เมนู

8. สมณมุณฑิกสูตร


เรื่องอุคคาหมานปริพาชก


[256] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ปริพาชกชื่อ
อุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่
ประมาณ 500 อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ในตำบลเอก-
สาลาชื่อว่า ติณฑุกาจีระ [แวดล้อมด้วยแถวต้นพลับ] เป็นที่ประชุมแสดง
ลัทธิของนักบวช ครั้งนั้นช่างไม้ผู้หนึ่งชื่อ ปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถี
เพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาเที่ยงแล้ว ครั้งนั้น เขามีความดำริว่า
เวลานี้มิใช่กาลที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้น
อยู่และไม่ใช่สมัยที่จะไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญ
ทางใจก็หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก
สมณมุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อ
ว่าติณฑุกาจีระ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวชเถิด ลำดับนั้น ช่างไม้
ปัญจกังคะจึงเข้าไปยังอารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อว่า
ติณฑุกาจีระ.

ติรัจฉานกถา


[357] สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร นั่งอยู่
กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกำลังพูดติรัจฉานกถาหลายประการ ด้วยการ
ส่งเสียงอื้ออึงอึกทึก.

คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้
เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่อง
ชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องหญิงสาว
ใช้ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง
ความเจริญ และความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ.
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่ง
กำลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาเสียง
หน่อย อย่าส่งเสียงนัก ช่างไม้ปัญจกังคะ ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังมา
บรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวประมาณเท่าใด อาศัย
อยู่ในพระนครสาวัตถี นายช่างปัญจกังคะนี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา ได้รับแนะนำในการมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญคุณ
ของเสียงเบา บางทีช่างไม้ปัญจกังคะทราบว่าบริษัทมีเสียงเบา จะพึงสำคัญที่จะ
เข้ามาหาก็ได้ ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งอยู่ ลำดับนั้น นายช่างปัญจกังคะ
ได้เข้าไปหาอุกคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่ใกล้ ได้ปราศรัยกับ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

วาทะของปริพาชก


[358] อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้กล่าวกะนายช่างไม้
ชื่อปัญจกังคะ ผู้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษ
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง