เมนู

เนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น 1
เนื้อที่ตนได้ยิน 1 เนื้อที่ตนรังเกียจ 1 ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็น
ของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล. ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็น
ของควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้
ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล.

การแผ่เมตตา


[58] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใด
แห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ทิศที่
3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป
ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เขาไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วย
ภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ดูก่อนชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอ
ล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดี
หรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า
ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต
ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้
พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ
เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา

เครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูก่อนชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า
ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมติดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือ
เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ.
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูก่อนชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ.
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้
สดับมาว่า พรหมมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับ
มา คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา.
ดูก่อนชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด
ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนชีวก ถ้าแลท่าน
กล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่น
นั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ
โทสะและโมหะ เป็นต้นนี้.

การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา


[59] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใด
แห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา. . .มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจ
ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็
เหมือนกัน ตามวินัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก