เมนู

เนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น 1
เนื้อที่ตนได้ยิน 1 เนื้อที่ตนรังเกียจ 1 ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็น
ของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล. ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็น
ของควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้
ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล.

การแผ่เมตตา


[58] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใด
แห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ทิศที่
3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป
ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เขาไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วย
ภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ดูก่อนชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอ
ล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดี
หรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า
ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต
ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้
พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ
เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา