เมนู

อรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร



มหาธรรมสมาทานสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."

ในบทเหล่านั้น บทว่า "มีความอยากอย่างนี้" คือมีความต้องการ
อย่างนี้. บทว่า "มีความพอใจอย่างนี้" คือมีความโน้มเอียงไปอย่างนี้. บท
ว่า " มีความประสงค์อย่างนี้" คือมีลัทธิอย่างนี้. บทว่า "ใน...นั้น" คือ
ในความเจริญแห่งอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และในความเสื่อมไปแห่งอารมณ์ที่
น่าพอใจนั้น. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล" คือ ชื่อว่ามีพระผู้
มีพระภาคเจ้าเป็นรากเง่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูลแห่งสิ่ง
เหล่านี้. มีคำที่กล่าวไว้ว่า " พระพุทธเจ้าข้า! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ของพวก
ข้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้เกิดขึ้น
เมื่อพระองค์ท่านปรินิพพานแล้ว ไม่ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ที่ขึ้นชื่อว่าผู้
สามารถให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกเลย สิ้นพุทธันดรหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงให้ธรรมเหล่านี้ของพวกข้าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว พวกข้าพระพุทธเจ้า
ได้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ จึงเข้าใจทั่วถึง คือรู้เฉพาะธรรมเหล่า
นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า! เพราะเหตุนี้ ธรรมของพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า
มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูล ด้วยประการฉะนี้. คำว่า "มีพระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำ
" คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ
ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรมโดยแท้. ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้ง
ชื่อเป็นหมวดๆ ตามที่เป็นจริง จึงย่อมชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้
ชักนำ. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ ธรรมทั้ง 4
ชั้น มาสู่คลองพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมจับกลุ่มรวมประชุมลงอย่างพร้อม
เพรียงในพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตอนที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าประทับนั่งที่ควงมหาโพธิ์ เมื่อจะทรงถือเอาชื่อเป็นหมวดๆ ตามความเป็น
จริงของธรรมทั้ง 4 ชั้นอย่างนี้ คือ ผัสสะมาด้วยอำนาจปฏิเวธ (ก็ทรงคิด
ว่า) "ฉันเป็นผู้จำแนกธรรม แกชื่อไร " (แล้วทรงตั้งชื่อว่า) " แกชื่อ
ผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง." เวทนา (สัญญา) สังขาร วิญญาณมา (ก็ทรง
คิดว่า) "ฉันเป็นผู้จำแนกธรรม แกล่ะ ชื่อไร " (แล้วก็ทรงตั้งชื่อว่า) "แกชื่อ
เวทนา (สัญญา) สังขาร (เพราะอรรถว่า รู้สึกอารมณ์...(รู้จำอารมณ์)...
ปรุงแต่งอารมณ์) แกชื่อวิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง" พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อ
ว่า มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย (คือรวมเป็นหมวดเป็นหมู่ได้ เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า). คำว่า "จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น
เถิด" ได้แก่ ขอให้ใจความของภาษิตบทนี้ จงปรากฏแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เท่านั้นเถิด คือ ขอให้พระองค์นั่นแหละ โปรดทรงแสดงประทานให้แก่พวก
ข้าพระองค์ด้วยเถิด. คำว่า "ิ" คือพึงอาศัย คำว่า "พึงคบ" คือ
พึงเข้าใกล้ คำว่า "เหมือนผู้ไม่รู้แจ้ง" คือเหมือนปุถุชนที่บอดโง่. คำว่า
"เหมือนผู้รู้แจ้ง" คือเหมือนบัณฑิตที่รู้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางแม่บท
ตามแบบที่ค่อยขยับสูงขึ้นตามลำดับในสูตรก่อนว่า "ภิกษุทั้งหลาย มีการยึด
ถือธรรม" แต่ในพระสูตรนี้ พระศาสดาทรงตั้งแม่บทตามรสแห่งธรรมเท่า
นั้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า "การยึดถือธรรม" ได้แก่ การถือธรรมมีการ
ฆ่าสัตว์เป็นต้น คำว่า "ผู้อยู่ในความไม่รู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยความ
ไม่รู้. คำว่า "ผู้อยู่ในความรู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยควานรู้คือ ผู้มี
ปัญญา. สิ่งทั้งสามนี้ก่อนคือมิจฉาจาร อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ ในคำเหล่านี้คือ
"พร้อมด้วยทุกข์บ้าง" เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเจตนาทั้งสองคือ บุพเจตนา

และอปรเจตนา. ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วย
สุข หรือประกอบด้วยอุเบกขา. ส่วนเจตนาที่เหลือมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น
อีก 7 ข้อ เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเวทนาครบทั้งสาม พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงหมายเอาความข้อนี้ จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส
บ้าง" ดังนี้. ก็แหละโทมนัสในพระพุทธดำรัสนี้ พึงเข้าใจว่าเป็นทุกข์
เมื่อคนมาถึงการแสวงหา แม้ทุกข์ในทางกาย ก็ย่อมถูกทั้งในส่วนเบื้องต้น
และเบื้องปลายโดยแท้. สิ่งสามอย่างนี้ก่อนคือ การฆ่าสัตว์ การพูดคำ
หยาบ พยาบาท ในบทนี้คือ "พร้อมกับแม้สุขบ้าง" เป็นสุขเวทนา ด้วยอำนาจ
เจตนาสองอย่างคือ บุพเจตนาและอปรเจตนา ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จ
เรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์ ที่เหลืออีก 7 อย่าง ย่อมเป็นสุขเวทนา
ด้วยอำนาจเจตนาครบทั้ง 3. ก็แล โสมนัสนั่นแล ก็พึงเข้าใจว่าสุขในที่
นี้. หรือสำหรับผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยโผฏฐัพพารมณ์ที่น่าพอใจ แม้สุขในทาง
กาย ก็ย่อมถูกในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายโดยแท้. ในการยึดถือ
ธรรมข้อที่สามนี่แหละ บางคนในโลกนี้เป็นคนตกปลา (ชาวประมง) หรือ
เป็นคนล่าเนื้อ อาศัยการฆ่าสัตว์เท่านั้นเลี้ยงชีวิต ภิกษุผู้อยู่ในตำแหน่งเป็นที่
เคารพของเขาแสดงโทษการฆ่าสัตว์ และอานิสงส์การงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์แล้วให้สิกขาบทแก่เขาผู้ไม่ต้องการเลย เมื่อเขาจะรับก็ย่อมรับทั้งๆ
ที่เป็นทุกข์โทมนัสทีเดียว. ภายหลังเมื่อล่วงมาสองสามวัน เมื่อเขาไม่สามารถ
รักษาได้ก็เกิดเป็นทุกข์อีก บุพเจตนาและอปรเจตนาของเขาย่อมควบคู่กัน
ไปกับทุกข์ทีเดียว. ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อย ไปด้วยกันกับ
สุขบ้าง ไปด้วยกันกับอุเบกขาบ้าง. ในที่ทุกแห่งพึงเข้าใจใจความอย่าง
นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเจตนาทั้งที่เป็นส่วนเบื้องต้นและส่วน
เบื้องปลายนี่แหละ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์
บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, ดังนี้. แหละก็พึงทราบว่าโทมนัสนั่นเองเป็นทุกข์.

