เมนู

พระนคร. บทว่า สนฺถาคารํ คือโรงบูชายัญ. บทว่า ขราชินํ นิวาเสตฺวา
คือทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ. บทว่า สปฺปิเตเลน ด้วยเนยใสและน้ำมัน . น้ำมัน
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือเว้นเนยใส ท่านเรียกว่า เตลํ น้ำมัน. บทว่า กณฺฑว-
มาโน ทรงเกาคือทรงเกาด้วยเขาในเวลาที่ต้องเกาเพราะเล็บกุด. บทว่า
อนนฺตรหิตาย คือมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด. บทว่า สรูปวจฺฉาย แห่งใดผู้
มีรูปเช่นเดียวกับแม่โค คือ ถ้าแม่โคขาว ลูกโคก็ขาวด้วย ถ้าแม่โคต่างหรือแดง
ลูกโคก็เป็นเช่นนั้นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สรูปวจฺฉา ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า โส เอวมาห พระราชานั้นตรัสอย่างนี้. บทว่า วจฺฉตรา ลูกโคมีกำลัง
ผู้ถึงความมีกำลังเกินความเป็นลูกโคหนุ่ม แม้ในบทว่า วจฺฉตรี ลูกโคเมียก็มี
นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปริสณฺฐาย เพื่อลาดพื้นคือเพื่อต้องการทำเครื่อง
ล้อม และเพื่อต้องการลาดบนพื้นบูชายัญ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นเพราะกล่าวไว้
พิสดารแล้วในบทนั้น ๆ ในหนหลัง.
จบอรรถกถากันทรกสูตรที่ 1

2. อัฏฐกนาครสูตร


ว่าด้วยทสมคฤหบดี


[18] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ก็สมัย
นั้นคฤหบดีชื่อว่า ทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร ด้วย
กรณียกิจอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูป
หนึ่งที่กุกกุฏาราม ไหว้ภิกษุนั้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามภิกษุนั้น

ว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ด้วยว่าข้าพเจ้าใคร่จะพบท่าน
พระอานนท์. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ บ้าน
เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ทำกรณีย-
กิจนั้นให้สำเร็จที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว ไปยังนครเวสาลี ถึงบ้านเวฬุวคาม เข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[19] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันหนึ่ง ที่
เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อม
หลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่
บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดย
ชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้มีอยู่แลหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี . . .
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน. . .

รูปฌาน 4


[20] ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอทั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา
นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง