เมนู

ภาคเจ้า นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง. คำว่า อิทฺธา แปลว่า มั่งคั่ง.
คำว่า ผีตา แปลว่า มั่งคั่งเหลือเกิน เหมือนดอกไม้บานสะพรั่งทั้งต้น. บทว่า
อากิณฺณมนุสฺสา แปลว่า เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน. บทว่า ปาณา ได้แก่
สัตว์ดิรัจฉานมีช้าง ม้า เป็นต้น และมนุษย์มีหญิง ชายและทารกเป็นต้น. บทว่า
เอกมํสขลํ ได้แก่ กองเนื้อกองเดียว. บทว่า ปุญฺชํ เป็นไวพจน์ของคำว่า
เอกมํสุขลํ นั่นเอง. บทว่า อิทฺธิมา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า
เจโตวสปฺปตฺโต คือผู้ถึงความชำนาญในจิต. บทว่า ภสฺมํ กริสฺสามิ
แปลว่า จักกระทำให้เป็นเถ้า. บทว่า กิญฺหิ โสภติ เอกา ฉวา นาลนฺทา
ความว่า คฤหบดีนั้น แม้เมื่อกล่าวคำนี้ก็กำหนดได้ว่า ด้วยกายประโยค แม้
มนุษย์ 50 คน ก็ไม่อาจทำเมืองนาลันทาเมืองเดียวให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
ได้ ส่วนผู้มีฤทธิ์คนเดียวก็สามารถทำเมืองนาลันทาให้เป็นเถ้าได้ด้วยความประ-
ทุษร้ายทางใจอย่างเดียวเท่านั้น. ถ้อยคำของนิครนถ์ใหญ่ของเราไม่นำสัตว์ออก
จากทุกข์ ถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง.
คำว่า อรญฺญํ อรญฺญฺภูตํ ความว่า มิให้เป็นบ้าน คือเป็นป่านั่นเอง
ชื่อว่า เกิดเป็นป่า. คำว่า อิสีนํ มโนปโทเสน ความว่า ด้วยการประทุษร้าย
ทางใจของฤาษีทั้งหลายทำให้พินาศแล้ว . รัฐทั้งหลายเหล่านั้น อันเทวดาผู้ไม่
อดกลั้นความประทุษร้ายทางใจนั้นทำให้พินาศแล้ว ก็ชาวโลกสำคัญว่าผู้มีใจ
ประทุษร้ายทำให้พินาศแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ฤาษีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่า เขาตั้งอยู่ ในวาทะของโลกอันนี้ จึงยกวาทะนี้ขึ้นกระทำแล้ว. ในข้อ
นั้นพึงทราบว่า ป่าทัณฑกีเป็นต้น กลายเป็นป่าดังต่อไปนี้.

เรื่องป่าทัณฑกี


เมื่อบริษัทของพระสรภังคดาบสโพธิสัตว์แผ่ขยายไพบูลย์แล้ว ดาบส
ชื่อ กีสวัจฉะ ศิษย์ของพระโพธิสัตว์ ประสงค์จะอยู่อย่างสงัด จึงละหมู่ไป
อาศัยนครชื่อ กุมภปุระ ของพระเจ้าทัณฑกี แคว้นกาลิงคะ ต่อจาก

ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี เจริญความสงัดอยู่ในพระราชอุทยาน เสนาบดีของพระ-
เจ้าทัณฑกีนั้นเป็นอุปัฏฐาก. ครั้งนั้น นางคณิกาคนหนึ่ง ขึ้นรถมีหญิง
500 เป็นบริวาร ทำนครให้งดงามเที่ยวไป. มหาชนมองเห็น ก็ห้อมล้อม
นางเที่ยวตามไป จนถนนในพระนครไม่พอ. พระราชาเผยพระแกลประทับ
ยืนเห็นนาง จึงตรัสถามพวกราชบุรุษว่า หญิงผู้นั้นเป็นใคร. พวกราช
บุรุษทูลว่า ขอเดชะ หญิงนครโสภิณีของพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า. ท้าว
เธอเกิดริษยา ทรงพระดำริว่า นครที่หญิงผู้นี้ทำให้งาม จักงามได้อย่างไร
แล้วตรัสสั่งให้ตัดฐานันดรนั้นเสีย. ตั้งแต่นั้นมา นางคณิกานั้นก็ทำการชมเชย
กับคนนั้น ๆ เสาะหาฐานันดรเรื่อยไป วันหนึ่ง เข้าไปยังพระราชอุทยานพบ
ดาบสนั่งบนแผ่นหิน พิงแผ่นหินที่ย้อยลงมา ใกล้ปลายที่จงกรม จึงคิดว่า
ดาบสผู้นี้สกปรกจริงหนอ นั่งไม่ไหวติง เขี้ยวงอกออกมาปิดปาก หนวดเครา
ปิดอก รักแร้สองข้างขนรุงรัง ครั้งนั้น นางเกิดความเสียใจว่า เราเที่ยวไป
ด้วยกิจอย่างหนึ่ง ก็มาพบกับคนกาลกัณณี (กาลกิณี) นี้เข้า ท่านทั้งหลายนำ
น้ำมา เราจักล้างลูกตา ให้เขาเอาน้ำและไม้สีฟันมาแล้ว ก็เคี้ยวไม้สีฟัน ถ่ม
น้ำลายเป็นก้อน ๆ ลงไปบนเนื้อตัวของดาบสนั้น แล้วโยนไม้สีฟันลงบนกลาง
เซิงผม บ้วนปากตัวเองแล้ว เอาน้ำราดบนศีรษะของดาบส คิดว่า เราล้าง
ลูกตาที่เห็นคนกาลกัณณีแล้ว กลีโทษเราก็ลอยเสียแล้ว ก็ออกไปจากพระราช
อุทยาน. ในวันนั้นเอง พระราชาทรงขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ
หญิงนครโสภิณีอยู่ไหน. พวกราชบุรุษตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า.
ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงให้ฐานันดรเป็นปกติแก่นางอย่างเดิม แล้วทรงสั่งให้คืน
ฐานันดร. นางอาศัยกรรมที่ทำดีมาก่อน จึงได้ฐานันดร แต่นางเข้าใจไปเสีย
ว่า ได้เพราะถ่มน้ำลายลงที่เนื้อตัวของดาบส. ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย พระ-

ราชาทรงถอดฐานันดรของพราหมณ์ปุโรหิต เขาจึงไปยังสำนักหญิงนครโสภินี
สอบถามว่า น้องหญิง เธอทำอะไรจึงกลับได้ฐานันดร. นางก็กล่าวว่า ท่าน
พราหมณ์ จะอะไรเสียอีกเล่า ชฎิลขี้โกงคนหนึ่ง เป็นตัวกาลกัณณีที่ไม่ไหวติง
อยู่ในพระราชอุทยาน ท่านจงถ่มน้ำลายลงที่ตัวของดาบสนั้น ก็จักได้ฐานันดร
อย่างนี้. ปุโรหิตนั้น ก็กล่าวว่า ข้าจักทำอย่างนั้นนะน้องหญิง แล้วก็ไปที่
พระราชอุทยานนั้น กระทำอย่างที่นางบอกทุกประการแล้วก็ออกจากพระราช
อุทยานไป. ในวันนั้นนั่นเอง พระราชาทรงนึกขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหา-
จำเริญ พราหมณ์อยู่ไหน ได้รับคำทูลตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงมีพระดำรัสว่า เราไม่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ พวกเจ้าจงคืน
ฐานันดรให้เขา แล้วตรัสสั่งให้คืนฐานันดรแก่พรหมณ์นั้น. ถึงพราหมณ์นั้น
ได้ฐานันดร เพราะกำลังบุญแต่ก่อน ก็เข้าใจไปเสียว่าได้ฐานันดรเพราะถ่ม
น้ำลายลงที่ตัวของดาบส. ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย ชนบทชายแดนของพระ-
ราชาเกิดกบฏ. พระราชาตรัสว่า เราจักไปปราบกบฏชายแดน จึงเสด็จไป
พร้อมด้วยกองทัพ 4 เหล่า พราหมณ์ปุโรหิตจึงไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของ
พระราชา ถวายพระพรว่า ชยตุ มหาราชา จงได้ชัยชนะเถิด พระมหา-
ราชเจ้า แล้วทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปเพื่อชัยชนะ หรือพระมหาราชเจ้า.
ตรัสตอบว่า อย่างนั้นซิ พราหมณ์. ทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ชฎิลขี้โกงผู้หนึ่ง
เป็นคนกาลกัณณี ผู้ไม่ไหวติง พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน โปรดทรงถ่ม
เขฬะลงที่ตัวของชฎิลผู้นั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับคำของพราหมณ์
ปุโรหิตนั้น สั่งให้กระทำเหมือนอย่างที่หญิงคณิกาและพราหมณ์ปุโรหิตนั้นทำ
ทุกอย่าง แล้วตรัสสั่งให้เจ้านายฝ่ายในถ่มเขฬะลงที่ตัวของชลิฎขี้โกงนั้น ต่อ
จากนั้น ทั้งฝ่ายใน ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองฝ่ายในก็กระทำตามอย่างนั้นเหมือน
กัน.

ครั้งนั้น พระราชาทรงสั่งให้ตั้งกองรักษาการณ์ไว้ใกล้ประตูพระราช-
อุทยาน แล้วสั่งว่า ผู้ตามเสด็จไม่ถ่มน้ำลายลงที่ตัวดาบสให้ทั่วแล้วออกไปไม่
ได้. คราวนั้น นายพันนายกองทั้งหมดก็นำน้ำลาย ไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปาก
เอาไปไว้บนตัวดาบสโดยท่านองนั้นนั่นแล. น้ำลายและไม้สีฟันก็ท่วมทั่วตัว.
เสนาบดี (ผู้อุปัฏฐาก) รู้เรื่องภายหลังเขาหมด ก็ครุ่นคิดว่า เขาว่า คนทั้ง
หลาย ทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าศาสดาของเรา ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญ เป็นบันได
สวรรค์อย่างนี้ หัวใจก็ร้อนระอุ ต้องหายใจทางปาก จึงรุดไปยังพระราช
อุทยาน เห็นฤษีประสบความย่อยยับอย่างนั้น ก็นุ่งหยักรั้ง เอามือทั้งสองกวาด
ไม้สีฟัน ยกขึ้นให้นั่งให้นำน้ำมาอาบ ชะโลมด้วยยาทุกชนิด และของหอม 4
ชนิด เช็ดด้วยผ้าละเอียด ยืนประนมมืออยู่ข้างหน้า พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
พวกมนุษย์ทำไม่สมควร อะไรจักมีแก่พวกเขา. ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี
เทวดาแบ่งกันเป็น 3 พวก พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพระองค์เดียว
ให้พินาศ. พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพร้อมด้วยบริษัทให้พินาศ, พวก
หนึ่งกล่าวว่า จักทำแว่นแคว้นทั้งหมดของพระราชาให้พินาศ ก็แลครั้นกล่าว
ดังนี้แล้ว ดาบสมิได้แสดงอาการโกรธแม้แต่น้อย เมื่อจะบอกอุบายสันติแห่งโลก
กล่าวว่า ความผิดมีอยู่. แต่เมื่อรู้แสดงความผ่อนโทษเสีย เหตุการณ์ก็จะเป็นปกติ
อย่างเดิม. เสนาบดีได้นัยแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมแล้วกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงพระพฤติผิดในท่านดาบสผู้ไม่ผิด ผู้มี
ฤทธิ์มาก ทรงกระทำกรรมอย่างหนัก ท่านว่า เทวดาแบ่งเป็น 3 พวก กล่าว
กันอย่างนี้ ทูลเรื่องทั้งหมดแล้วกราบทูลว่า ท่านว่าเมื่อพระองค์ทรงขอขมาเสีย
แล้ว แว่นแคว้นก็จะเป็นปกติ ขอพระองค์อย่าทรงทำให้แว่นแคว้นพินาศเสีย
เลย ขอพระมหาราชเจ้า โปรดขอขมาท่านดาบสเสียเถิด พระเจ้าข้า. เสนาบดี

กราบทูลถึง 3 ครั้ง พระราชาก็ไม่ทรงปรารถนาจะขอขมา จึงกราบทูลว่า ข้า
แต่พระมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าทราบกำลังของดาบส ดาบสนั้นมิใช่พูดไม่จริง
ทั้งก็ไม่โกรธด้วย แต่ท่านพูดอย่างนี้ ก็ด้วยความเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์ ขอ
ได้โปรดขอขมาท่านดาบสนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาก็ทรงยืนกราน
ว่า เราไม่ขอขมา. เสนาบดีจึงกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอได้โปรดพระราช-
ทานตำแหน่งเสนาบดีแก่คนอื่นเถิด ข้าพเจ้าจักไม่อยู่ในพระราชอาณาเขตของ
พระองค์ต่อไปละ. พระราชาตรัสว่า ท่านจะไปก็ตามที เราจักได้เสนาบดีของ
เราใหม่. แต่นั้น เสนาบดีก็ไปสำนักดาบส ไหว้แล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าปฏิบัติ
ตามคำของท่านแล้ว ท่านเจ้าข้า. ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี คนที่เชื่อฟัง
จงพาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งเครื่องใช้ ทั้งทรัพย์ ทั้งสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ออกไป
เสียนอกพระราชอาณาเขตภายใน 7 วัน เทวดาพิโรธหนัก จักเบียดเบียน
แว่นแคว้นแน่นอน. เสนาบดีก็กระทำตาม พระราชาก็ทรงมัวเมาอย่างเดียว
ทรงปราบข้าศึก ทำชนบทชายแดนให้สงบแล้ว ก็เสด็จมาพัก ณ ค่ายฉลองชัย
ทรงจัดการพระนครนั้น ๆ แล้ว เสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศน์. ครั้งแรกทีเดียว
เหล่าเทวดาบันดาลฝนน้ำให้ตกลงมา. มหาชนก็ดีใจว่า ตั้งแต่ทำผิดใน
ชฎิลขี้โกงมา พระราชาของเราก็เจริญอย่างเดียว ทรงปราบข้าศึกได้ ในวัน
เสด็จกลับฝนก็ตกลงมา. ต่อมา เหล่าเทวดาก็บันดาลฝนดอกมะลิตกลงมา
มหาชนก็ดีใจยิ่งขึ้นไปอีก ต่อมาเหล่าเทวดาก็บันดาลฝนมาสก ฝนกหาปณะ
ให้ตกลงมา เข้าใจว่าคนทั้งหลายจะออกมาเก็บ จึงบันดาลฝนเครื่องประดับมือ
ประดับเท้า ประดับเอว เป็นต้น ให้ตกลงมา มหาชนก็ลงมายังปราสาท 7 ชั้น
ทางข้างหลัง ต่างประดับอาภรณ์ ดีใจว่า การถ่มน้ำลายรดชฎิลขี้โกง สมควร
แท้หนอ ตั้งแต่ถ่มน้ำลายลงบนชฎิลขี้โกงนั้น พระราชาของเราก็เจริญ ทรง

ปราบข้าศึกสำเร็จ วันเสด็จกลับฝนยังตกลงมา ต่อนั้น ฝน 4 อย่าง คือ ฝน
ดอกมะลิ ฝนมาสก ฝนกหาปณะ ฝนเครื่องประดับเอว ก็เกิด เปล่งวาจา
ดีใจอย่างนี้แล้ว ก็อิ่มเอิบในกรรมที่พระราชาทรงทำผิด. สมัยนั้น เหล่าเทวดา
ก็บันดาลอาวุธต่าง ๆ ที่มีคมข้างเดียว สองข้าง เป็นต้น ให้ตกลงมาปานเชือด
เนื้อมหาชนบนแผ่นเขียง ต่อจากนั้น ก็บันดาลถ่านเพลิงมีสีดังดอกทองกวาว
ปราศจากเถ้าและควัน บันดาลก้อนหินขนาดเรือนยอด บันดาลทรายละเอียด
ที่กอบกำไม่อยู่ให้ตกลงมา ถมพื้นที่สูงขึ้นถึง 80 ศอก. ในแว่นแคว้นของ
พระราชา มนุษย์ 3 คน คือ ท่านกีสวัจฉดาบส ท่านเสนาบดี และคนที่ยินดี
เลี้ยงดูมารดา เป็นผู้ไม่มีโรค. ในแหล่งน้ำดื่ม ก็ไม่มีน้ำดื่ม ในแหล่งหญ้า
ก็ไม่มีหญ้า สำหรับสัตว์ดิรัจฉานที่เหลือ ผู้ไม่ได้ร่วมในกรรมนั้น. สัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้น ก็ไปยังแหล่งที่มีน้ำดื่ม มีหญ้า ไม่ทันถึง 7 วัน ก็พากัน
ไปนอกราชอาณาจักร.
เพราะเหตุนั้น สรภังคโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า
กีสญฺหิ วจฺฉํ อวกฺรีย ทณฺฑกี
อุจฺฉินฺนมูโล สชโน สรฏฺโฐ
กุกฺกุลนาเม นิรยมฺหิ ปจฺจตี
ตสฺส ผุลฺลิตานิ ปตนฺติ กาเย.
พระเจ้าทัณฑกี ทรงให้ร้ายกีสวัจฉ-
ดาบส ทรงขาดคุณธรรมเบื้องต้น พร้อมทั้ง
มหาชน พร้อมทั้งแว่นแคว้น ก็ตกนรกขุม
กุกกุละ ถ่านไฟคุโชนก็ตกไปที่พระกายของ
ท้าวเธอ
ดังนี้.
พึงทราบว่า ป่าทัณฑกี เป็นป่าไปดังกล่าวมาฉะนี้.

