เมนู

อรรถกถาจูฬโคปาสสูตร



จูฬโคปาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุกฺกเจลายํ คือ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น.
ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังสร้างเมืองนั้น ปลาจากกระแสแม่น้ำคงคา ขึ้นบกใน
เวลากลางคืน พวกมนุษย์ชุบผ้าในถาดน้ำมันให้เปียกทำเป็นคบเพลิงจับ
ปลา. เมื่อเมืองนั้นสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาเมื่อจะตั้งชื่อเมืองนั้น จึงได้ตั้งชื่อ
เมืองนั้นว่า อุกกเจลา ด้วยคิดว่าในวันสร้างเมืองพวกเราจับปลาได้ด้วยคบ
เพลิงผ้า. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า แม่น้ำคงคาทั้งหมด ย่อมปรากฏ
แก่ผู้นั่งในสถานที่ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากห้อม
ล้อม ประทับนั่งในสถานที่เช่นนั้นเป็นหาดทรายฝั่งแม่น้ำคงคา เวลาเย็น
กำลังทอดพระเนตรแม่น้ำมหาคงคาเต็มเปี่ยมกำลังไหล ทรงใคร่ครวญว่ามี
ใคร ๆ หนออาศัยแม่น้ำคงคานี้แล้ว ได้รับความเจริญและความเสื่อมในกาล
ก่อน ได้ทรงเห็นว่าฝูงโคหลายพันอาศัยนายโคบาลโง่คนหนึ่ง ตกที่วนแม่น้ำ
คงคานี้เข้าไปสู่สมุทร ส่วนฝูงโคหลายแสนได้มีความสวัสดี ความเจริญ
ความไม่มีโรค เพราะอาศัยนายโคบาลผู้ฉลาดอีกคนหนึ่ง. ครั้นทรงเห็น
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักอาศัยเหตุนี้ แสดงธรรมแก่พวกภิกษุนี้ดังนี้ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า มาคธโก คือชาวมคธรัฐ บทว่า ทุปฺปญฺญชาติโก ได้แก่
มหาชนพวกไม่มีปัญญาเป็นสภาพ. บทว่า อสมเวกฺขิตฺวา ได้แก่ ไม่กำ
หนด คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า ปตาเรสิ เริ่มเพื่อจะให้ข้าม บทว่า อุตฺตรํ

ตีรํ สุวิเทหานํ ความว่า ให้โคข้ามไปสู่ฝั่งเหนือด้วยคิดว่า เราจักนำชาวมคธ
รัฐที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคาไปยังวิเทหรัฐที่ฝั่งโน้น นำโคจากมคธรัฐไปยังวิ
เทหรัฐแล้วรักษา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอานายโคบาลนั้น จึง
ตรัสว่า อุตฺตรํ ตีรํ สุวิเทหานํ ดังนี้. บทว่า อามณฺฑลิกํ กริตฺวา ได้แก่ทำ
ให้วน. บทว่า อนฺยพฺยสนํ อาปชฺชชึสุ ได้แก่ ถึงความพินาศ คือไม่
เจริญ คือเข้าไปสู่มหาสมุทร. ก็นายโคบาลนั้น เมื่อให้โคข้าม พึงตรวจดูท่าที
เสมอ และไม่เสมอที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา พึงกำหนด เนินทรายไว้ 2-3
แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคงคา อนึ่งพึงกำหนดท่าไว้ 3-4
ท่า ที่ฝั่งโน้นว่าโคลงแล้วจากท่านนี้จักไปขึ้นเท่านี้ ลงจากท่านี้จักไม่ขึ้นท่านี้ดัง
นี้. ส่วนนายโคบาลโง่นี้ ไม่ตรวจดูท่าสำหรับโคที่ฝั่งนี้ เรียบหรือไม่เรียบ
ไม่กำหนดเนินทรายไว้ 2-3 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคง
คา ไม่พิจารณาหาที่เป็นที่ขึ้นไว้ 4-5 แห่งที่อีกฝั่งหนึ่ง ให้โคข้ามไปโดย
สถานที่มิใช่ท่า. ครั้งนั้นโคใหญ่ของเขาว่ายตัดกระแส แม่น้ำคงคาขวางไปถึง
ฝั่งโน้น เพราะถึงพร้อมด้วยความเร็ว และเพราะถึงพร้อมด้วยกำลัง เห็นเขา
ขาด และหนามพุ่งไม่หนาแน่น แล้วรู้ว่านั่น ออกไปได้ยากดังนี้ ไม่ได้ที่ว่าง
สำหรับยืนข้างบนก็ว่ายกลับ. โคทั้งหลายคิดว่า โคใหญ่ว่ายกลับแล้ว แม่พวก
เราจักว่ายกลับดังนี้ ก็ว่ายกลับด้วยกัน. ในที่ฝูงโคจำนวนมากกลับ น้ำวน
ตัดน้ำตั้งขึ้นกลางแม่น้ำคงคา ฝูงโคเข้าไปในน้ำวนถึงสมุทร โคตัวหนึ่งชื่อว่า
ไม่มีอันตราย มิได้มีแล้วแล. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
โคทั้งหลายถึงแล้วซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ในที่นั้นแล บทว่า
อกุสลา อิมสฺส โลกสฺส ได้แก่ สมณพราหมณ์ เป็นผู้ไม่ฉลาด คือเฉียบแหลม
ในโลกนี้ คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ. แม้ในปรโลกก็มีนัยนี้แล. บ่วงมารท่าน
เรียก เตภูมิกธรรม มิใช่บ่วงมารท่านเรียกว่า โลกุตตรธรรม แม้ที่ตั้งมัจจุท่าน
เรียกเตภูมิกธรรม แม้ที่ตั้งอมัจจุท่านเรียกนวโลกุตตรธรรม สมณ

พราหมณ์ ผู้ไม่ฉลาดคือเฉียบแหลมในธรรมเหล่านั้น ส่วนโดยเนื้อความของ
คำบ่วงมาร ชื่อว่า มารเธยฺยา โคจรอันเป็นฐานะที่อยู่และที่อาศัย ชื่อ
เธยฺยา แม้ในมัจจุเธยยา ก็มีนัยนี้แล. บทว่า เตสํ ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น คือเห็นปานนั้น. พึงทราบว่า ครูทั้ง 6 ท่านแสดงไว้แล้วด้วยบทนี้. พระผู้
มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจบกัณหปักษ์อย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงสุกกปักษ์
ตรัสคำเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวคาเว
คือ โคที่ฝึกแล้ว และแม่โคนม. บทว่า ทมฺมคาเว คือโคที่ควรฝึกและโคสาว
บทว่า วจฺฉตเร ได้แก่ ลูกโคมีกำลังที่ผ่านความเป็นลูกโค. บทว่า วจฺฉเก
คือ ลูกโคหนุ่มยังดื่มนม. บทว่า กีสพลิเก คือมีเนื้อและเลือดน้อย กำลัง
น้อย. บทว่า ตาวเทว ชาตโก คือ ลูกโคที่เกิดในวันนั้น. บทว่า มาตุ โครวเกน
วุยฺหมาโน
ความว่า แม่โคส่งเสียงโค ข้างหน้าว่า หุง หุง ให้สัญญาณ
ว่ายตัดน้ำไป. ลูกโคว่ายไปตามน้ำตามแม่โคนั้นแล โดยเสียงร้องของแม่โค
นั้น ท่านเรียกว่าลอยตามเสียงร้องของแม่. บทว่า มารสฺส โสตํ เฉตฺวา ความ
ว่า ตัดกระแสแห่งตัณหาของมาร ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า ปารํ คตา ได้
แก่ ภิกษุถึงฝั่งสงสาร คือนิพพาน เหมือนโคใหญ่ว่ายไปถึงฝั่งแม่น้ำ
ฉะนั้น. บทว่า ปารํ อคมํสุ ความว่า ในขณะที่โคใหญ่ถึงฝั่ง โคทั้งหลายว่าย
ล่วง 3 ส่วนกระแสะน้ำคงคาแล้วเห็นโคใหญ่ถึงฝั่ง จึงไปตามทางที่โคใหญ่
เหล่านั้นไปแล้ว. บทว่า ปารํ คมิสฺสนฺติ ความว่า ผู้ยังกิเลสที่มรรค 4 พึง
ฆ่า 3 ส่วนให้สิ้นแล้วตั้งอยู่ บัดนี้ พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้
ว่า ภิกษุผู้ตัดกระแสตัณหาหมดสิ้นไป ด้วยอรหัตตมรรคแล้ว จักถึงฝั่งสง
สารคือ นิพพานเหมือนโคที่กำลังว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งแม่น้ำ
ฉะนั้น. ภิกษุ 2 รูปเหล่านี้คือ ที่เป็นธัมมานุสารี สัทธานุสารี เป็นผู้พร้อม
เพรียงด้วยมรรคชั้นต้น. บทว่า ชานตา คือพระพุทธเจ้าทรงรู้อยู่ซึ่งธรรมทั้ง
ปวง. บทว่า สุปกาสิโต แปลว่า กล่าวไว้ดีแล้ว บทว่า วิวกํ แปลว่าเปิด

