เมนู

2. ภิกขุวรรค
1. จูฬราหุโลวาทสูตร


ทรงโอวาทพระราหุล


[125] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ
ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกา ปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่
ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและ
ตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาด
ไว้ แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[126] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อย
หนึ่งแล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่
ในภาชนะน้ำนี้หรือ.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.
ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
ทั้งรู้อยู่ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทน้าที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้ว
ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้ว
หรือ.

รา. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้ว เหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่าน
พระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ.
รา. เห็น พระเจ้าข้า.
พ . ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะ
ท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ.
รา. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น.
[127] พ. ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็น
พาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว
ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้อง
หน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงา
ทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างรักษา
แต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม
เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำ
กรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง
ด้วยการเบื้องหน้าบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง

ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละ
แล ดูก่อนราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มี
กำเนิดดี เคยเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้า
หลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่
ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงา
อันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงคราม
แล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกาย
เบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วย
งาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว
บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคล
ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่ง
ไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจัก
ไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
[128] ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แว่นมี
ประโยชน์อย่างไร.
มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า.
ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำ
กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

กรรม 3


[129] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรม
นั้นเธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรม