เมนู

อาตมภาพตอบว่า
ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา
เช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ บาปธรรม
ทั้งหลายอันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ
อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่า
พึงเป็นให้พอเถิดท่าน สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง.

เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์



[514] ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหา
ภิกษุปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. ดูก่อนราชกุมาร
ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เห็นอาตมภาพกำลังมาแต่ไกลเทียว แล้วไต่ตั้งกติกาสัญญา
กันไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมพระองค์นี้ เป็นผู้มักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่
พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้งอาสนะไว้
ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง. อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการ
ใด ๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ในกติกาของตน ด้วยประการนั้น ๆ
บางรูปลุกรับอาตมาภาพ รับบาตรและจีวร บางรูปปูลาดอาสนะ บางรูปตั้งน้ำ
ล้างเท้า แต่ยังร้องเรียกอาตมาภาพโดยชื่อ และยังใช้คำว่า อาวุโส. เมื่อภิกษุ
ปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อานุภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าร้องเรียกตถาคตโดยชื่อ และใช้คำว่าอาวุโสเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด
เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลาย

ปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน
ไม่มีธรรมอันยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม
แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุ
อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม
อลมริยญาณทัสนวิเสสอย่างไรเล่า. เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้แล้ว
อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลาย
ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจัก
สั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติ
ตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้ง
ที่สอง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น
ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม
อลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียน
มาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสส
ได้อย่างไรเล่า. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง อาตมภาพก็ได้กล่าวว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความ
เป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว

เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไร
ก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตร
ทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สาม ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้
กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุก-
กรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย
ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญานทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า. เมื่อภิกษุ
ปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมาภาพได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า
ในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคำเห็นปานนี้.
ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่
เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่
ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่
กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ก่อนราชกุมาร อาตมภาพสามารถให้ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์ยินยอมแล้ว. วันหนึ่ง อาตมาภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สองรูป ภิกษุ
สามรูปไปเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุ
ทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น. อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สามรูป.
ภิกษุสองรูปไปเที่ยวบิณฑบาต ได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็น
ไปด้วยสิ่งนั้น. ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่
เช่นนี้ ไม่นานเลย ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.
[515] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมาร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคต
เป็นผู้แนะนำโดยกาลนานเพียงไรหนอ จึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่
มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ถ้ากระนั้น ในข้อนี้
อาตมภาพจักย้อนถามบพิตรก่อน บพิตรพึงตอบตามที่พอพระทัย บพิตรจัก
ทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บพิตรเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือ การขึ้น
ช้าง การถือขอหรือ.
โพธิราชกุมารทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดใน
ศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง การถือขอ.
[516] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษพึงมาในเมืองนี้ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง
การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนัก
โพธิราชกุมารนั้น. แต่เขาไม่มีศรัทธา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธา
พึงบรรลุ 1 เขามีอาพาธมาก จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึง
บรรลุ 1 เขาเป็นคนโอ้อวด มีมายา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมายาพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้
ปรารภความเพียรพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้มีปัญญาทราม จะไม่พึงบรรลุผลที่
บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ 1 ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน
สำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง
ก็ไม่ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อม
ฉันจะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

ตรัสถามถึงการขึ้นช้างเป็นต้น



[517] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษพึงมาในเมืองนี้ ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมาร ทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การ
ขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน
สำนักโพธิราชกุมารนั้น. เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มี
ศรัทธาพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อยจะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธ
น้อยพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้
ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุ-
ผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ 1 เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุ
ผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ 1. ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การ
ถือขอ ในสำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็
ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อมฉัน
ได้จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.