เมนู

ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึง
แล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้า คือ ภิกษุขีณาสพ เป็นผู้ไม่
ควรแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต 1 เป็นผู้ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้อัน
เป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย 1 เป็นผู้ไม่ควรเสพเมถุนธรรม 1 เป็นผู้ไม่ควร
กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ 1 เป็นผู้ไม่ควรทำการสั่งสม บริโภคกามทั้งหลาย เหมือน
เมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน 1 ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์
ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้าเหล่านี้.

รู้ว่าเราหมดอาสวะได้อย่างไร


[312] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์
ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ เมื่อภิกษุนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี
ความรู้ความเห็นว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้วดังนี้ ปรากฏเสมอเป็นนิจ
หรือ.
ดูก่อนสันทกะ ถ้าเช่นนั้น เราจักทำอุปมาแก่ท่าน วิญญูชนบางพวก
ในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนมือและเท้า
ของบุรุษขาดไป เมื่อบุรุษนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่
ก็ดี มือและเท้าก็เป็นอันขาดอยู่เสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเขาพิจารณาย่อม
รู้ได้ว่ามือและเท้าของเราขาดแล้ว ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นพระอรหันต์

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว
มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่
ก็ดี อาสวะทั้งหลายก็เป็นอันสิ้นไปเสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเธอพิจารณา
ย่อมรู้ได้ว่าอาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.
[313] ท่านพระอานนท์ ก็ในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุผู้นำ [ตน] ออก
ไปได้จากกิเลสและกองทุกข์มากเพียงไร.
ดูก่อนสันทกะ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้นำ [ตน] ออกไปได้จากกิเลส
และกองทุกข์นั้น มิไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย
ไม่ใช่ห้าร้อย ความจริงมีอยู่มากทีเดียว.
ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัย
นี้ ไม่ได้มีการยกย่องแต่ธรรมของตน และมีคำติเตียนธรรมของผู้อื่น มีแต่การ
แสดงธรรมมากมายเพียงนั้น ส่วนอาชีวกเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มี
บุตรตายแล้ว ยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นเท่านั้น ทั้งตั้งศาสดาไว้สามคน คือ
นันทวัจฉะ 1 กิสสังกิจจะ 1 มักขลิโคสาล 1 ว่าเป็นผู้นำ [ตน] ออกจาก
กิเลสและกองทุกข์ได้. ลำดับนั้น สันทกปริพาชก เรียกบริษัทของตนมาว่า พ่อ
ผู้เจริญทั้งหลาย จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมย่อมมีผล แต่ว่าบัดนี้เราทั้งหลายสละลาภสักการะความสรรเสริญ
เสียนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย.
สันทกปริพาชกส่งบริษัทของตนไปในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสันทกสูตรที่ 6

6. อรรถกถาสันทกสูตร


สันทกสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปิลกฺขคุหายํ ที่ประตูถ้านั้นได้มีต้น
เลียบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปิลักขคูหา. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต
พระอานนท์ออกจากที่เร้น คือออกจากวิเวก. บทว่า เทวกตโสพฺโภ บ่อน้ำ
ที่น้ำฝนเซาะ คือสระนำใหญ่เกิดในที่ที่ถูกน้ำฝนเซาะ. บทว่า คุหา ในบทว่า
คุหาทสฺสนาย เพื่อดูถ้ำนี้ เป็นถ้ำเต็มไปด้วยฝุ่น. ถ้านั้นได้อยู่ในที่ที่พ้นน้ำ
เป็นที่ดอน. ชนทั้งหลายทำอุโมงค์ตลอดนำตอไม้และฝุ่นออก ยกเสาไว้ภายใน
ข้างบนสุดมุงด้วยกระดานทำเป็นเรือนชั่วคราว. พวกปริพาชกเหล่านั้นอยู่กันใน
ถ้ำนั้น. ถ้ำนั้นในฤดูฝนมีน้ำขังเต็ม. ถึงหน้าแล้ง ปริพาชกพากันไปอยู่ในถ้ำนั้น
พระอานนท์กล่าวว่า คุหาทสฺสนาย หมายถึงถ้ำนั้น. จริงอยู่ การไปเพื่อดู
วิหาร หรือว่าเพื่อดูสมุทรและภูเขา เพราะพิจารณาซึ่งสังสารวัฏอันมีเบื้องต้น
และที่สุดอันบุคคลตามรู้ไม่ได้แล้ว ย่อมควร. บทว่า อุนฺนาทินิยา ด้วย
เสียงสูง คือแผดเสียงเอ็ดตะโร. ติรัจฉานกถานั้น แผดเสียงอยู่อย่างนี้
สูงด้วยส่ง เสียงสูงเสียงดังแพร่ไปในทิศทั้งหลาย. เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า
อุจฺจาสทฺทมหาสทฺโท เพราะเสียงสูงและเสียงดัง. ปริพาชกเหล่านั้นลุกขึ้น
แต่เช้าตรู่แล้วควรทำเจติยวัตร โพธิวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร หรือ
โยนิโสมนสิการไม่มีเลย. พวกเขาลุกแต่เช้าตรู่ กลางวันประชุมกัน ตอนเย็น
ประชุมสนทนากัน เพื่อหาความสบาย. เริ่มคุยกันถึงเรื่องมือและเท้าเป็นต้น
ของกันและกันอย่างนี้ว่า มือของคนนี้งาม เท้าของคนนี้งาม หรือคุยกันถึง
ผิวพรรณของหญิง ชาย เด็กหญิงและเด็กชายหรือเรื่องอื่น ๆ เช่นความชื่นชม