เมนู

หนัด เพราะสิ้นความกำหนัด." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพยากรณ์โดยชอบ
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้อยู่ในหมู่ หรือเป็นผู้เที่ยวอยู่, พวกใดไปดีแล้ว
ในที่นั้น, พวกใดไปไม่ดีแล้วในที่นั้น, พวกใดตามสั่งสอนคณะในที่นั้น,
บางเหล่าบางพวกปรากฏในอามิส และบางเหล่าบางพวกถูกอามิสแปด
เปื้อน ท่านผู้นี้ย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้นเพราะเหตุนั้น. ก็คำนี้เราได้ฟังได้รับเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " เราเป็นผู้เข้าไปยินดีในสิ่งที่ไม่
น่ากลัว ไม่เข้าไปยินดีในสิ่งที่น่ากลัว เราไม่เสพกามเพราะปราศจากกำ
หนัด เพราะสิ้นความกำหนัด."

เรื่องทวนถาม



[538] ภิกษุทั้งหลาย ครั้นพระตถาคตเจ้าถูกถามกลับยิ่งขึ้น
ไปอีกว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่า
นั้นอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้า
เมื่อพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." (ภิกษุทั้ง
หลาย. พระตถาคตเจ้าจะพึงกลับถูกถามยิ่งขึ้นไปอีกว่า) "สิ่งเหล่าใดมืดที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นมีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคต-"
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตเจ้าพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
"สิ่งเหล่าใดมืดที่จะพึงรู้แจึงได้ด้วยตาและด้วยหูเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคต
เจ้า."
(ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้ากลับถูกถามให้ยิ่งขึ้นอีกว่า) " สิ่งเหล่า
ใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู เหล่านี้มีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคต
เจ้า" ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตจะพยากรณ์ก็จะพึงพยากรณ์อย่างนี้
ว่า สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู, เหล่านั้นมีอยู่แก่ตถาคต."

ภิกษุทั้งหลาย สาวกควรเข้าไป พระศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้
มีศีลนั่นเป็นทาง มีศีลนั่นเป็นอารมณ์ และไม่มีตัณหาเพราะศีลอันบริสุทธิ์นั้น
ดังนี้ เพื่อฟังธรรม, พระศาสดาย่อมแสดงธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอันประณีตและ
ประณีต เปรียบเทียบให้เห็นทั้งดำทั้งขาวแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายพระ
ศาสดาย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุยิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป พร้อมกับส่วน
เปรียบให้เห็นทั้งดำทั้งขาว โดยประการใดๆ ภิกษุนั้น เพราะรู้ยิ่งธรรมบาง
ชนิดในธรรมนั้น ถึงความตั้งลงในธรรมในพระศาสนานี้ ย่อมเลื่อมใสในพระ
ศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยชอบ. พระธรรมอันพระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว โดยประการนั้นๆ."
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้อีกว่า อะไร
เป็นอาการของท่าน อะไรเป็นเครื่องคล้อยตามท่าน ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านกล่าว
ไว้อย่างนี้ว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติแล้ว." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
จะพยากรณ์ก็ควรพยากรณ์อย่างนี้ว่า " คุณ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าถึงที่ประทับ เพื่อฟังธรรมในศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ธรรมแก่เรายิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตยิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งเปรียบเทียบให้เห็นทั้ง
ขาวและดำ คุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เราให้ยิ่งขึ้นไป
ให้ประณีตยิ่งขึ้น ให้เป็นส่วนเปรียบเทียบพร้อมให้เห็นทั้งดำและขาว โดย
ประการใดๆ เรารู้ยิ่งในบางสิ่งบางอย่าง ในสิ่งนั้น ที่ให้ถึงความตัดสินใจได้เด็ด
ขาดในธรรมในศาสนา จึงเลื่อมใสพระศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้
เองโดยชอบ พระธรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดี
แล้ว ฉันนั้นๆ" ดังนี้.
[539] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้
หนึ่งมีศรัทธาตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้าด้วยอาการเหล่านี้ บทเหล่านี้ พยัญชนะ

เหล่านี้ เป็นรากเหง้า เป็นที่พึ่ง ภิกษุทั้งหลายศรัทธาที่มีอาการอย่างนี้
ที่ใครๆ เป็นสมณะก็ตาม, พราหมณ์ก็ตาม เทวดา พรหม หรือว่ามารก็
ตาม ในโลกกล่าวว่า มีความเห็นเป็นรากเหง้า มั่นคง ไม่ง่อนแง่น ภิกษุทั้ง
หลาย การปรึกษาธรรมในพระตถาคตเจ้าย่อมมีอย่างนี้แล. ก็แลพระตถาคต
เจ้าย่อมเป็นผู้อันบุคคลสอบสวนแล้วโดยชอบธรรมอย่างนี้."
ภิกษุเหล่านั้นต่างพอใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบวีมังสกสูตร ที่ 7

อรรถกถาวีมังสกสูตร



วีมังสกสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ผู้สอบสวนอยู่" ความว่า "ผู้จะสอบสวน
มี 3 คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนในพระศาสดา."
ในผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนเนื้อความมาแล้วในบทนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ
มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ผู้สอบสวนในสังขารมาแล้ว
ในบทนี้ว่า "พอละด้วยคำว่า "อานนท์" เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิ
ใช่ฐานะ อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ส่วน
ผู้ฉลาดในพระศาสดาท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.
บทว่า "กระบวนจิต" ความว่า "วาระแห่งจิต คือ การกำหนดจิต"
บทว่า "ตามแสวงหาพร้อม" ความว่า "แสวงหา คือ เสาะหา ได้แก่
ใคร่ครวญหา."
บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า "เพื่อประโยชน์รู้แจ้ง
อย่างนี้."
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรในคำนี้
ว่า "ภิกษุ พึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง 2 เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้
ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง คือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็น
กัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้."
สมัยหนึ่ง ท่านอานนท์คิดว่า "พรหมจรรย์ครึ่งหนึ่ง มีเพราะอานุ
ภาพตน ครึ่งหนึ่งมีได้เพราะอานุภาพกัลยาณมิตร แล้ว ไม่อาจจะวินิจฉัยตาม