เมนู

อรรถกถาจูฬธัมมสมาทานาสูตร



จูฬธัมมสมาทานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สมาทานธรรม" ได้แก่การถือที่ท่านถือ
เอาด้วยบทว่า ธรรมดังนี้.
บทว่า "ความสุขที่เกิดในปัจจุบัน" ได้แก่ "ความสุขในปัจจุบัน".
ความสุขในการประมวลมาทำได้ง่าย คือ อาจให้เต็มได้โดยง่าย.
บทว่า "ผลที่เป็นทุกข์ข้างหน้า" ได้แก่ ผลที่เป็นทุกข์ ในกาลให้ผล
ในอนาคต". พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.
บทว่า "ไม่มีโทษในกามทั้งหลาย" ความว่า "ไม่มีโทษในวัตถุกาม
บ้าง กิเลสกามบ้าง".
บทว่า "ถึงความเป็นเป็นผู้ดื่มด่ำ" ความว่า สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น ถึงความดื่มด่ำ คือความเป็นสิ่งที่ตนพึงดื่ม ได้แก่ ความเป็นสิ่งที่ตนพึง
บริโภคตามชอบใจ ด้วยกิเลสกามในวัตถุกาม.
บทว่า "ผูกให้เป็นจุก" ได้แก่ "พวกดาบสและปริพาชกผู้เกล้าผมทำ
ให้เป็นจุก.
บทว่า "กล่าวอย่างนี้" คือ "ย่อมกล่าวอย่างนี้."
บทว่า "ย่อมบัญญัติการกำหนดรู้" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละคือ
การก้าวล่วง."
บทว่า "ฝักเถายางทราย" ได้แก่ "ฝักเถาที่สุกแล้ว จะมี
สัณฐานยาว."
บทว่า "พึงแตก" ความว่า แห้งด้วยแดดแล้วแตก."

บทว่า "โคนต้นรัง" ได้แก่ ใกล้ต้นรัง.
บทว่า "พึงถึงความสะดุ้ง" ความว่า "ย่อมถึง (ความสะดุ้ง) เพราะ
เหตุไร? เพราะกลัวความพินาศไปแห่งที่อยู่ เพราะว่า เถาย่างทรายที่ตกไปที่
ต้นไม้ เกิดขึ้นแล้วจากพืช ย่อมเลื้อยขึ้นต้นไม้. เถายางทรายนั้น มีใบใหญ่
และหนา ประกอบด้วยใบเช่นกับใบทองหลาง ลำดับนั้นถาย่างทราย เมื่อกำ
จัดต้นไม้นั้น ตั้งแต่โคนไปทะลุค่าคบทั้งปวง ให้เกิดน้ำหนักอย่างมากตั้งอยู่เถา
ย่างทรายนั้น เมื่อลมพัดมา หรือเมื่อฝนตก สร้างความทึบ หักกิ่งน้อยใหญ่ทั้ง
ปวงของต้นไม้นั้นให้ตกไปบนพื้นดิน แต่นั้น เมื่อต้นไม้นั้นล้มไป วิมานย่อม
แตกพินาศไป เทวดานั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง เพราะกลัวความพินาศไปแห่ง
วิมาน ด้วยประการฉะนี้. "
บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในสวน" ความว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ตามสวน
ดอกไม้และสวนผลไม้นั้น ๆ."
บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในป่า" ได้แก่เทวดาผู้สิงอยู่ในป่าอันธวันและ
สุภควันเป็นต้น.
บทว่า "รุกขเทวดา" ได้แก่ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ที่หวง
แหนไว้."
บทว่า "ต้นสมุนไพร หญ้าและไม้เจ้าป่าเป็นต้น" ความว่า เทวดาได้
สิง แล้วที่ต้นสมุนไพรมีต้นสมอและมะขามป้อมเป็นต้น ที่ต้นหญ้ามีตาลและ
มะพร้าวเป็นต้น และไม้เจ้าป่าอันเป็นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในป่า.
บทว่า "คนทำงานในป่า" ความว่า "พวกมนุษย์ที่เที่ยวทำงานอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง บรรดาคนงานมีการไถ เกี่ยว ขนไม้และเฝ้าโคเป็นต้นในป่า. "
บทว่า "พึงลุกขึ้น" ได้แก่ "พึงเคี้ยวกิน."
บทว่า "เป็นระย้า" ได้แก่ "ห้อยย้อย ดุจล้อเล่นในที่ที่ถูกลมพัด."

บทว่า "เถายางทรายนี้มีสัมผัสเป็นสุข" ความว่า เถาย่างทราย
อย่างนี้ แม้ถูกต้องก็เป็นสุข ถึงมองดูก็ให้เกิดความสุข ย่อมให้เกิดความพอ
ใจ แม้ในเพราะการดูและการถูกต้องเถาว่า พวกเด็กๆ ของเราจักมีโรง
ดื่ม จักมีที่เล่น เราได้วิมานที่สองแล้ว" พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วอย่างนี้.
บทว่า "ทำให้เป็นคบ" ความว่า "พึงตั้งอยู่ด้วยอาการคล้ายฉัตร
ข้างบนกิ่งทั้งหลาย."
บทว่า "สร้างความทึบ" ความว่า "ให้เกิดความทึบข้างล่าง." เถา
ย่างทรายนั้น เมื่อเลื้อยขึ้นข้างบน ก็ม้วนต้นไม้ทั้งสิ้นไว้ข้างล่างอีก.
บทว่า "ทำลาย" ความว่า "เพราะทำให้ทึบอย่างนี้ แต่นั้น เถาย่าง
ทรายนี้ก็จะเลื้อยไต่ขึ้นไปตั้งแต่โคนตามกิ่งที่งอกขึ้นไปแล้ว ม้วนกิ่งทุกกิ่ง
ไว้ ครั้นถึงยอดแล้ว ก็จะห้อยลงโดยทำนองนั้นนั่นแหละอีก และเลื้อยขึ้น
ไปรวบต้นไม้ทั้งหมดไว้ให้กิ่งทั้งหมดอยู่ข้างล่าง ตนเองอยู่ข้างบน ครั้น
เมื่อลมพัด หรือฝนตก ก็จะทำลายกระจัดกระจายไป วิมานนั้นพึงตั้งอยู่เพียง
เข่าเท่านั้น ที่โคนต้นไม้นั้น ย่อมมีวิมานซึ่งอยู่บนกิ่งไม้ ครั้นเมื่อกิ่งหักอยู่ได้
ทำลายที่กิ่งนั้นๆ เมื่อทุกกิ่งหักหมด วิมานทั้งปวงก็ย่อมพังพินาศ ก็วิมานที่
ตั้งอยู่บนต้นไม้ ก็จะตั้งอยู่เพียงโคนต้นไม้ ตราบเท่าที่ยังไม่พินาศนี้เป็นวิมาน
ที่อยู่บนกิ่งไม้. เพราะฉะนั้น เมื่อทุกกิ่งหักหมดแล้ว เทวดาได้อุ้มลูกน้อยยืน
ที่ตอไม้แล้วเริ่มคร่ำครวญ.
บทว่า "ผู้มีชาติราคะกล้า" ได้แก่ "ผู้มีราคะหนาเป็นสภาวะ."
บทว่า "เสวยทุกข์และโทมนัสที่เกิดจากราคะ" ความว่า "เพราะ
ความเป็นผู้มีชาติราคะกล้า ย่อมถือเอานิมิตรในอารมณ์ที่เห็นแล้วๆ."
ครั้งนั้น พวกอาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ สั่งลงทัณฑกรรม ภิกษุ
นั้น เมื่อทำทัณฑกรรมอยู่เนืองๆ ย่อมเสวยทุกขโสมนัส จึงไม่ทำการก้าวล่วง

อีกนั่นเทียว. สำหรับผู้มีชาติโทสะกล้าย่อมกำเริบ ก็ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่า
นั้น และเขาเมื่อจับมือเป็นต้น คุยกับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย ก็ย่อม
เสวยทุกขโสมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.

