เมนู

คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้
เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่อง
ชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องหญิงสาว
ใช้ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง
ความเจริญ และความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ.
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่ง
กำลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาเสียง
หน่อย อย่าส่งเสียงนัก ช่างไม้ปัญจกังคะ ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังมา
บรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวประมาณเท่าใด อาศัย
อยู่ในพระนครสาวัตถี นายช่างปัญจกังคะนี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา ได้รับแนะนำในการมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญคุณ
ของเสียงเบา บางทีช่างไม้ปัญจกังคะทราบว่าบริษัทมีเสียงเบา จะพึงสำคัญที่จะ
เข้ามาหาก็ได้ ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งอยู่ ลำดับนั้น นายช่างปัญจกังคะ
ได้เข้าไปหาอุกคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่ใกล้ ได้ปราศรัยกับ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

วาทะของปริพาชก


[358] อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้กล่าวกะนายช่างไม้
ชื่อปัญจกังคะ ผู้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษ
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง

เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ธรรม 4 ประการเป็นไฉน
ดูก่อนนายช่างไม้ บุคุคลในโลกนี้ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว
ไม่ดำริถึงความดำริชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว
เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะ
ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้ ลำดับนั้น นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร แล้วลุก
จากอาสนะหลีกไป ด้วยดำริว่า เราจักรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลเล่าการเจรจา
ปราศรัยกับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
[359] เมื่อนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคำของ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็น
ผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบ
ได้ ดูก่อนนายช่างไม้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่ากาย ดังนี้ ก็
ยังไม่มี ที่ไหนจักทำกรรมชั่วด้วยกายได้เล่า นอกจากจะมีเพียงอาการดิ้นรน
เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า วาจา ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจัก
กล่าววาจาชั่วได้เล่า นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แม้แต่จะรู้ว่า ความดำริ ดังนี้ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักดำริชั่วได้เล่า นอกจากจะ
มีเพียงการร้องไห้และการหัวเราะ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า
อาชีพ ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักเลี้ยงชีพชั่วได้เล่า นอกจากน้ำนมของมารดา
ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคำของอุคคาหมานปริพาชก

สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศล
อย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้.

เสกขภูมิ
[360] ดูก่อนนายช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการ ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์เลย ไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะผู้
ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยัง
นอนหงายอยู่บ้าง ธรรม 4 ประการ เป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ บุคคลใน
โลกนี้ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว ไม่ดำริถึงความดำริ
ชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว
เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม 4 ประการนี้แล
ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ มิใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอัน
อุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง.
[361] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
13 ประการ ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้ถึงภูมิปฏิบัติ
อันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล ศีลเป็น
อกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่าง
นี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้ ข้อที่ศีลเหล่านี้
เป็นกุศล ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้
ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล เรากล่าวว่าควรรู้
ข้อที่ความดำริเหล่านั้นเป็นอกุศล ความดำริเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความ
ดำริเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับ
แห่งความดำริเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้ ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล

ความดำริเป็นกุศล มีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความดำริเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้
ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล เรากล่าวว่า
ควรรู้.

อเสกขภูมิ


[362] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลที่เป็นอกุศลนั้นเป็นไฉน ดูก่อนนาย
ช่างไม้ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล การเลี้ยงชีพชั่ว เหล่านี้
เรากล่าวว่าศีลเป็นอกุศล ก็ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏ-
ฐานแห่งศีลเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน
จิตเป็นไฉน ถึงจิตเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ จิตใดมีราคะ
โทสะ โมหะ
ศีลเป็นอกุศลมีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน ก็ศีลเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับ
ลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าว
แล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกาย
สุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉา
อาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการ
ละทุจริต เจริญสุจริต และการละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ
ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการละทุจริต เจริญสุจริตและการละ
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่า ปฏิบัติ
เพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.
ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
เกิดมิให้เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้