เมนู

อรรถกถามธุรสูตร



มธุรสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น บทว่า มหากัจจานะ คือ บุตรของปุโรหิต แห่ง
พระเจ้าอุชเชนีก์ในกาลเป็นคฤหัสถ์ มีรูปงาม น่าดู นำมาซึ่งความเลื่อมใสและ
มีผิวดังทองคำ. บทว่า มธุรายํ คือ ในพระนครมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
คุนฺธาวเน คือ ในพระราชอุทยาน ชื่อ กัณหกคุนธาวัน . บทว่า อวนฺติปุตฺโต
ได้แก่เป็นบุตรของธิดาแห่งพระราชาในอวันติรัฐ. คำว่า วุฑฺโฒ เจว อรหา
ความว่า ทั้งหนุ่ม ทั้งสมควร คือ มิได้ยกย่องอย่างคนแก่ฉะนั้น. ส่วน
พระเถระเป็นผู้เจริญด้วย เป็นพระอรหันต์ด้วย. คำว่า พฺราหฺมณา โภกจฺจาน
ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้น ถือลัทธิพราหมณ์ ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น.
ในคำเป็นต้นว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺฐา วณฺณา ท่านแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้น
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น. บทว่า หีโน
อญฺโญ วณฺโณ
วรรณะอื่นต่ำ ความว่า ท่านกล่าวว่าวรรณะสามนอกนี้เป็น
วรรณะต่ำชั่ว. บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว. บทว่า กณฺโห แปลว่า ดำ.
บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า บริสุทธิ์ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตตา ได้แก่ บุตรของมหาพรหม. บทว่า โอรสา
มุขโต ชาตา
ความว่า อยู่ในอก ออกมาจากปาก ชื่อว่า โอรส เพราะ
อรรถว่า การทำไว้ที่อกให้เจริญดีแล้ว. บทว่า พฺรหฺมชา แปลว่า บังเกิด
จากพระพรหม. บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ได้แก่พระพรหมนิรมิตแล้ว. บทว่า
พฺรหฺมทายาทา คือ เป็นทายาทแห่งพระพรหม. บทว่า โฆโสเยว โข
เอโส
นั้น เพียงเป็นโวหาร. บทว่า อิชฺเฌยฺย แปลว่า พึงสำเร็จ.

หมายความว่า ปรารถนาทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเท่าใด มโนรถของเขา
ก็พึงเต็มด้วยทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเพียงนั้น . บทว่า ขตฺติโยปิสฺส ตัด
บทว่า ขตฺติโย อปิ อสฺส คือ เป็นผู้ลุกขึ้นก่อนสำหรับผู้ถึงความเป็นใหญ่.
บทว่า น เตสํ เอตฺถ กิญฺจิ1 ความว่า ในวรรณะ 4 เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็น
จะต่างอะไรกัน. บทว่า อาสเนน วา นิมนฺเตยฺยาม ความว่า พึงปัด
อาสนะที่สำหรับนั่งแล้วเชิญว่า เชิญนั่งที่นี้. บทว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ตํ
ความว่า นำอาสนะนั้นมาแล้ว เชื้อเชิญ. ในการเชื้อเชิญนั้น อภิหาร (ความ
เคารพ) มี 2 อย่าง คือ ทั้งทางวาจา ทั้งทางกาย. คือ เมื่อพูดว่า ท่านมี
ความต้องการด้วยจีวรเป็นต้นอย่างใด ก็ขอจงบอกมาเถิดในขณะที่ท่านต้องการ
แล้ว ๆ ดังนี้ ชื่อว่า เชื้อเชิญ เคารพทางวาจา. แต่เมื่อกำหนดเห็นความวิการ
แห่งจีวรเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงเอาผืนนี้ไปเถิด ถวายจีวรเหล่านั้น ชื่อว่า
เคารพบูชาเชื้อเชิญทางกาย. ท่านกล่าวว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ตํ ดังนี้
หมายเอาการเชื้อเชิญแม้ทั้งสองนั้น. บทว่า รกฺขาวรณคุตฺตึ ได้แก่ การ
คุ้มครอง กล่าวคือ การรักษา และกล่าวคือ การป้องกัน ก็การรักษาที่เขา
จัดตั้งบุคคลให้ถืออาวุธอยู่ ไม่ชื่อว่า การจัดแจงประกอบด้วยธรรม. ส่วนการ
จัดแจงห้ามมิให้คนหาฟืนและคนหาใบไม้เป็นต้น เข้าไปในเวลาที่ไม่ควร ห้าม
พรานเนื้อเป็นต้น มิให้จับเนื้อหรือปลาภายในเขตวิหาร ก็ชื่อว่า การจัดแจง
ที่ประกอบด้วยธรรม. ท่านกล่าวว่า ธมฺมิกํ เพราะหมายเอาการห้ามอันนั้น.
บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า เมื่อบรรพชิตทั้ง 4 วรรณะเสมอกัน สักการะ
ว่าเป็นนักบวช มีอยู่. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถามธุรสูตรที่ 4

1. บาลี นาหํ เอตฺถ กิญฺจิ

5. โพธิราชกุมารสูตร



[486] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขต-
นครสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท. ก็สมัยนั้น ปราสาทชื่อโกกนุท ของ
พระราชกุมารพระนามว่าโพธิ สร้างแล้วใหม่ ๆ สมณพราหมณ์หรือมนุษย์คน
ใดคนหนึ่งยังไม่ได้เข้าอยู่ ครั้งนั้น โพธิราชกุมารเรียกมาณพนามว่าสัญชิกาบุตร.
มาว่า มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้
กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ โพธิราชกุมารถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียร
เกล้า ทูลถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง
ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และจงทูลอย่างนี้ว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารเพื่อ
เสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด. มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราช-
กุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.

ทรงรับนิมนต์



[487] ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวาย