ข้อนี้
ก็มีอุปไมยเหมือนอย่างนั้น. ส่วนเถระผู้อยู่ ณ ฝั่งสมุทรข้างโน้น กล่าวว่า
ได้ยินว่า พวกเทวดาทั้งหลายจัดแจงถวายแล้ว ดังนี้.
บทว่า หรถ ภนฺเต ทรถ ภทฺรมุขา ความว่า ลูกของเรา
เมื่อถามว่า จะไปไหน. ก็ตอบว่า ไปสำนักพระทศพล. มัวไปที่ไหนเสีย
กระมังหนอ จึงไม่รู้ว่าที่ประทับของพระศาสดารั่ว เป็นผู้มีจิตยิน
ดีแล้วในการถือเอา มีความสำคัญว่าไม่มีความผิด จึงกล่าวอย่าง
นั้น. บทว่า เตมาสํ อากาสจฺฉทนํ อฏฺฐาสิ ความว่า ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลยไปเดือนหนึ่ง สำหรับฤดูฝน 4 เดือน จึงทรงให้ภิกษุ
ไปนำหญ้ามุงมา เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. อนึ่ง ความเฉพาะบทในเรื่อง
นี้ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า มีอากาศเป็นเครื่องมุง เพราะอรรถว่า อากาศ
เป็นเครื่องมุงของเรือนนั้น. บทว่า น จาติวสฺสิ1 ความว่า มิใช่ว่า ฝนจะ
ไม่รั่วอย่างเดียว ตามธรรมดา หยดน้ำแม้สักหยดหนึ่ง มิได้รั่วแล้วในภายใน
ที่น้ำตก แห่งชายคาที่เรือนฆฏิการะช่างหม้อนี้ ฉันใด แม้ลมและแดดก็ไม่ทำ
ความเบียดเบียนเหมือนดังภายในเรือนที่มีเครื่องมุง อันแน่นหนา ฉันนั้น.
การแผ่ไปแห่งฤดูก็ได้มีตามธรรมดานั่นเอง. ในภายหลัง เมื่อนิคมนั้นแม้ร้างไป
แล้ว ที่ตรงนั้น ฝนก็ไม่ตกรดอยู่นั่นเทียว. พวกมนุษย์ เมื่อกระทำการงาน
ในเมื่อฝนตกก็จะเก็บผ้าสาฎกไว้ที่ตรงนั้นแล้วกระทำการงาน. ที่ตรงนั้นจักเป็น
เช่นนั้นเรื่อยไปตลอดการปรากฏกัปหนึ่ง. ก็อาการที่เป็นเช่นนั้นนั่นแล มิใช่
ด้วยอิทธานุภาพของพระตถาคต แต่ด้วยคุณสมบัติของมารดาและบิดาของ

1. ฉ. น เทโวติวสฺสิ

ฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่นเทียว. แท้จริง มารดาและบิดาของฆฏิการะช่างหม้อ
นั้น มิได้เกิดโทมนัส เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึง
ได้ในที่ไหนจึงทรงให้ทำการรื้อหลังคานิเวสน์ของเรา ผู้ตาบอดทั้งสองคน. แต่
เกิดความโสมนัสอย่างมีกำลังมิใช่น้อยแก่เขาว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลกทั้งเทว
โลกให้มานำหญ้าจากนิเวศน์ของเราไปมุงพระคันธกฏี ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบ
ว่า ปาฏิหาริย์นี้เกิดขึ้นด้วยคุณสมบัติของมารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่น
เทียว ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า ตณฺฑุลวาหสตาทิ นี้ พึงทราบว่า สองร้อยเกวียน เป็น
วาหะ หนึ่ง. คำว่า เครื่องแกง อันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ความว่า
วัตถุมีน้ำมัน น้ำอ้อยเป็นต้นที่สมควรแก่ข้าวสารนั้นเพื่อสูปะ ได้ยินว่า พระราชา
ทรงส่งของมีประมาณเท่านี้ไปด้วย ทรงสำคัญว่า ภัตรจักมีแก่ภิกษุ พันรูป
เพื่อประโยชน์ไตรมาส. คำว่า อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวง
เถิด
ฆฏิการะช่างหม้อ ปฏิเสธแล้ว เพราะเหตุไร. เพราะเป็นผู้บรรลุความ
มีความปรารถนาน้อย. ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า
พระราชาไม่เคยทรงเห็นเรา ส่งมาแล้วเพื่ออะไรหนอแล. แต่นั้นจึงดำริว่า
พระศาสดาเสด็จไปยังพระนครพาราณสี พระองค์เมื่อถูกพระราชาทูลวิงวอน
ให้อยู่จำพรรษาก็ตรัสบอกว่า ทรงรับปฏิญญาของเราไว้แล้วจะตรัสบอกคุณ
กถาของเราแน่แท้ ก็ผู้ที่มีลาภแห่งคุณกถาที่ได้แล้ว ย่อมเป็นเหมือนลาภที่คน
ฟ้อน ฟ้อนแล้วจึงได้ และเหมือนลาภที่คนขับ ขับแล้วได้แล้ว ประโยชน์
อะไรด้วยสิ่งนี้แก่เรา เราอาจกระทำการบำรุงทั้งมารดาและบิดา ทั้งพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยลาภที่เรากระทำการงานแล้วเกิดขึ้น ดังนี้. คำที่เหลือ
ในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาฆฏิการสูตรที่ 1

2. รัฏฐปาลสูตร



[423] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า ถุลลโกฏฐิตะ. พราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลายชาวนิคมถุลลโกฏฐิตะ ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม-
ศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถุลลโกฏฐิตะแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระ-
สมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
ผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองศ์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีคุณอันงามใน
เบื้องต้น มีคุณอันงามในท่ามกลาง มีคุณอันงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การ
เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นการดีดังนี้.
[424] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ได้เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก