เมนู

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท


[270] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มัก
เห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าว
อย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควร
แก่เรา ดังนี้ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์
พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้าง
กิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้
ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลส
เป็นเหตุยึดมั่น อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณ-
พราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประ-
กอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุ
กล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมทรง
ยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้น ๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่
มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา
นั้น ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้าง
กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็น
เหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้าง
ธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้

ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้
ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
[271] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณ-
พราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวง
ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เรา
ก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา 1 สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา 1 เมื่อความถือผิด
กันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียง
กัน เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนก็มี วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็น
ความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน
ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละ
คืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็น
นั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น
ซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า
สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา 1
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่ง
ไม่ควรแก่เรา 1 เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี
ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียด-

เบียนกันก็มี วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความ
แก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย
ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการ
ฉะนี้ อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าว
อย่างนี้. มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งความแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่ง
ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้น
จริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณ-
พราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา 1 สมณ-
พราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา 1 เมื่อ
ความถือผิดกันมีอย่างนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความ
แก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี วิญญูชนนั้น
พิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความ
เบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียดาย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ
การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
[272] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มี
มารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็น
นิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็น
ของมิใช่ตน เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็น
ดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่าน

ย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายใน
กายได้.

เวทนา 3


[273] อัคคิเวสสนะ เวทนา 3 อย่างนี้ คือ สุขเวทนา 1 ทุกข-
เวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 อัคคิเวสสนะ ในสมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุข
เวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวย
อทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิด
ขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนา
ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุข-
เวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับ
ใคร ๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วย
ทิฏฐิ.