เมนู

กุสลสังกัปปะ


[365] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ความดำริเป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อน
นายช่างไม้ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริ
ในอันไม่เบียดเบียนเหล่านี้ เราก็กล่าวว่า ความดำริเป็นกุศล ก็ความดำริเป็น
กุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งความดำริเป็นกุศลนั้น เรากล่าว
แล้วก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาเป็นไฉน แม้สัญญาก็มีมาก
หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็น
สัญญาในความไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน
ความดำริ
เป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน ก็ความดำริเป็นกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในที่
ไหน แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับลงหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นกุศลเหล่านี้ ก็ผู้
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น. . .
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว . . . เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น . . . เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อ
ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความ
ดำริเป็นกุศล.

อเสกขธรรม 10


[366] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
10 ประการเหล่าไหน ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึง
ภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมาสังกัปปะเป็นของ
อเสขบุคคล 1 สัมมาวาจาเป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมากัมมันตะเป็นของอเสข-
บุคคล 1 สัมมาอาชีวะเป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมาวายามะเป็นของอเสขบุคคล
1 สัมมาสติเป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมาสมาธิเป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมาญาณะ
เป็นของอเสขบุคคล 1 สัมมาวิมุตติเป็นของอเสขบุคคล 1 เราย่อมบัญญัติบุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศล
อย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ช่างไม้ปัญจกังคะ
ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.
จบสมณมุณฑิกสูตรที่ 8

8. อรรถกถาสมณมุณฑิกสูตร


สมณมุณฑิกสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุคฺคาหมาโน ปริพาชกชื่อว่า อุคคาห-
มานะ ชื่อเดิมของปริพาชกนั้นว่า สุมนะ แต่เพราะสามารถเรียนวิทยา
หลายอย่าง ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า อุคคาหมานะ. ชื่อว่า สมยมฺปวาทกํ