เมนู

การละขันธ์ 5


[251] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึง
บัญญัติเพราะรูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็น
ดุจตาลยอด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคต
พ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก
เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด
ก็หามิได้ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด. . . เพราะ
สัญญาใด. . . เพราะสังขารเหล่าใด. . . เพราะวิญญาณใด. . . วิญญาณนั้น
ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความ
ไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่าวิญญาณ
มีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือน
มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะ
กล่าวว่า เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.

ปริพาชกวัจฉโคตรถึงสรณคมน์


[252] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่
ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละ
ใหญ่นั้น จะหลุดร่วง กะเทาะไป เพราะเป็นของไม่เที่ยง สมัยต่อมา ต้นสาละ
ใหญ่นั้นปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่
แก่นล้วน ๆ ฉันใด พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น ปราศจากกิ่ง
ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่แต่คำอันเป็นสาระล้วน ๆ.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระ-
โคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีบในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มี
จักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึง
สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบอัคคิวัจฉโคตตสูตรที่ 2

2. อรรถกถาอัคคิวัจฉ1 สูตร


อัคคิวัจฉโคตตสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สตํ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า น โข อหํ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น คือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในครั้งแรกว่าเราไม่เห็นว่าโลกเที่ยง. ในครั้งที่ 2 ตรัส
ว่า เราไม่เห็นว่าโลกขาดสูญ. พึงทราบการปฏิเสธในทุกวาระด้วยคำมีอาทิว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยประการฉะนี้. วาทะนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ
สัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี เป็นวาทะว่าเที่ยงบางอย่างในที่นี้. วาทะนี้
ว่าสัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ พึงทราบว่า เป็น อมราวิกเขปะ
(ทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว).
บทว่า สทุกฺขํ เป็นไปกับด้วยทุกข์ คือเป็นไปกับด้วยทุกข์ ด้วยทุกข์
อันเกิดแต่กิเลส และด้วยทุกข์อันเกิดแต่วิบาก. บทว่า สวิฆาตํ เป็นไปกับ

1. บาลีเป็นอัคคิวัจฉโคตตสตร.