เมนู

ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา
เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ความถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ


[12] เขาบวชอย่างนี้แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพ เสมอด้วย
ภิกษุทั้งหลาย.
1. ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา
มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
2. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขา
ให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.
3. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.
4. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.
5. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป
บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก
ข้างนี้เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริม
คนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อม
เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อม
เพรียงกัน.

6. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะ
หู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.
7. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่
เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.
8. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
9. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.
10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และการเล่น
อันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
11. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้
ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
12. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
13. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
14. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
17. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา .
21. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

22. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
23. เว้นขาดจากการซื้อการขาย.
24. เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และ
การโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
25. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
26. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น
และกรรโชก.
เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น
เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบิน
ไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศ-
จากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะ. . . ดมกลิ่นด้วยฆานะ. . .
ลิ้มรสด้วยชิวหา . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ
ไม่สำรวมเเล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วย
อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ใน
การแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น
การพูด การนิ่ง.

การละนิวรณ์


[13] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะ
อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับ
จากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความ
เพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ
เพ่งเล็ง ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวัง
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนด
หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-
มิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา
ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉาได้.

ฌาน 4


[14] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ
อันทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐม