เมนู

นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ ด้วยความตั้งใจว่า นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่า
ได้เสื่อมไปจากเขาเลย ฉันใด ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็
ฉันนั้น นำชีวิตไปด้วยความศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ
ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ
นั้น ภิกษุทั้งหลายจึงเจวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำ
ชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจัก
ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ
ความรักพอประมาณ ของเธออย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย ดูก่อนภัททาลิ นี้แล
เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลาย
ที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เมื่อก่อน
ได้มีสิกขาบทน้อยนักเทียว แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก และอะไร
เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เดี๋ยวนี้ ได้มีสิกขาบทเป็นอันมาก แต่ภิกษุดำรงอยู่ใน
อรหัตผลน้อยนัก.

อาสวัฏฐานิยธรรม


[172] ดูก่อนภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
กำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุ
ดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้ง
หลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรม
วินัยนี้ ต่อเมื่อใด อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัย
นี้ เมื่อนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัด

อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์
ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ต่อเมื่อใด สงฆ์
ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงจะปรากฏในสงฆ์
ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏ
ในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ . . . .
ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ . . . ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต . . . ยังไม่ถึงความ
เป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิย-
ธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้นพระศาสดาจึงทรง
บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.
[173] ดูก่อนภัททาลิ ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วย
อาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลายได้มีอยู่น้อย เธอยัง
ระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ.
ข้าพระองค์ระลึกถึงธรรมปริยายข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภัททาลิ ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์นั้นมิได้ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขา
ในศาสนาของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย หามิได้ แต่เรากำหนดใจด้วยใจ รู้เธอมานานแล้วว่า โมฆบุรุษ
นี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจ ไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง
ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ก็เราจักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนย
หนุ่มแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ท่านพระภัททาลิ
ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ธรรม 10 ประการ


[174] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือน
นายสารถีฝึกม้าคนขยัน ได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้
รู้เหตุในการใส่บังเหียน เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการใส่บังเหียน ความ
ประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบลงได้ใน
การพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้
เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุ
ยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการเทียมเอก
ความพระพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ที
เดียว เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้ให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบ
ลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึก
ให้รู้โดยลำดับ ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะ
นายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีผู้ฝึกม้า
จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการก้าวย่าง1 ในการวิ่งเป็นวงกลม2 ในการ
จรดกีบ3 ในการวิ่ง ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ
เพราะเสียงกึกก้องต่าง ๆ ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า
ในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อน
หวานชั้นเยี่ยม เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการ
เป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม ความประพฤติ

1. ในการยกและวางเท้าทั้ง 4 ครั้งเดียวกัน 2. ในการสามารถให้คนนั่งบนหลัง เก็บอาวุธที่
ตกภาคพื้นได้ 3. ในการประสงค์จะให้เดินเบา ไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงฝีเท้า.