เรื่องป่ากลิงคะ1



ดังได้สดับมา ครั้งพระเจ้านาฬิกีระทรงราชย์ ณ แคว้นกลิงคะ ดาบส
500 รูป ณ ป่าหิมพานต์ ผู้ไม่เคยได้กลิ่นสตรี ทรงหนังเสือเหลืองชฎาและผ้า
เปลือกไม้ มีรากไม้ผลไม้ป่าเป็นอาหารอยู่มานาน ประสงค์จะเสพอาหารมีรส
เปรี้ยว เค็มก็พากันมายังถิ่นมนุษย์ ถึงนครของพระเจ้านาฬิกีระ แคว้นกลิงคะตาม
ลำดับ ดาบสเหล่านั้นทรงชฎาหนังเสือเหลืองและผ้าเปลือกไม้แสดงกิริยาอันสงบ
สมควรแก่เพศนักบวช เข้าไปขออาหารยังนคร. ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่เกิด คน
ทั้งหลายเห็นดาบสนักบวชก็เลื่อมใส จัดแจงที่นั่งและที่ยืน มีมือถือภาชนะใส่
อาหาร นิมนต์ให้นั่งแล้ว จัดอาหารถวาย. เหล่าดาบสบริโภคอาหารเสร็จแล้ว
ก็อนุโมทนาคนทั้งหลายได้ฟังแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส ถามว่า พระผู้เจริญทั้งหลาย
จะไปไหน. ดาบสตอบว่า จะไปตามที่ที่มีความผาสุก. คนเหล่านั้นก็พูดเชิงนิมนต์
ว่า พระคุณเจ้าไม่ควรไปที่อื่น อยู่เสียที่พระราชอุทยานเถิด พวกเรากินอาหาร
เช้าแล้ว จักมาฟังธรรมกถา. เหล่าดาบสก็รับ ไปยังพระราชอุทยาน. ชาวเมือง
กินอาหารแล้ว ก็นุ่งผ้าสะอาด ห่มผ้าสะอาด หมายจะฟังธรรมกถาเดินกันไป
เป็นหมู่ ๆ มุ่งหน้าไปยังพระราชอุทยาน. พระราชาประทับยืนบนปราสาท ทอด
พระเนตรเห็นคนเหล่านั้น กำลังเดินไป จึงตรัสถามเจ้าหน้าที่ผู้รับใช้ว่า พนาย
ทำไม ชาวเมืองเหล่านั้น จึงนุ่งห่มผ้าสะอาด เดินมุ่งหน้าไปยังสวน ที่สวน
นั้น เขามีการชุมนุมหรือฟ้อนรำกันหรือ. เจ้าหน้าที่กราบทูลว่า ไม่มีดอก
พระเจ้าข้า พวกเขาต้องการจะไปฟังธรรมกถาในสำนักเหล่าดาบส. ตรัสว่า
ถ้าอย่างนั้น เราจะไปด้วย บอกให้พวกเขาไปกับเรา. เจ้าหน้าที่ก็ไปบอกแก่
คนเหล่านั้นว่า พระราชาก็มีพระราชประสงค์จะเสด็จไป พวกท่านจงแวดล้อม
พระราชากันเถิด. โดยปกติ พวกชาวเมืองดีใจกันอยู่แล้ว ครั้นฟังคำนั้น ก็

1. บาลีเป็นกาลิงคะ