ในการยึดถือธรรมข้อที่สี่ เจตนาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ส่วนเบื้องปลายและ
เจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อยครบทั้งสาม ในบทครบทั้งสิบ ย่อมประกอบด้วย
สุขโดยแท้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนั้น จึงได้ตรัสว่า
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง แหละก็โสมนัสนั่นเอง ก็พึงทราบ
ว่าสุขในที่นี้."
คำว่า "ติตฺตกาลาพุ" แปลว่า น้ำเต้าขม. คำว่า "เจือด้วยยาพิษ"
ได้แก่ระคน ปน เคล้ากับยาพิษชนิดร้ายแรง. คำว่า "ไม่ ชอบใจ" คือจะ
ไม่ชอบใจ จะไม่ทำความยินดี. คำว่า "จะถึง" คือจะบรรลุ. คำว่า "ไม่พิจารณา
แล้วพึงดื่ม
" คือพึงดื่มอย่างไม่พิจารณา. คำว่า "ภาชนะน้ำดื่ม" คือภาชนะ
เต็มปริ่มไปด้วยเครื่องดื่มอร่อยน่าดื่ม. คำว่า "สมบูรณ์ด้วยสี" คือเป็น
ภาชนะประกอบด้วยสีแห่งเครื่องดื่มเป็นต้น ที่คนพูดอย่างนี้ว่า "ภาชนะที่
สมบูรณ์ด้วยเครื่องประสมที่ใส่ไว้แล้ว. คำว่า "จะชอบใจ" ได้แก่ ก็แลยาพิษ
ร้ายแรงนั้น ย่อมเป็นอันใส่ไว้แล้วในเครื่องดื่มใดๆ ย่อมให้รสของเครื่องดื่ม
นั้นๆ แล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าจะชอบใจ. คำว่า "น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตร
นั่นแหละ. เหมือนอย่างว่า ร่างกายของตนเราต่อให้เป็นสีทอง ก็ยังถูกเรียกว่า
ตายเน่าอยู่นั่นแหละ และเถาอ่อนที่แม้แต่เพิ่งเกิดในวันนั้น ก็ย่อมถูก
เรียกว่า เถาอ่อนอยู่นั่นแหละ ฉันใด; น้ำมูตรอ่อนๆ ที่รองเอาไว้ในทันทีทัน
ใด ก็เป็นน้ำมูตรเน่าอยู่นั่นเองฉันนั้น. คำว่า "ด้วยตัวยาต่างๆ" คือ ด้วยตัวยา
นานาชนิดมีสมอและมะขามป้อมเป็นต้น. คำว่า "จงเป็นสุข" คือจงเป็นผู้มีสุขไร้
โรค มีสีเหมือนทอง.คำว่า "นมส้ม น้ำผึ้ง" คือ นมส้มที่แสนบริสุทธิ์ และน้ำ
ผึ้งที่อร่อยหวาน. คำว่า "เจือเคล้าเข้าด้วยกัน" ได้แก่ ปนระคนเข้าเป็นอัน
เดียวกัน. คำว่า "นั้นแก่เขา" คือ พึงชอบใจแก่เขา ผู้ดื่มเภสัชที่มีรสหวานสี่
อย่าง ก็แล อันใดที่เจือด้วยโรคบาทโรค อันนี้ พึง (ทำให้) ลงแดง ยาของเขา
ทำให้อาหารแข็งกระด้าง ถ่ายไม่ออก. (ฤทธิ์ยาทำให้ท้องผูก ถ่าย

ไม่ออก) ส่วนเลือดที่ประสมกับดี ยาของเขานี้นั้น ลงท้ายก็ทำให้ร่างกายเย็น
ยะเยือก. คำว่า "ลอยไป" คือลอยลงขึ้น คือไม่มีเมฆ หมายความว่า เมฆอยู่
ไกล. คำว่า "ปราศจากวลาหก" คือ เมฆหลีกไปแล้ว. คำว่า "เมื่อเทพ"
ได้แก่ เมื่ออากาศ. คำว่า "ความมืดอยู่ในอากาศ" คือ ความมืดใน
อากาศ. คำว่า "ปรับปวาทของสมณพราหมณ์ส่วนมาก" ได้แก่ วาทะของตน
เหล่าอื่น อันได้แก่สมณพราหมณ์ส่วนใหญ่. คำว่า "เบียดเบียนยิ่ง" ได้
แก่ เข่นฆ่า.คำว่า "ส่อง ส่งแสง และรุ่งเรื่อง" ได้แก่ ตอนกลางวันในฤดู
สารท พระอาทิตย์ย่อมเปล่งแสง คือส่งแสงร้อนจ้า สว่างไสว. ก็แล สูตร
นี้ พวกเทวดารักใคร่ชอบใจเหลือเกิน. ดังมีเรื่องต่อไปนี้:-