แล้ว. บท อมตทฺวารํ ได้แก่ อริยมรรค.บทว่า นิพพานปตฺติยา คือ เปิดเพื่อ
ประโยชน์เก่นิพพานนั้น. บทว่า วินฬีกตํ คือ ทำมานะดุจไม้อ้อให้ปราศจาก
ไป. บทว่า เขมํ ปตฺเถถ ความว่า พวกเธอเป็นผู้ปรารถนาพระอรหัต
คือเป็นผู้ต้องการให้พระอรหัตเกิดขึ้นด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ. บาลีว่า ปตฺตตฺถ
ดังนี้ก็มี. มีอธิบายว่า พวกเธอได้พระศาสนาเห็นปานนี้ ชื่อว่า บรรลุ
แล้วเหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงจบการแสดงธรรมตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจูฬโคปาลสูตรที่ 4.

5. จูฬสัจจกสูตร


[392] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระวิหารยอดในป่ามหา
วัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น บุตรแห่งนิครนถ์ผู้หนึ่ง ชื่อสัจจกะ อาศัยอยู่ใน
เมืองเวสาลี เป็นคนพอใจพูดสังสนทนาลัทธินั้น ๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้า
ปัญญา มหาชนสมมติว่าเป็นคนดีความรู้ดี. เขาได้กล่าววาจาในที่ประชุมชน
ในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ ครูของหมู่ แม้ปฏิญญา (ยืนยัน) ตนว่า เป็นพระอรหันต์
ผู้ไกลจากกิเลสควรนับถือ ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคำแล้ว จะไม่ประหม่า
ตัวสั่นหวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำ
ด้วยถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสะท้านหวั่นไหว จะกล่าว
อะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์.
[393] ครั้งนั้น เวลาเช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิผู้มีอายุ ครองผ้าตามสมณ
วัตรแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี. สัจจกะเดินเที่ยวมา
ในเมืองเวสาลี ได้แลเห็นพระอัสสชิผู้มีอายุมาอยู่แต่ไกล จึงเข้าไปใกล้
กล่าวปราศรัยกับท่านแล้วได้ยืนส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามท่านว่า พระ
อัสสชิ พระโคดมแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร แลคำสั่งสอนของพระ
โคดม ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างไร. พระอัสสชิผู้มีอายุตอบ
ว่า อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่าง
นี้ แลคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วน