เมนู

10. เวขณสสูตร


เรื่องเวขณปริพาชก


[389] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เปรียบเทียบวรรณ 2 อย่าง


[390] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่ง
อุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัจจานะ ท่านทำไมจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่ง
นั้นเป็นไฉน.
เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีต
กว่าวรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.
ภ. ดูก่อนกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือ
ประณีตกว่า.
ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า
วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

[391] ดูก่อนกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม
วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง
ดังนี้ วาจานั้นของท่านพึงขยายออกอย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้
ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารักใคร่นาง
ชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้ คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นางชนปท-
กัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้นพ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พราหมณี
แพศย์ หรือศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ คน
ทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อ
จักรู้หรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขา
พึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อ
ปรารภรักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือมี
ผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง
ตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ พ่อปรารถนารักใคร่หญิงที่
พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นนั้นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่าถูก
แล้ว ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำ
กล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ.
แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น
ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้.
ดูก่อนกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่
พระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็น
วรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่าง
บริสุทธิ์ 8 เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดงย่อมสว่าง
ไสวส่องแสงเรื่องอยู่ฉันใด ตัวตนก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ
ไม่มีโรค.
[392] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้ว-
ไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ 8 เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวาง
ไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรื่องอยู่ 1 แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือน
มืดในราตรี 1 บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่า
กัน.
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลา
เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.
[393] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลง
หิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี 1 ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี 1
บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ำมันในเวลา
เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.
[394] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีป
น้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี 1 กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรี 1
บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลา
เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[395] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟ
ใหญ่เวลาเดือนมืดในราตรี 1 ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี 1 บรรดาวรรณทั้ง 2 นี้ วรรณทั้ง 2 นี้วรรณไหน
จะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ในอากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีต
กว่าด้วย.
[396] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาว
พระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี 1 ดวง-
จันทร์ในเวลาเทียงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถที่
15 ค่ำ [เพ็ญกลางเดือน] 1 บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและ
ประณีตกว่ากัน.
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลา
เที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ 15 ค่ำ นี้งาม
กว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.
[397] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์
ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ 15 ค่ำ
1 ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆในสรทสมัย
เดือนท้ายฤดูฝน 1 บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีต
กว่ากัน.
ข้าแต่พระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง
ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้ งามกว่าด้วย
ประณีตกว่าด้วย.

[398] ดูก่อนกัจจานะ เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสง
พระอาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์
และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้นดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า
วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ชื่อว่า
กล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็น
วรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.
ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ 5 เหล่านี้ กามคุณ 5 เป็นไฉน คือ รูปที่
พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็น
ที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ. . .กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ. . .
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ 5 เหล่านี้แล ความสุขโสมนัสอันใด อาศัย
กามคุณ 5 เหล่านั้นเกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า กามสุข [สุขเกิดแต่
กาม] ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าว
สุขอันเป็นที่สุดของกาม1 ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุขของกามนั้น
เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.

สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม


[399] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญตรัสกามสุขว่าเลิศ
กว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุขอันเป็นที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ในความ
สุขอันเป็นที่สุดของกามนั้นตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดีน่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา.

1. หมายเอานิพพาน