เมนู

ดูก่อนอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะเป็นผู้
ฉลาดในธรรมของพระอริยะได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็น
สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสัก-
กายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอัน
วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้น
แล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อมทั้ง
อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่
ได้อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้ง
อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้
อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็น
เครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวก
นั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำ
ไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้
ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์


[156] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่
เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภา-
คิยสังโยชน์ 5 ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน

ข้อที่ว่า ไม่ถูกเปลือกไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถาก
แก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ 5 ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่าถากเปลือก
ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้นั้น ก็
เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง
กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่าตัดขวาง
กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัด
ขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์
จิตของบางคน ไม่เล่นไป ไม่เลื่อมใส ในธรรมที่เราแสดง เพื่อดับสักกาย-
ทิฏฐิ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น
ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน
แม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดย
สวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดย
สวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดง ๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อ

ดับสักกายทิฏฐิ. จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง ย่อมหลุดพ้น ฉันนั้น
เหมือนกันแล บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือน
กัน.

รูปฌาน 4


[157] ดูก่อนอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสัง-
โยชน์ 5 เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความ
คร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ
สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน เธอย่อมเปลื้อง
จิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่าธรรมชาตินี้สงบ ธรรม
ชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และ
กองทุกข์ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุ
ธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ1 จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และ
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ดูก่อนอานนท์ มรรคแม้นี้แล
ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5.

1. พระอนาคามี