ส่วนบุคคลผู้มีชาติโมหะ ไม่กำหนดกิจที่ทำแล้ว โดยที่ทำแล้ว หรือกิจ
ที่ยังไม่ได้ทำโดยกิจที่ยังไม่ได้ทำ ในศาสนานี้ ย่อมให้หน้าที่คลาด
เคลื่อน ถึงเขาก็ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.
คำว่า "ผู้มีชาติราคะไม่กล้าเป็นต้น" พึงทราบตามนัยตรงกันข้ามกับ
ที่กล่าวแล้ว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในโลกนี้ บางคนจึงเป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อน
ข้างกล้า บางคนจึงไม่ใช่เป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า? ตอบว่า เพราะ
ว่า ในขณะสั่งสมกรรม ตามกฏของกรรม ความโลภของผู้ใดมีกำลัง ความ
ไม่โลภอ่อนกำลัง ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมีกำลัง ความประ
ทุษร้ายและความหลงอ่อนกำลัง ความไม่โลภของผู้นั้นอ่อนกำลัง ไม่
สามารถจะครอบงำความโลภได้. ส่วนความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมี
กำลัง สามารถครอบงำความประทุษร้ายและความหลงได้. เพราะฉะนั้น เขา
เกิดแล้วด้วยอำนาจปฏิสนธิที่กรรมนั้นให้ผลแล้วย่อมเป็นคนโลภ มีปกติเป็น
สุข ไม่โกรธ มีปัญญา มีความรู้เปรียบด้วยเพชร ก็ในขณะสั่งสมกรรมความ
โลภและความประทุษร้ายของผู้ใดมีกำลัง ความไม่โลภและความไม่ประทุษ
ร้ายอ่อนกำลัง ความไม่หลงมีกำลัง ความหลงอ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคน
โลภ และเป็นผู้ประทุษร้าย ตามนัยก่อนนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ดุจ
เพชร ดุจพระทันตาภยเถระ. ส่วนขณะสั่งสมกรรม ความโลภความหลงของ
ผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคนโลภ และโง่เขลาตามนัยก่อนนั่น
เอง เป็นผู้มีปกติเป็นสุข ไม่โกรธ.

ก็อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความโลภ ความโกรธและความหลง
ทั้ง 3 ของผู้ใดมีกำลัง ความไม่โลภเป็นต้นอ่อนกำลัง เขาย่อมไม่โลภ ไม่ประ
ทุษร้าย และไม่หลงตามนัยก่อนนั่นเทียว แต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่
โลภ ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลง ของผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำ
ลัง เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสน้อย ครั้นเห็นอารมณ์อย่างทิพย์ ก็ไม่หวั่นไหวตาม
นัยก่อนนั่นแหละ แต่เป็นผู้ประทุษร้าย และมีปัญญาโง่เขลา. ในขณะสั่งสม
กรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษร้าย และไม่หลงของผู้ใดมีกำลังนอกนี้อ่อนกำ
ลัง เขาย่อมเป็นคนไม่โลภ มีปกติเป็นสุข ไม่โกรธ แต่เป็นคนโง่เขลา ตามนัย
ก่อนนั่นเทียว. อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษ
ร้าย และไม่หลงของผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคนไม่
โลภ มีปัญญา แต่เป็นผู้ประทุษร้าย และมักโกรธ ตามนัยก่อนนั่นแหละ.
แต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม กิเลสทั้ง 3 มีความไม่โลภ เป็นต้นของผู้ใดมีกำ
ลัง ความโลภเป็นต้น อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นผู้ไม่โลภ ไม่ประทุษร้าย และมี
ปัญญา ดุจพระมหาสังฆรักขิตเถระ เนื้อความในทุกบทแห่งบททั้งปวงตื้นนั่น
เทียวแล.

จบอรรถกถาจูฬธัมมสมาทานสูตรที่ 5.

6. มหาธรรมสมาทานสูตร



[520] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถุ ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย"
"พระพุทธเจ้าข้า" ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
[521] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า:-
"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ส่วนมาก มีความใคร่อย่างนี้ มีความพอใจอย่าง
นี้ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
ใคร่ ไม่น่าพอใจ พึงเสื่อมไป, ขอให้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
พึงเจริญแทนที่เถิด" แต่ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านั้น มีความใคร่อย่างนั้น มีความพอ
ใจอย่างนั้น มีความประสงค์อย่างนั้น, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็ยังเจริญขึ้นมาจนได้, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กลับ
เสื่อมไป. ในข้อนั้นพวกเธอเข้าใจว่าเพราะเหตุไร"
ภิ. "พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่
พึงอาศัย, พระพุทธเจ้าข้า ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแต่กับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด, เมื่อพวกภิกษุได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว จะทรงจำไว้"
พ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดี ๆ
เราตถาคตจะว่าให้ฟัง"