เมนู

การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการ
ฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว


[117] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-
พราหมณ์นั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลว่าเหตุไม่มี เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้า
เหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง หากเหตุอย่ามีจริง คำของท่านสมณพราหมณ์นั้น
จงเป็นคำจริง ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ อันวิญญูชนพึงติเตียน
ได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล มีความเห็นผิด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้
ถ้าแลเหตุมีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้ เป็นความ
ปราชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบันวิญญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นถือชั่ว สมาทาน
ชั่ว อย่างนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ


[118] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-
พราหมณ์นั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุมี
ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย
ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กำลังมีอยู่ ความเพียรมีอยู่ เรี่ยว-

แรงของบุรุษมีอยู่ ความบากบั่นของบุรุษมีอยู่ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง
ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง มีอำนาจ มีกำลัง มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์
กรรมความเกิดและตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม 3 ประการ
นี้ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลกรรม 3 ประการนี้
คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
ของอกุศลธรรม ย่อมเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขาว แห่ง
กุศลธรรม. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นมีความเห็นว่า เหตุมี ความเห็นของเขานั้น
เป็นความเห็นชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นดำริว่า เหตุมี ความดำริของเขานั้น
เป็นความดำริชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า เหตุมี วาจาของเขา
นั้นเป็นวาจาชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่า เหตุมี ผู้นี้ย่อมไม่ทำตนให้
เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้มีวาทะว่า เหตุมี. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่น
สำคัญว่ามีเหตุ การที่ให้ผู้อื่นสำคัญของเขานั้น เป็นการที่ให้สำคัญโดยชอบ
ธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสำคัญโดยชอบธรรมนั้น เขาย่อมไม่ยกตน
ย่อมไม่ข่มผู้อื่น เขาละโทษ คือความเป็นผู้ทุศีลก่อนทีเดียว ตั้งไว้เฉพาะแต่
ความเป็นผู้มีศีล ด้วยประการฉะนี้. กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความ
เห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่
ให้ผู้อื่นสำคัญโดยชอบธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ดี


[119] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-
พราหมณ์นั้น บุรุษผู้เป็นวิญญูชนย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าเหตุมีอยู่จริง
เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
ก็ถ้าเหตุอย่าได้มีจริง วาจาของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคำสัตย์ ก็
เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญในปัจจุบัน
ว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีความเห็นชอบ มีวาทะว่ามีเหตุ และถ้าเหตุมี
อยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้เป็นความชนะในโลกทั้งสอง
คือในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นยึดถือดี สมาทานดี อย่างนี้ย่อม
แผ่ไปโดยส่วน 2 ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย.

วาทะว่าอรูปพรหมไม่มี


[120] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก
หนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมย่อมไม่มีด้วยอาการ
ทั้งปวง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์
พวกนั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดูก่อนพราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์
เหล่านี้มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.
อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น
บุรุษผู้เป็นวิญญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ข้อที่ว่าท่านสมณพราหมณ์มีวาทะ
อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เรา