เมนู

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีอยู่อย่างนี้ว่า วรรณนี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง วรรณนี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้
ข้าพระองค์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าสอบสวน ซักไซร้ ไล่เรียง
ในลัทธิอาจารย์ของตน ก็เป็นคนว่างเปล่าผิดไปหมด.

ปัญหาเรื่องทุกข์-ทุกข์


[380] ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ ปฏิปทา
ที่มีเหตุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีอยู่อย่างนี้ว่า โลกมีความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียว ก็มีอยู่.
ดูก่อนอุทายี ก็ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว
นั้นเป็นไฉน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด
เท็จ สมาทานคุณ คือตบะอย่างใดอย่างหนึ่งประพฤติอยู่ นี้แลปฏิปทาที่มีเหตุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว พระเจ้าข้า.
[381] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่
บุคคลละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือ
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง.
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ
ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง
ทุกข์บ้าง.
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.
ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพระพฤติผิดในกามนั้น ตนมีสุขโดยส่วน
เดียวหรือมีสุขบ้างทุกข์บ้าง.
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.
ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จนั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง
ทุกข์บ้าง.
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.
ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนสมาทาน
คุณคือตบะอย่างใดอย่างหนึ่งประพฤติอยู่นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุข
บ้างทุกข์บ้าง.
มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.
ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การจะอาศัยปฏิปทา
อันมีทั้งสุขและทุกข์เกลื่อนกล่น แล้วทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มี
อยู่บ้างหรือหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงคัดค้าน
เรื่องนี้เสียแล้ว.
ดูก่อนอุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัด
ค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงคัดค้านเรื่องนี้เสียแล้ว ดังนี้เล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีอยู่อย่างนี้ว่า โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่ ดังนี้ ข้าพระองค์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า
สอบสวน ซักไซร้ ไล่เรียง ในลัทธิอาจารย์ของตน ก็เป็นคนว่างเปล่า ผิด
ไปหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โลกซึ่งมีความสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ
ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ.
ดูก่อนอุทายี โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้
แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวให้แจ้งชัดก็มีอยู่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียวนั้นเป็นไฉน.

ฌาน 4
[382] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ 1
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ 1
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ
อยู่เป็นสุข 1 นี้แลปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไมหนอ ปฏิปทานั้นจึงเป็นปฏิปทาที่มีเหตุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้ เพราะโลกมีความสุขโดยส่วน
เดียว เป็นอันภิกษุนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปฏิปทามีประมาณเท่านี้.

ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขส่วนเดียว จะเป็นอันภิกษุนั้นทำให้แจ้ง
ชัดด้วยปฏิปทามีประมาณเท่านี้หามิได้แล แต่ปฏิปทานั้นมีเหตุทีเดียว เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้.
[383] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายิ-
ปริพาชกได้บันลือเสียงสูงเสียงใหญ่กันเอ็ดอึงว่า เราทั้งหลายพร้อมทั้งอาจารย์
จะได้ยินดีในเหตุนี้หามิได้ เราทั้งหลายพร้อมทั้งอาจารย์ จะได้ยินดีในเหตุนี้หา
มิได้ เราทั้งหลายยังไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาที่ยิ่งไปกว่านี้ ลำดับนั้น สกุลุทายิปริพา-
ชก ห้ามปริพาชกเหล่านั้นให้สงบเสียงแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงเป็นอันภิกษุนั้นทำให้
แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้เล่า.
[384] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ยืนด้วยกัน เจรจากัน กับเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวเหล่านั้นได้ ดูก่อนอุทายี ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แลเป็น
อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุจะทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนี้ โดย
แท้หรือ.
ดูก่อนอุทายี ภิกษุทั้งหลายจะพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุ
จะทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนี้ หามิได้ ดูก่อนอุทายี ธรรมเหล่าอื่น
ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะ
เหตุที่จะทำให้แจ้งชัดนั้น ยังมีอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมทั้งหลายที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าที่ภิกษุ
ทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุจะทำให้แจ้งชัด
นั้นเป็นไฉน.
[385] ดูก่อนอุทายี พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระ
อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของพวกเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น
ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา
อันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีคุณอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ย่อมฟังธรรมนั้น แล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยศรัทธานั้น
ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็น
ทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะพระพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกอง
โภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ-
โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นในโทษเพียงเล็กน้อยว่า
เป็นภัย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม
ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นผู้สันโดษ ฯลฯ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการ
เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว เธอ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แลเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้
แจ้งชัด.
ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้
แจ้งชัด.
ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนอุทายี ธรรม
แม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.
ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่
มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีต
กว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

ญาณ 3


[386] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึก
ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้
นี้แลเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์
ในเราเพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังอุปบัติ
เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