เมนู

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็น
ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา
เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

สกุลุทายีขอบวช


[387] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สกุลุทายิปริพาชก
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.
[388] เมื่อสกุลุทายิปริพาชกกราบทูลอย่างนี้แล้ว บริษัทของ
สกุลุทายิปริพาชกได้กล่าวห้ามสกุลุทายิปริพาชกว่า ท่านอุทายี ท่านอย่าประ-
พฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย ท่านอุทายี ท่านเป็นอาจารย์ อย่าอยู่
เป็นอันเตวาสิกเลย เปรียบเหมือนหม้อน้ำแล้วจะพึงเป็นจอกน้อยลอยในน้ำ
ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็จักมีแก่ท่านอุทายี ฉันนั้น ท่านอุทายี ท่านอย่าประ-
พฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย ท่านอุทายีเป็นอาจารย์ อย่าอยู่เป็น
อันเตวาสิกเลย.

ก็เรื่องนี้ เป็นอันยุติว่า บริษัทของสกุลุทายิปริพาชก ได้ทำสกุลุทายิ
ปริพาชกให้เป็นอันตรายในพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจูฬสกุลุทายิสูตรที่ 9

อรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร


จูฬสกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปน ภนฺเต ภควา คือ ปริพาชก
ประสงค์จะฟังธรรมกถานี้ เมื่อจะแสดงความมีอาลัยในพระธรรมเทศนา จึง
กล่าวแล้ว บทว่า ตํเยเวตฺถ ปฏิภาตุ ปัญหาจงปรากฏแก่ท่าน ความว่า
หากท่านประสงค์จะฟังธรรม ปัญหาข้อหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง จงปรากฏแก่ท่าน.
บทว่า ยถา มํ ปฏิภาเสยฺย คือ เป็นเหตุที่จะให้ธรรมเทศนาปรากฏแก่เรา.
ท่านแสดงว่าเมื่อกถาตั้งขึ้นด้วยเหตุนั้น เพื่อจะฟังธรรมได้สบาย. บทว่า ตสฺส
มยฺหํ ภนฺเต
ข้าพระองค์เกิดสติปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า นัยว่า
สกุลุทายิปริพาชกนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นคิดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่นี้ ความแห่งภาษิตนี้จักปรากฏ จึงระลึกถึงพระทศพลว่า
พระทศพลจักทรงทำเนื้อความให้ปรากฏ ดุจให้ประทีปพันดวงช่วงโชติฉะนั้น.
เพราะฉะนั้นสกุลุทายิปริพาชก จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺหํ ภนฺเต
ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อโห นูน ทั้งสองบทเป็นนิบาตลงในความว่า
เป็นที่ระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้นเมื่อสกุลุทายิปริพาชกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า