เขาเล่ากันมาว่า ทางทิศใต้ ในจังหวัดหัสดิโภค มีวัดบังกูรอยู่ ที่ประตู
โรงอาหารของวัดนั้น มีเทวดาสิงอยู่ที่ต้นบังกูร ตอนกลางคืนได้ฟังภิกษุหนุ่ม
รูปหนึ่งกำลังสรุปพระสูตรนี้ด้วย ทำนองสวดบท จึงให้สาธุการ
ภิกษุหนุ่ม : "นั่นใคร"
เทวดา : "ข้าพเจ้า เป็นเทพสิงอยู่ที่ต้นไม้นี้ครับท่าน"
ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ท่านเลื่อมใสในอะไร คือในเสียงหรือในสูตร ?"
เทวดา : "ท่านผู้เจริญ ใครๆ ก็มีเสียงทั้งนั้นแหละ ข้าพเจ้าเลื่อมใส
ในสูตร, ในวันที่พระศาสดาทรงนั่งกลางในพระเชตวัน และในวันนี้ไม่มีความ
แตกต่างแม้แต่พยัญชนะตัวเดียว"
ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ในวันที่พระศาสดาตรัสท่านได้ยินหรือ"
เทวดา : " ครับท่าน"
ภิกษุหนุ่ม : "ท่านยืนฟังที่ไหน"
เทวดา : "ท่านครับ ข้าพเจ้าไปพระเชตวัน แต่เมื่อเหล่าเทพผู้บุญ
หนักศักดิ์ใหญ่พากันมา, ข้าพเจ้าเลยหมดโอกาสจึงยืนฟังในที่นี้แหละ"

ภิกษุหนุ่ม : "ยืนอยู่ที่นี้ แล้วจะได้ยินเสียงพระศาสดาหรือ"
เทวดา : "แล้วท่านล่ะ ยินเสียงข้าพเจ้าไหม"
ภิกษุหนุ่ม : "ยินจ้ะ เทพ"
เทวดา : "เป็นเหมือนกับเวลานั่งพูดข้างหูขวา ครับท่าน"
ภิกษุหนุ่ม : "เทพ! แล้วท่านเห็นพระรูปพระศาสดาไหม"
เทวดา : " ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระศาสดาทอดพระเนตรดูแต่ข้าพเจ้า
เท่านั้นแหละ เลยตั้งตัวไม่ติด ครับท่าน "
ภิกษุหนุ่ม : "แล้วท่านมีคุณพิเศษเกิดขึ้นบ้างไหม เทวดา"
เทวดาหายไปในที่นั้นนั่นแหละ ว่ากันว่า วันนั้น เทพองค์นี้ ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล.
เทวดาทั้งหลาย ต่างรักใคร่ชอบใจ พระสูตรนี้ดังที่ว่ามานี้. คำที่เหลือ
ในที่ทั้งหมด ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาธัมมสมาทานสูตร ที่ 6

7. วีมังสกสูตร



เรื่องสอบสวนพระธรรม



[535] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระ
ดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า "พระพุทธเจ้าข้า"

[536] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้ง
หลาย! ภิกษุผู้ใคร่ครวญ เมื่อไม่รู้กระบวนจิตของผู้อื่น จะพึงทำความสอบ
สวนในพระตถาคตเจ้าว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
ด้วยความรู้แจ่มแจ้ง ด้วยประการฉะนี้ หรือไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สิ่งทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าข้า ดีหนอ
ขอเนื้อความภาษิตนั่นจงเเจ่มแจ้งกับพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด" พวกภิกษุ
ฟัง (เนื้อความภาษิตนั้น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักจำไว้.
พ. "ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงฟัง ตั้งใจให้ดี เรา
จักกล่าว" ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"

[537] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้จะสอบสวน เมื่อไม่รู้กระบวนจิตผู้อื่น พึงสอบสวนพระตถาคต