เมนู

อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร


จูฬสัจจกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ความว่า ป่า
ใหญ่มีกำหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่า มหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกสักรุงกบิล-
พัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกำหนด ตั้งจดมหาสมุทร.
ป่านี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชื่อว่า ป่ามหาวัน เพราะอรรถว่า เป็นป่าใหญ่มีกำ
หนด. ส่วนกูฏาคารศาลา เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้ว จึงทำกูฏาคารไว้ภาย
ใน มุงหลังคาด้วยเครื่องมุงอย่างหงส์และนกกระจาบมุงแล้ว พึงทราบ
ว่า เป็นพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง.
บทว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน ชาย
นิครนถ์คนหนึ่ง หญิงคนหนึ่ง เรียนได้วาทะคนละ 500 แล้ว คิดว่า เรา
จักยกวาทะ ดังนี้ เมื่อเที่ยวไปในชมพูทวีปมาอยู่ร่วมกันในกรุงเวสาลี.
พวกเจ้าลิจฉวีเห็นแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านเป็นใคร ดังนี้. ชาย
นิครนถ์กราบทูลว่า ข้าพระองค์เที่ยวไปในชมพูทวีปด้วยคิดว่า ข้าพระองค์
จักยกวาทะ ดังนี้.หญิงนิครนถ์ก็ได้กราบทูลอย่างนั้น. เจ้าลิจฉวีตรัสว่า
ขอท่านจงยกวาทะ กันและกันในที่นี้เถิด. หญิงนิครนถ์ จึงได้ถามวาทะ
500 ที่ตนเรียนแล้ว. ชายนิครนถ์ได้ตอบแล้ว เมื่อชายนิครนถ์ถาม หญิง
นิครนถ์ก็ตอบได้หมด. แม้คนหนึ่งไม่มีชนะ ไม่มีแพ้กัน ทั้ง 2 คน ได้เป็นผู้
เสมอๆ กัน.เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านแม้ทั้ง 2 คนเสมอๆ กัน จักเที่ยวไปทำ
อะไร จงอยู่ในที่นี้เถิด พระราชทานเรือน ทรงตั้งส่วยให้. เพราะการอยู่ร่วมกัน