เมนู

ดูก่อนวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้
รู้จักอาชีวกบางคนที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที
กิริยวาที.
ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญ
โดยที่สุดจากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซี.
อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณ
เครื่องไปสู่สวรรค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร
ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบจูฬวัจฉโคตตสูตรที่ 1

อรรถกถาปริพพาชกวรรค


1. อรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตร 1


เตวิชชวัจฉสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับ
มาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นว่า เอกปุณฺฑริเก ต้นมะม่วงขาวท่านเรียกว่า
ปุณฑริกะ. ชื่อว่า เอกปุณฺฑริโก เพราะต้นปุณฑริกต้นนั้นมีอยู่ต้นเดียวใน
อารามนั้น. บทว่า เอตทโหสิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริ เพราะ
มีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไป ในปริพพาชการามนั้น. บทว่า จิรสฺสํ โข ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญกว่าพระองค์จะเสด็จมานานทีเดียว หมายถึงเคยเสด็จมาตาม

1 บาลีว่า จฬวัจฉโคตตสูตร.

ปรกติ. ในบทว่า ธมฺมสส จ อนุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ
ชื่อว่า ธรรม. การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในชีวกสูตรนั้นแล. บทว่า น เม ไม่เป็นอันกล่าว
ตามคำที่เรากล่าวแล้ว คือ ตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความเห็นชอบ.
เพราะพระสัพพัญญูมีปรกติเห็นสิ่งทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะ ไม่มีส่วน
เหลือ ฉะนั้นญาณทัสนะนี้ควรรู้ตาม. บทว่า จรโต จ เม ปจฺจุปฏฺฐิตํ เมื่อ
เราเดินไปก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วนี้ ไม่สมควรรู้ตาม. เพราะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงคำนึงด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงรู้. ฉะนั้นทรงตั้งอยู่ในความ
ไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความชอบจึงตรัสอย่างนี้. ในบทว่า อาสวานํ ขยา
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เพียงใด. เพราะอาสวะทั้งหลายที่สิ้นไปแล้ว
ครั้งเดียว มิได้มีอาสวะที่จะพึงสิ้นไปอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวย่อ
พระคุณทั้งสิ้นด้วยวิชชา เหล่านี้ คือ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในอดีต
ด้วยปุพเพนิวาสญาณ 1 ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในปัจจุบัน ด้วยทิพจักขุ-
ญาณ 1 ทรงแสดงโลกุตตรญาณ ด้วยอาสวักขยญาณ 1. บทว่า คิหสํโยชนํ
สังโยชน์ของคฤหัสถ์ คือ ความผูกพันของคฤหัสถ์คือความใคร่ในบริขารของ
คฤหัสถ์. บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละ
คิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี. แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์
คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุ
พระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไป
ด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศ
คฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศ
คฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่
ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.

ในกามภพที่เหลือ พระอริยบุคคล 3 จำพวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ยัง
ดำรงอยู่ได้ในมนุษยโลก. ในกามาวจรเทวโลก พระโสดาบันและพระสกทาคามี
ยังดำรงอยู่ได้. แต่พระอนาคามีและพระขีณาสพจะดำรงอยู่ในกามาวจรเทวโลก
นี้ไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะที่นั้นมิใช่เป็นที่อยู่ของชนผู้ละอายแล้ว. และที่
นั้นมิใช่เป็นที่ปกปิดที่สมควรแก่วิเวกขอพระขีณาสพเหล่านั้น.
ด้วยประการฉะนี้ พระขีณาสพจึงปรินิพพาน ณ ที่นั้น. พระอนาคามี
จุติแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาส. พระอริยะแม้ 8 จำพวก ย่อมดำรงอยู่ในภูมิ
เบื้องบน แต่กามาวจรเทวโลกได้. บทว่า โสจาปิ กมฺมวาที คือ อาชีวกที่
เป็นกรรมวาที. บทว่า กิริยวาที พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านผู้อื่นแล้ว
ทรงกล่าวถึงพระองค์เองเท่านั้นในที่สุด 891 กัป. ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระ-
มหาสัตว์ทรงผนวชเพื่อทรงสอบสวนลัทธิปาสัณฑะ (เป็นลัทธิเกี่ยวกับตัณหา
และทิฏฐิ). ครั้นทรงทราบว่าลัทธิปาสัณฑะนั้นไม่มีผล ก็มิได้ทรงเลิกละความ
เพียรได้เป็นกิริยวาทีไปบังเกิดบนสวรรค์. เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทที่
เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตรที่ 1

1. บาลีว่า 91 กัป

2. อัคคิวัจฉโคตตสูตร


เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร


[244] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ทิฏฐิ 10 อย่าง


[245] ปริพาชกวัจฉโคตร นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง
สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.
ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด
สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.
ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า ชีพก็อันนั้น
สรีระก็อันนั้น สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.