เมนู

ก็เรื่องนี้ เป็นอันยุติว่า บริษัทของสกุลุทายิปริพาชก ได้ทำสกุลุทายิ
ปริพาชกให้เป็นอันตรายในพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจูฬสกุลุทายิสูตรที่ 9

อรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร


จูฬสกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปน ภนฺเต ภควา คือ ปริพาชก
ประสงค์จะฟังธรรมกถานี้ เมื่อจะแสดงความมีอาลัยในพระธรรมเทศนา จึง
กล่าวแล้ว บทว่า ตํเยเวตฺถ ปฏิภาตุ ปัญหาจงปรากฏแก่ท่าน ความว่า
หากท่านประสงค์จะฟังธรรม ปัญหาข้อหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง จงปรากฏแก่ท่าน.
บทว่า ยถา มํ ปฏิภาเสยฺย คือ เป็นเหตุที่จะให้ธรรมเทศนาปรากฏแก่เรา.
ท่านแสดงว่าเมื่อกถาตั้งขึ้นด้วยเหตุนั้น เพื่อจะฟังธรรมได้สบาย. บทว่า ตสฺส
มยฺหํ ภนฺเต
ข้าพระองค์เกิดสติปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า นัยว่า
สกุลุทายิปริพาชกนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นคิดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่นี้ ความแห่งภาษิตนี้จักปรากฏ จึงระลึกถึงพระทศพลว่า
พระทศพลจักทรงทำเนื้อความให้ปรากฏ ดุจให้ประทีปพันดวงช่วงโชติฉะนั้น.
เพราะฉะนั้นสกุลุทายิปริพาชก จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺหํ ภนฺเต
ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อโห นูน ทั้งสองบทเป็นนิบาตลงในความว่า
เป็นที่ระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้นเมื่อสกุลุทายิปริพาชกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้มีความระลึกถึงว่า อโห นูน ภควา อโห นูน สุคโต โอ ผู้ฉลาดใน
ธรรมเหล่านี้ ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่ ต้องเป็นพระสุคตเป็นแน่.
บทว่า โย อิเมสํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นผู้ฉลาดดี
ฉลาดด้วยดี ชำนาญ เฉียบแหลมในธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น พึงทรงกล่าวเป็นแน่. พระสุคตพระองค์นั้น พึงทรงกล่าวเป็นแน่.
เพราะกิเลสเครื่องถึงภพใหญ่น้อยอย่างเดียวแสนโกฏิไม่น้อย ปรากฏแก่
ปุพเพนิวาสญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นี้เป็นอธิบายในบทนี้ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า ตสฺส วาหํ ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ หรือเราพึงปรารภ
ส่วนอดีต ความว่า จริงอยู่ ผู้ใด เป็นผู้มีลาภ ผู้นั้นเมื่อเขากล่าวว่า เมื่อก่อน
ท่านได้เป็นกษัตริย์ ได้เป็นพราหมณ์ เมื่อได้อยู่ จักฟังโดยเคารพ. ส่วนผู้ไม่
มีลาภ จักเป็นอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง เขาย่อมแสดงเพียงกรรมเท่า
นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจะพึงยังจิต
ของผู้นั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต ดังนี้.
บทว่า โส วา มํ อปรนฺตํ ผู้นั้นพึงถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกะเรา
คือ เพราะอนาคตังสญาณ ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ได้ทิพยจักษุ. เพราะฉะนั้นพระองค์
จึงตรัสอย่างนี้. บทนอกนี้มีนัยดังได้กล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า ธมฺมํ โว เทสิสฺสามิ เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย
ความว่า ได้ยินว่า สกุลุทายิปริพาชกนี้ แม้เมื่อแสดงถึงขันธ์ในอดีตก็จักไม่รู้
แม้เมื่อแสดงถึงขันธ์ในอนาคตก็จักไม่รู้. เมื่อเป็นดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามี
พระประสงค์จะทรงแสดงถึงปัจจยาการอันละเอียดอ่อน จึงตรัสอย่างนั้น. ก็
สกุลทายีนั้นจักรู้ขันธ์นั้นได้หรือ จักยังไม่รู้ขันธ์นั้นในทันทีทันใด แต่จักเป็น
ปัจจัยแห่งวาสนาของเขาในอนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดังนี้จึงตรัส

อย่างนั้น. บทว่า ปํสุปีสาจกํ ปีศาจฝุ่น คือ ปีศาจที่เกิดในที่ไม่สะอาด.
ด้วยว่าปีศาจนั้น ถือเอารากไม้รากหนึ่งแล้วไม่ปรากฏกาย. มีเรื่องเล่าว่า
ยักษิณีคนหนึ่งให้ทารก 2 คนนั่งที่ประตูถูปารามแล้วเข้าไปในเมือง
เพื่อแสวงหาอาหาร. พวกเด็กเห็นพระเถระกำลังออกบิณฑบาตรูปหนึ่ง จึงกล่าว
ว่า พระคุณเจ้าขอรับ มารดาของพวกเรา เข้าไปภายในพระนคร พระคุณ
เจ้าเห็นช่วยบอกแก่มารดานั้น เจ้าได้สิ่งใดจงถือเอาสิ่งที่ได้แล้วรีบกลับไปเสีย.
พวกเด็กเหล่านั้นไม่อาจจะรออยู่ได้ เพราะความหิว. พระเถระถามว่าเราจะเห็น
มารดาของเจ้านั้นได้อย่างไรเล่า. พวกเด็กจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้า จงถือเอา
รากไม้นี้เถิด แล้วได้ถวายรากไม้ชิ้นหนึ่ง. ยักษ์หลายพันได้ปรากฏแก่พระเถระ
พระเถระได้เห็นยักษิณีนั้นด้วยสัญญาณที่พวกเด็กให้ไว้. พระเถระเห็นยักษิณี
มีรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว หวังแต่จะหาของสกปรกที่ถนนกันแต่อย่างเดียว จึง
กล่าวความนี้ เมื่อยักษิณีถามว่า ท่านเห็นฉันได้อย่างไร พระเถระจึงแสดงชิ้น
รากไม้ให้ดู. ยักษิณีคว้ารากไม้ถือเอาไป. ปีศาจฝุ่นทั้งหลาย ถือรากไม้รากหนึ่ง
แล้วไม่ปรากฏกายด้วยประการฉะนี้.
สกุลุทายิปริพาชกนั้นกล่าวว่า แม้ปีศาจฝุ่นข้าพระองค์ยังไม่เห็นเลยหมาย
ถึงยักษิณีนั้น. บทว่า น ปกฺขายติ คือไม่เห็นไม่ปรากฏ. บทว่า ทีฆาปิ โข
เต เอสา
ความว่า ดูก่อนอุทายี วาจาของท่านนั้นพึงขยายออกอย่างยืดยาว.
อธิบายว่า เมื่อกล่าวอย่างนั้น พึงเป็นไปร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง และวาจานั้นก็
ไม่พึงแสดงเพื่อความได้ประโยชน์เลย. บทว่า อปฺปาฏิหิรีกตํ เป็นคำใช้ไม่ได้
ความว่าคำนั้นถึงความเป็นคำไม่นำสัตว์ออกไป ไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์. บัดนี้
เมื่อสกุลุทายิปริพาชกจะแสดงถึงวรรณนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบแก้วไพฑูรย์. ในบทเหล่านั้นบทว่า ปณฺฑุกมฺพเล
นิกฺขิตฺโต
แก้วไพฑูรย์ เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลสีแดง คือ วางไว้ที่ผ้ากัมพลสีแดง

อันมีสีไม่เสมอกัน. บทว่า เอวํวณฺโณ อตฺตา โหติ คนก็มีวรรณฉันนั้น
สกุลุทายีกล่าวคำนี้ว่า ตัวตนนั้นในเวลาเราตายย่อมรุ่งเรืองดุจขันธ์ในสุภกิณห-
เทวโลก หมายถึงขันธ์ที่เกิดในสุภกิณหเทวโลก.
บทว่า อยํ อิเมสํ อุภินฺนํ บรรดาวรรณทั้งสองเหล่านี้หิ่งห้อยใน
เวลาเดือนมืดในราตรีนี้งามกว่า ประณีตกว่า ความว่านัยว่ารัศมีของแก้วมณี
ไม่ซ่านออกภายนอก แสงของหิ่งห้อยตัวเล็กแผ่ออกไปเพียง 1 นิ้ว 2 นิ้ว และ
4 นิ้ว ส่วนแสงของหิ่งห้อยตัวใหญ่ แผ่ออกไปแม้ประมาณเท่าบริเวณของลาน
นวดข้าว เพราะฉะนั้น สกุลุทายีจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า วิทฺเธ คือ กระจ่าง
อธิบายว่า อยู่ไกลโดยปราศจากเมฆ. บทว่า วิคตวลาหเก คือ ปราศจากเมฆ.
บทว่า เทเว คือฝน. บทว่า โอสธิตารกา คือ ดาวพระศุกร์. จริงอยู่เพราะอา-
จารย์บางคนบอกกล่าวว่า ชนทั้งหลายย่อมถือเอาโอสถ โดยสัญญาณนั้นตั้งแต่
ดาวพระศุกร์ขึ้น ฉะนั้นดาวนั้นท่านจึงเรียกว่า โอสธิตารกา. บทว่า อภิโท
อฑฺฆรตฺตสมยํ
คือ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึง
ดวงจันทร์ที่ตั้งอยู่ในสมัยคือในท่ามกลางท้องฟ้า. แม้ในบทว่า อภิโท มชฺฌนฺ-
ติเก
ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ก็มีนัยที่เหมือนกัน. บทว่า ตโต โข คือ
เทวดาเหล่านั้นมีมากกว่า กว่านั้น. อธิบายว่า มีมากและมีมากกว่า. บทว่า อาภา
นานุโภนฺติ
คือ สู้แสงพระจันทร์พระอาทิตย์ ไม่ได้. แสงพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างไปด้วยแสงสว่างในตัวของตนเอง.
บัดนี้เพราะสกุลุทายี คิดว่าเราจักถามถึงโลกมีความสุขโดยส่วนเดียว
จึงนั่งนิ่งลืมคำถาม. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้สกุลุทายี ระลึกถึง
คำถามได้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า กึ ปน อุทายิ เอกนฺตสุโข โลโก
ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อาการวตี คือ มีเหตุ. บทว่า อญฺญตรํ วา ปน ตโปคุณํ คุณคือตบะ
อย่างใดอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง ลัทธิของอเจลกะ คือ เว้น
การดื่มสุรา. เพราะเหตุไร สกุลุทายีจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกมี
ความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. นัยว่าสกุลุทายีนั้นได้คิดว่า แม้เราก็กล่าวว่า
ตนมีความสุขโดยส่วนเดียว. อนึ่งเรากล่าวการปฏิบัติเป็นสุขบางเวลา เป็นทุกข์
บางเวลา. แม้ปฏิปทาของตน ผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวก็พึงมีความสุขโดย
ส่วนเดียว. กถาของพวกเราเป็นกถาไม่นำสัตว์ออกไป. ส่วนกถาของพระศาสดา
เป็นกถานำสัตว์ออกไป เพราะเหตุนั้นบัดนี้เราจะถามพระศาสดาแล้ว จึงจะรู้
เพราะฉะนั้นพระเถระจึงถาม.
บทว่า เอตฺถ มยํ อนสฺสาม คือพวกเราไม่ยินดีในเหตุนี้ เพราะเหตุ
ไร บริษัทของสกุลุทายิปริพาชกจึงได้กล่าวอย่างนั้น. นัยว่าบริษัทของสกุลุทายิ
ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า เมื่อก่อนพวกตนตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ กระทำ
กสิณบริกรรมยังตติยฌานให้เกิด ครั้นฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละแล้วเกิดในชั้น
สุภกิณหะแต่เมื่อกาลผ่านไปๆ แม้กสิณบริกรรมก็ไม่รู้. แม้ตติยฌานก็ไม่สามารถ
ให้เกิดได้. อนึ่งพวกเราเรียนธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น 5 ว่า ปฏิปทามีเหตุ.
แล้วเรียนตติยฌานว่าโลกมีสุขโดยส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงกล่าว
อย่างนั้น. บทว่า อุตฺตริตรํ คือสิ่งที่ยิ่งกว่าธรรม 5 นี้. ท่านอธิบายว่า พวก
เราไม่รู้ปฎิปทาหรือโลกอันเป็นสุขโดยส่วนเดียวยิ่งกว่าตติยฌาน . บทว่า
อปฺปสทฺเท กตฺวา คือห้ามปริพาชกเหล่านั้นซึ่งเริ่มจะทำเสียงดังไม่ให้มีเสียง
โดยเตือนครั้งเดียวเท่านั้น. ในบทว่า สฺจฉิกิริยาเหตุเพราะเหตุทำให้แจ้งนี้.
สัจฉิกิริยา มี 2 อย่างคือ ปฏิลาภสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งการได้) 1
ปัจจักขสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งประจักษ์) 1. ในสัจฉิกิริยา 2 อย่างนั้น ผู้ยัง

ตติยฌานให้เกิดแล้ว ตติยฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละเกิดเป็นผู้มีอายุและวรรณ
เสมอเทวดาเหล่านั้น ในสุภกิณหโลก นี้ชื่อว่า ปฏิลาภสัจฉิกิริยา. ผู้ยัง
จตุตถฌานให้เกิดแล้วไปสู่สุภกิณหโลกด้วยการแสดงฤทธิ์แล้วดำรงอยู่สนทนา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น นี้ชื่อว่า ปัจจักขสัจฉิกิริยา ตติยฌานของสัจ-
ฉิกิริยาแม้ทั้งสองนั้นชื่อว่าอาการวดีปฏิปทา ปฏิปทามีเหตุ ไม่ยังตติยฌานให้
เกิดก็ไม่สามารถเกิดในสุภกิณหโลกได้ (และ) ไม่สามารถยังจตุตถฌานให้เกิด
ได้. สกุลุทายีหมายถึงสัจฉิกิริยาทั้งสองแม้นี้จึงทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะ
เหตุทำให้แจ้งโลกมีสุขโดยส่วนเดียวนั้นแน่นอน. บทว่า อุทกมณิโก คือ
หม้อน้ำ. บทว่า. อนฺตรายมกาสิ บริษัทของสกุลุทายีได้ทำอันตราย คือได้
ทำอันตรายโดยที่สกุลุทายีปริพาชกไม่ได้บรรพชา เพราะอุปนิสัยวิบัติ.
ได้ยินว่า สกุลุทายีปริพาชกนี้ได้บวชในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า
ได้บำเพ็ญสมณธรรม. ครั้งนั้นภิกษุสหายของเขาคนหนึ่งกล่าวว่า อาวุโสเขา
เบื่อในศาสนาจักสึกละ. ภิกษุนั้นเกิดความโลภในบาตรและจีวรของภิกษุผู้เป็น
สหายนั้นจึงได้กล่าวถึงคุณของความเป็นคฤหัสถ์. ภิกษุสหายจึงให้บาตรและ
จีวรแก่ภิกษุนั้นแล้วก็สึก. ด้วยกรรมของภิกษุนั้น บัดนี้จึงเกิดอันตรายต่อการ
บรรพชาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. สูตรก่อนของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้นเป็นเพียงภาณวารที่เกิน. สูตรนี้เป็นภาณวารหลัก ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมโดยแบบแผนเพียงเท่านี้. การบรรลุมรรคผลไม่
เกิดแม้ด้วยเทศนาครั้งเดียว. แต่จักเป็นปัจจัยแก่ภิกษุนั้นในอนาคต เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความที่
ธรรมนั้นจะเป็นปัจจัยในอนาคตเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ จึงไม่ทรงแต่งตั้งภิกษุแม้
รูปหนึ่งไว้ในเอตทัคคะในเมตตาวิหารี (มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือเมตตา).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ในอนาคตภิกษุนี้จักบวชในศาสนา
ของเราแล้วจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี. ภิกษุนั้นเมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว บังเกิดในกรุงปาตลีบุตร ในสมัยของพระเจ้าธรรมา-
โศกราชบวชแล้ว ครั้นบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่าพระอัสสคุตตเถระ
ได้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระ-
เถระ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ได้รับเมตตาจิต. พระเถระเป็นอาจารย์สั่งสอน
ภิกษุสงฆ์ในสกลชมพูทวีป อาศัยอยู่ที่ วัตตนิเสนาสนะ. ดงประมาณ 30 โยชน์
ได้เป็นเรือนสำหรับทำความเพียรอย่างเดียว. พระเถระลาดแผ่นหนังไว้บน
อากาศแล้วนั่งบนแผ่นหนังนั้นบอกกรรมฐาน. เมื่อกาลผ่านไปพระเถระไม่ไป
บิณฑบาต นั่งบอกกรรมฐานอยู่ในวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายไปยังวิหารได้ถวาย
ทาน. พระเจ้าธรรมาโศกราชได้สดับคุณของพระเถระ มีพระประสงค์จะทรง
เห็น ได้ทรงส่งคนไปนิมนต์ถึง 3 ครั้ง. พระเถระดำริว่า เราจะให้โอวาทแก่
ภิกษุสงฆ์ ดังนี้แล้วจึงมิได้ไปแม้แต่ครั้งเดียวด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตรที่ 9

10. เวขณสสูตร


เรื่องเวขณปริพาชก


[389] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เปรียบเทียบวรรณ 2 อย่าง


[390] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่ง
อุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัจจานะ ท่านทำไมจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่ง
นั้นเป็นไฉน.
เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีต
กว่าวรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.
ภ. ดูก่อนกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือ
ประณีตกว่า.
ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า
วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.