เมนู

อรรถกถาจูฬโคปาสสูตร



จูฬโคปาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุกฺกเจลายํ คือ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น.
ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังสร้างเมืองนั้น ปลาจากกระแสแม่น้ำคงคา ขึ้นบกใน
เวลากลางคืน พวกมนุษย์ชุบผ้าในถาดน้ำมันให้เปียกทำเป็นคบเพลิงจับ
ปลา. เมื่อเมืองนั้นสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาเมื่อจะตั้งชื่อเมืองนั้น จึงได้ตั้งชื่อ
เมืองนั้นว่า อุกกเจลา ด้วยคิดว่าในวันสร้างเมืองพวกเราจับปลาได้ด้วยคบ
เพลิงผ้า. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า แม่น้ำคงคาทั้งหมด ย่อมปรากฏ
แก่ผู้นั่งในสถานที่ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากห้อม
ล้อม ประทับนั่งในสถานที่เช่นนั้นเป็นหาดทรายฝั่งแม่น้ำคงคา เวลาเย็น
กำลังทอดพระเนตรแม่น้ำมหาคงคาเต็มเปี่ยมกำลังไหล ทรงใคร่ครวญว่ามี
ใคร ๆ หนออาศัยแม่น้ำคงคานี้แล้ว ได้รับความเจริญและความเสื่อมในกาล
ก่อน ได้ทรงเห็นว่าฝูงโคหลายพันอาศัยนายโคบาลโง่คนหนึ่ง ตกที่วนแม่น้ำ
คงคานี้เข้าไปสู่สมุทร ส่วนฝูงโคหลายแสนได้มีความสวัสดี ความเจริญ
ความไม่มีโรค เพราะอาศัยนายโคบาลผู้ฉลาดอีกคนหนึ่ง. ครั้นทรงเห็น
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักอาศัยเหตุนี้ แสดงธรรมแก่พวกภิกษุนี้ดังนี้ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า มาคธโก คือชาวมคธรัฐ บทว่า ทุปฺปญฺญชาติโก ได้แก่
มหาชนพวกไม่มีปัญญาเป็นสภาพ. บทว่า อสมเวกฺขิตฺวา ได้แก่ ไม่กำ
หนด คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า ปตาเรสิ เริ่มเพื่อจะให้ข้าม บทว่า อุตฺตรํ