เมนู

เป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน
สำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง
ก็ไม่ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อม
ฉันจะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

ตรัสถามถึงการขึ้นช้างเป็นต้น



[517] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษพึงมาในเมืองนี้ ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมาร ทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การ
ขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน
สำนักโพธิราชกุมารนั้น. เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มี
ศรัทธาพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อยจะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธ
น้อยพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้
ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุ-
ผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุ
ผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ 1. ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การ
ถือขอ ในสำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็
ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อมฉัน
ได้จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

องค์ของผู้มีความเพียร 5



[518] ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 เหล่านั้น ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน องค์ภิกษุผู้มีความเพียร 5 เป็นไฉน.
1. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เธอพระ-
ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
ธรรม.
2. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับ
ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลางควรแก่ความเพียร.
3. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ใน
พระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย.
4. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม
ให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย.
5. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิด
และดับเป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้แล. ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็น
ผู้ออกแนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุล-
บุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดปี. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดปี