เมนู

ก็เรื่องนี้ เป็นอันยุติว่า บริษัทของสกุลุทายิปริพาชก ได้ทำสกุลุทายิ
ปริพาชกให้เป็นอันตรายในพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจูฬสกุลุทายิสูตรที่ 9

อรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร


จูฬสกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปน ภนฺเต ภควา คือ ปริพาชก
ประสงค์จะฟังธรรมกถานี้ เมื่อจะแสดงความมีอาลัยในพระธรรมเทศนา จึง
กล่าวแล้ว บทว่า ตํเยเวตฺถ ปฏิภาตุ ปัญหาจงปรากฏแก่ท่าน ความว่า
หากท่านประสงค์จะฟังธรรม ปัญหาข้อหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง จงปรากฏแก่ท่าน.
บทว่า ยถา มํ ปฏิภาเสยฺย คือ เป็นเหตุที่จะให้ธรรมเทศนาปรากฏแก่เรา.
ท่านแสดงว่าเมื่อกถาตั้งขึ้นด้วยเหตุนั้น เพื่อจะฟังธรรมได้สบาย. บทว่า ตสฺส
มยฺหํ ภนฺเต
ข้าพระองค์เกิดสติปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า นัยว่า
สกุลุทายิปริพาชกนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นคิดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่นี้ ความแห่งภาษิตนี้จักปรากฏ จึงระลึกถึงพระทศพลว่า
พระทศพลจักทรงทำเนื้อความให้ปรากฏ ดุจให้ประทีปพันดวงช่วงโชติฉะนั้น.
เพราะฉะนั้นสกุลุทายิปริพาชก จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺหํ ภนฺเต
ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อโห นูน ทั้งสองบทเป็นนิบาตลงในความว่า
เป็นที่ระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้นเมื่อสกุลุทายิปริพาชกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า