เมนู

ถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจี-
สุจริต มโนสุจริต ไม่มีติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มิผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนี้แล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า
ถึงอยู่.

โปตลิยคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก


[55] ดูก่อนคฤหบดี ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาด
โวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ ดู
ก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นการตัดขาดโวหาร
ทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะเห็นปานนั้น
ในตนบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็กระไร ๆ อยู่ การตัดขาดโวหารทั้ง
สิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันใด ข้าพเจ้า
ยังห่างไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง
ในวินัยของพระอริยะ อันนั้น เพราะเมื่อก่อนพวกข้าพเจ้าได้สำคัญพวกอัญญ-
เดียรถีย์ ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่งถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพา-

ชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา ได้เทิดทูนพวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่
พวกข้าพเจ้าได้สำคัญภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้คบหาภิกษุ
ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา ได้ทั้งภิกษุทั้งหลาย
ผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจักรู้พวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้ไม่รู้ตัวถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักคบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา จักตั้งพวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง พวกข้าพเจ้าจักรู้ภิกษุทั้งหลาย
ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง จักคบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคล
ผู้รู้เหตุผลพึงคบหา จักเทิดทูนภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ยังความรักสมณะในหมู่สมณะ ได้
ยังความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ ได้ยังความเคารพสมณะในหมู่สมณะ ให้
เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้
มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-
ปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไป ดังนี้แล.

จบโปตลิยสูตรที่ 4

4. อรรถกถาโปตลิยสูตร


โปตลิยสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ความว่า ชนบทที่ชื่อว่า
อังคุตตราปะนั้น ก็คือแคว้นอังคะนั่นเอง แอ่งน้ำที่อยู่เหนือแม่น้ำมหี เรียก
กันว่า อังคุตตราปะก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแอ่งน้ำนั้น.
ถามว่า แอ่งน้ำนั้นอยู่ทิศเหนือแม่น้ำมหีไหน ?
ตอบว่า แม่น้ำมหีสายใหญ่ ในข้อนี้จะแถลงให้แจ่มแจ้งดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า ชมพูทวีปนี้ มีเนื้อที่ประมาณ หมื่นโยชน์ ในหมื่นโยชน์
นั้น เนื้อที่ประมาณสี่พันโยชน์คลุมด้วยน้ำ นับได้ว่าเป็นทะเล มนุษย์อาศัย
อยู่ในเนื้อที่ประมาณสามพันโยชน์ ภูเขาหิมพานต์ก็ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ
สามพันโยชน์ สูงร้อยห้าโยชน์ ประดับด้วยยอด แปดหมื่นสี่พันยอดงดงาม
ด้วยแม่น้ำห้าร้อยสาย ไหลอยู่โดยรอบ มีสระใหญ่ตั้งอยู่ 7 สระ คือ สระ-
อโนดาต สระกรรณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ สระ
หงสปปาตะ สระมันทากินี สระสีหปปาตะะ ยาว กว้างและลึกห้าสิบโยชน์ กลม
สองร้อยห้าสิบโยชน์ ในสระทั้ง 7 นั้น สระอโนดาต ล้อมด้วยภูเขา 5 ลูก
คือ สุทัศนกูฏ จิตรกูฎ กาฬกูฎ คันธมาทนกูฏ ไกรลาสกูฏ ในภูเขา 5 ลูก
นั้น สุทัศนกูฏ เป็นภูเขาทอง สูงสองร้อยโยชน์ ข้างในโค้ง สัณฐานเหมือน
ปากกา ตั้งปิดสระนั้นนั่นแล. จิตรกูฏเป็นภูเขารัตนะทั้งหมด กาพกูฏเป็นภูเขา
แร่พลวง คันธมาทนกูฎ เป็นยอดเขาที่มีพื้นราบเรียบ หนาแน่นไปด้วยคันธ-
ชาติทั้งสิบ คือ ไม้รากหอม ไม้แก่นหอม กระพี้หอม ไม้เปลือกหอม ไม้สะเก็ด