เมนู

พวกกระผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคเจ้า
อ. พวกท่านผู้มีอายุมิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้
วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย ๆ แต่ว่ากระผมกำหนดใจของพวกท่านผู้มีอายุด้วยใจ
แล้วรู้ได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แม้พวกเทวดาก็
ได้บอกเนื้อความข้อนี้เก่กระผมว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่า
นี้ด้วยๆ กระผมถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาแล้ว จึงทูลถวาย
พยากรณ์เนื้อความนั้น.

ชื่อเสียงของพระอนุรุทธะเป็นต้น


[367] ลำดับนั้น ทีฆปรชนยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร 3 ท่านเหล่านี้ คือ ท่าน
พระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่.
พวกภุมมเทวดาได้ส่งเสียงของทีฆปรชนยักษ์แล้วได้ประกาศ
(ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดี
แล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร
3 ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิลิมะ มาพักอยู่.
พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วได้
ประกาศ (ต่อไป)...พวกชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราช
แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นยามาได้ส่งเสียงของพวกเทพชั้นดาว-

ดึงส์แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกชั้นมายา
แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวก
เทพชั้นดุสิตแล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีได้ฟัง
เสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพที่นับเข้า
ในจำพวกพรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้วได้
ประกาศ (ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชน
ชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับ
อยู่ และกุลบุตร 3 ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน
พระกิมิละ มาพักอยู่.
[368] โดยขณะครู่หนึ่งนั้น เสียงได้เป็นอันรู้กันทั่วจนถึงพรหม-
โลก ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตจากสกุลใด ถ้าสกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้
ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สกุลนั้น ตลอดกาล
นาน กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากวงศ์สกุลใด
ถ้าวงศ์สกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่วงศ์สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง 3 นี้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านใด ถ้าบ้านนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึก
ถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่บ้านนั้น
ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนิคม
ใด ถ้านิคมนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นิคมนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนครใด ถ้านครนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตร
ทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นครนั้น ตลอด

กาลนาน กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากชนบท
ใด ถ้าชนบทนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนบทนั้น ตลอดกาลนาน ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมี
จิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล...ถ้าแพศย์
ทั้งมวล...ถ้าศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้า
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง 3 นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม-
โลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาล
นาน ดูก่อนทีฆะ ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตรทั้ง 3 นี้ ปฏิบัติแล้วก็เพียงเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์
โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ทีฆปรชนยักษ์
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบจูฬโคสิงคสาลสูตรที่ 1

มหายมกวรรควรรณนา


อรรถกถาจูฬโคสิงคสาลสูตร


จูฬโคสิงคสาลสูตรมีบทเริ่มต้น เอวมฺเม สุตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาทิเก วิหรติ ความว่า ในบ้านแห่งหนึ่ง
ในบรรดาหมู่บ้านสองแห่งของบุตรของอาและของลุงทั้งสอง อาศัยสระน้ำ
หนึ่ง ชื่อ นาทิกา. บทว่า คิญฺชกาวสเถ ได้แก่ ที่พักทำด้วยอิฐ. โดยยินว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทำการสงเคราะห์มหาชน เสด็จจาริก
ไปในแคว้นวัชชี เสด็จถึงนาทิกคาม. ชาวบ้านนาทิกคามถวายมหาทาน
แด่พระผู้มีพระภาคจ้า ฟังธรรมีกถา มีใจเลื่อมใส ปรึกษากันว่า เรา
จักสร้างที่ประทับถวายแด่พระศาสดา แสดงรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น ที่ฝาบันได
และเสาด้วยอิฐทั้งนั้น สร้างปราสาทฉาบด้วยปูนขาว ยังมาลากรรม
และลดากรรมเป็นต้นให้สำเร็จ ปูลาดเครื่องลาดพื้นเสียงและตั่งเป็นต้น
มอบถวาย พระศาสดา. ต่อมา พวกชาวบ้านในที่นี้สร้างที่พักกลางคืน
ที่พักกลางวัน มณฑป และที่จงกรมเป็นต้น ถวายแด่ภิกษุสงฆ์. วิหาร
นั้นได้เป็นมหาวิหารด้วยประการฉะนี้. ท่านหมายเอาวิหารนั้น จึงกล่าวว่า
คิญฺชกาวสเถ ดังนี้.
ค่าคบไม้มีสัณฐานดังเขาโค ตั้งขึ้นแต่ลำต้นของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง
ในบทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย นั้น. ป่านั้นแม้ทั้งหมดอาศัยต้นไม้นั้น จึงชื่อ
ว่า โคสิงคสาลวัน ดังนี้. บทว่า ทาโย นี้เป็นชื่อของป่า โดยไม่ต่างกัน
เพราะฉะนั้น บทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย มีความว่า ในป่าชื่อ โคสิงคสาลวัน.