เมนู

อรรถกถามหาเวทัลลสูตร



มหาเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."
ในคำเหล่านั้น คำว่า "ผู้มีอายุ" นี้เป็นคำแสดงความเคารพและความ
ยำเกรง. คำว่า "มหาโกฏฐิกะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำว่า "ออกจากที่
เร้น" คือออกจากผลสมาบัติ. ในคำว่า "มีปัญญาทราม" นี้ คือ ขึ้นชื่อว่า
ปัญญาที่ชั่วทราม ไม่หมายความว่า ไม่มีปัญญา คือไร้ปัญญา. คำว่า
"ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอแล" คือคำถามกำหนดเหตุ. หมายความว่า
ที่เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล. ก็แลชื่อว่าการถามนี้ มี 5 อย่าง คือ

1. ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น
2. ถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.
3. ถามเพื่อตัดความสงสัย.
4. ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ (ให้ยอมรับรู้, ให้อนุมัติ).
5. ถามเพื่อต้องการแสดง (เสียเอง ถามเอง ตอบเอง).

ต่อไปนี้เป็นเหตุที่ทำให้การถามเหล่านั้น แตกต่างกันออกไป.

การถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน

โดยปกติ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็น ยังไม่ชั่ง ยังไม่ไตร่ตรอง ยังไม่
แจ่มแจ้ง ยังไม่อบรมลักษณะ ก็ถามปัญหาเพื่อเข้าใจ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง
(เทียบ) เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่ออบรมลักษณะนั้น นี้คือการถามเพื่อ
ส่องถึงสิ่งที่ยังไม่เห็น.

การถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นไฉน

โดยปกติ ผู้ที่เข้าใจได้เห็น ได้ชั่ง ได้ไตร่ตรอง ได้ทราบ ได้แจ่ม
แจ้ง ได้อบรมลักษณะไว้แล้ว ก็ยังถามปัญหาเพื่อต้องการเทียบเคียงกับ
หมู่ปราชญ์พวกอื่น นี้คือการถามเพื่อเทียบเคียง.
การถามเพื่อตัดความสงสัย เป็นไฉน
โดยปกติ ผู้ที่แล่นไปในความสงสัย แล่นไปในความเคลือบแคลง
เกิดความคิดสองจิตสองใจว่า "เป็นอย่างนี้ หรือไม่หนอ เป็นอะไร อย่าง
ไรหนอ " ก็ถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้คือ การถามเพื่อตัด
ความสงสัย.
ส่วนการถือเอาความยอมรับรู้แล้วถามในเวลาแสดงธรรมอย่างนี้
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าการถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ.
การถามของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงถามภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์
เองแท้ๆ แล้วทรงต้องการตอบเสียด้วยพระองค์เอง แบบนี้ว่า "ภิกษุทั้ง
หลาย หลักตั้งมั่นของความระลึกเหล่านี้ มีสี่อย่าง สี่อย่างเป็นไฉน" ดังนี้เป็น
ต้น ชื่อว่าการถามเพื่อต้องการจะตอบ.
ในการถามห้าอย่างนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาการถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่
เห็นแล้ว.
จริงอยู่พระเถระ นั่งในที่พักกลางวันของตนแล้วตั้งปัญหาขึ้นเอง
เมื่อจะตัดสินเสียเอง ก็ทำพระสูตรนี้ตั้งแต่เริ่มต้นให้จบได้ ก็แหละบางคนอาจ
ตั้งปัญหาขึ้นได้ แต่ตัดสินไม่ได้ บางคนตัดสินได้ แต่ตั้งขึ้นไม่ได้ บางคนไม่
ได้ทั้งสองอย่าง บางคนก็ได้ทั้งสองอย่าง ในคนเหล่านั้น พระเถระเป็นได้ทั้ง
สองอย่างทีเดียว เพราะเหตุไร เพราะมีปัญญามาก ก็เพราะอาศัยปัญญา
มาก จึงได้พระเถระหลายรูปที่บรรลุฐานะพิเศษในศาสนานี้คือ พระสารีบุตร

เถระ พระมหากัจจายนะเถระ พระปุณณเถระ พระกุมารกัสสปเถระ
พระอานนทเถระ และพระคุณท่านรูปนี้แหละ.
จริงอยู่ ภิกษุที่มีปัญญาน้อย จะสามารถถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ
ไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญามากจะสามารถถึงได้ เพราะความมีปัญญามาก
ดังที่ว่ามานี้ พระสารีบุตรเถระ จึงได้บรรลุตำแหน่งนั้น. ผู้มีปัญญา
เหมือนพระเถระไม่มีเลย. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศกว่าเหล่า
ภิกษุผู้มีปัญญามาก ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ สารีบุตร.

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย แค่ขนาดนิดหน่อยก็แบบนั้น จะสามารถ
รวบรวมเอามาเทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ แล้วจำแนกเนื้อ
ความของพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างย่อๆ โดยพิสดารไม่
ได้ แต่ผู้มีปัญญามากอาจทำได้. เพราะความเป็นผู้มีปัญญามากดังที่ว่ามา
นี้ พระมหากัจจายนะเถระจึงเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนั้น. เพราะเหตุนั้น
เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้ง
หลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้จำแนกเนื้อความ ของคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อ ๆ โดยพิสดารได้ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คือมหากัจจายนะ."

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น จะกล่าวธรรมกถา ปรารภเรื่อง
ที่พึงกล่าว 10 ประการ แล้วแจกแจงวิสุทธิ 7 ประการ จะไม่สามารถ
กล่าวธรรมกถาได้ แต่ผู้มีปัญญามากทำได้ เพราะความเป็นมี
ปัญญามากดังว่ามานี้ พระปุณณเถระจึงแสดงลีลาเหมือนพระจันทร์
วันเพ็ญนั่งจับพัดที่วิจิตรบนที่นั่งแสดงธรรมที่ตกแต่งแล้วกล่าวธรรมกถา
กลางบริษัทสี่ เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ใน

ตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุแสดงธรรม ซึ่งเป็น
สาวกของเรานั้น คือ ปุณณะ ลูกชายนางพราหมณ์มันตานี."
ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น เมื่อจะกล่าวธรรมกถาก็ดำเนิน
ไปอย่างสะเปะสะปะ เหมือนคนตาบอดถือไม้เท้าเดินสะเปะสะปะ และ
เหมือนคนไต่สะพานไม้ที่เป็นไปได้เพียงคนเดียว. แต่ผู้มีปัญญามาก
ยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมารวม
ทำให้พระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส ซึ่งมีทั้งแบบต่ำและแบบสูงแสดง
อยู่. ก็เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก พระกุมารกัสสปเถระ จึงยกเอาคาถา
แค่สี่บทมาตั้ง แล้วนำเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมาประกอบเข้ากับบท
เหล่านั้น ทำให้พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส มีทั้งแบบต่ำและแบบสูง
แสดงอยู่ เหมือนทำให้ดอกไม้ห้าสีบานอยู่ในสระธรรมชาติ หรือเหมือนจุด
ตะเกียงน้ำมัน พันไส้ให้โพลงอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศ
กว่าเหล่าภิกษุผู้กล่าวอย่างวิจิตร ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ กุมารกัสสปะ."
ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น ถึงใช้เวลาตั้งสี่เดือน ก็ไม่สามารถ
เรียนคาถาเพียงสี่บทได้. ส่วนผู้มีปัญญามากยืนอยู่บนก้าวเดียวก็เรียน
ได้ตั้งร้อยตั้งพันบท ก็พระอานนทเถระ ท่านยืนบนก้าวที่กำลังยกก้าว
เดียวได้ ฟังครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ถามซ้ำอีก ก็รับเอาได้ตั้งหกหมื่นบท
ตั้งหนึ่งหมื่นห้าพันคาถา ในขณะเดียวกันนั่นเอง, เหมือนเอาเถาวัลย์
ดึงเอาดอกไม้มาถือไว้, และที่ท่านได้เล่าเรียนมาแล้ว ก็ตั้งอยู่โดยอาการ
ที่ได้รับไว้ เหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน และเหมือนมันเหลวราชสีห์ที่ใส่ใน
หม้อทองเพราะเหตุที่ท่านมีปัญญามาก. เหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้

มีคติ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คืออานนท์ ผู้มีสติ, ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจำ),
ผู้ได้ฟังมาก, ผู้อุปัฏฐาก (รับใช้) นั่นคืออานนท์."

อันภิกษุที่มีปัญญาน้อย ไม่สามารถที่จะถึงยอดประเภทปัญญา
ที่แตกฉานทั้งสี่อย่างได้เลย ต่อเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะสามารถ.
เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังที่ว่ามานี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ
จึงถึงปัญญาที่แตกฉานทั้งสี่ประเภท ที่แน่นหนาไปด้วยนัยไม่มีที่สุด
ด้วยอำนาจการประกอบไว้ในเบื้องต้นด้วยการบรรลุ การสอบถาม
และการฟัง. เหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศ
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย. ตำแหน่งอันเลิศแห่งเหล่าภิกษุบรรลุปัญญาที่แตก
ฉาน ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ มหาโกฏฐิกะ" ดังนี้.

ด้วยความเป็นผู้มีปัญญามากดังกล่าวมานี้ พระเถระจึงตั้งปัญหาขึ้นก็
ได้ ชี้ขาดก็ได้ทั้งสองอย่างก็ได้. ขณะที่ท่านนั่งในที่พักกลางวัน ท่านเองได้
ตั้งปัญหาทุกข้อขึ้นมาแล้ว ท่านเองจะวินิจฉัยพระสูตรนี้ตั้งแต่ต้นจนถึง
จบ (ก็ได้แต่) คิดว่า "ธรรมเทศนานี้งามเหลือเกิน จำเราจะเทียบเคียงกับท่าน
แม่ทัพธรรมผู้พี่ชายใหญ่ ต่อจากนั้น พระธรรมเทศนา ที่เราสองคนใช้มติอย่าง
เดียวกัน ใช้อัธยาศัยอย่างเดียวกันตั้งไว้นี้ จะกลายเป็นธรรมเทศนาที่หนัก
แน่น ปานร่มหิน และจะกลายเป็นธรรมเทศนาที่มีอุปการะมาก เหมือนเรือ
ที่จอดไว้ที่ท่า สำหรับผู้ต้องการข้ามห้วงน้ำทั้งสี่แห่ง (มหาสมุทรทั้งสี่)
และเหมือนรถเทียมม้าอาชาไนยพันตัว สำหรับต้องการไปสวรรค์."
ดังนี้แล้ว จึงถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว. เหตุนั้นจึงว่า ในบรรดา
การถามเหล่านั้น ในที่นี้มุ่งเอาการถาม เพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.

ในบทว่า "ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งนี้" มีใจความว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่า "ไม่มี
ปัญญา" ก็เพราะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง. ทุกแห่งมีนัยเหมือนกันนี้. คำว่า "ไม่เข้า

ใจชัดเจนว่า นี้เป็นทุกข์" คือไม่เข้าใจชัดเจนซึ่งความจริงเกี่ยวกับทุกข์
ว่า นี้เป็นทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ที่นอกเหนือไปจากนี้ โดยลักษณะ
พร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. คำว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" คือ ไม่เข้า
ใจชัดเจนโดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าที่ตามความเป็นจริงว่า ความทะยาน
อยากที่เป็นตัวการให้เกิดมีทุกข์อันเป็นไปว่า "ทุกข์ย่อมโผล่มาจากความ
ทะยานนี้" เป็นความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิดขึ้น. คำว่า "นี้เป็นความดับทุกข์
ได้โดยไม่เหลือ
" คือ ไม่รู้แจ่มแจ้ง โดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าตามความเป็น
จริงว่า ความจริงเกี่ยวกับความดับโดยไม่เหลือ คือความดับที่ทุกข์และเหตุ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งสองเลิกเป็นไปว่า "นี้ทุกข์ และนี้คือตัวการที่ทำให้ทุกข์
เกิดขึ้น" เมื่อถึงตำแหน่งนี้แล้วย่อมดับไปโดยไม่เหลือ". คำว่า "นี้ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ
" คือ ไม่เข้าใจชัดเจนความจริงที่เกี่ยวกับ
ทางว่า ข้อปฏิบัตินี้ ย่อมไปถึงความดับทุกข์โดยไม่เหลือได้ โดยลักษณะ
พร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. แม้ในอนันตรวาระ (วาระแห่งอนันตร
ปัจจัย) ก็พึงทราบใจความโดยนัยนี้. สำหรับในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึง
บุคคลผู้ทำกัมมัฏฐาน ที่ยึดเอาความจริงสี่อย่างมาเป็นอารมณ์อย่างย่อ.
จริงอยู่ บุคคลนี้เรียนความจริงสี่ประการในสำนักอาจารย์ด้วยการ
ฟัง เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ก็ยึดมั่นอย่างนี้ว่า ยกเว้นความทะยานอยากเสียแล้ว
สิ่งที่เกี่ยวกับภูมิสามชื่อว่าเป็นความจริงเกี่ยวกับทุกข์, ที่ชื่อว่าความจริงเกี่ยว
กับเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นคือ ความทะยานอยาก, ความดับคือความไม่เป็นไป
แห่งทุกข์และเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์, ชื่อว่าความจริงเกี่ยวกับความดับทุกข์ได้
โดยไม่เหลือ, เมื่อกำหนดรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกและความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิด
ขึ้นแห่งทุกข์ ก็จัดเป็นทางที่ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ให้บรรลุ ก็ชื่อว่า
เป็นความจริง คือทาง (ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ) ในความจริงทั้ง
สี่ประการนั้น ความจริงสองประการแรก เป็นวัฏฏะ สองประการหลังเป็น

วิวัฏฏะ ความยึดมั่นในวัฏฏะก็มี ไม่ใช่ความยึดมั่นในวิวัฏฏะ. ฉะนั้นเมื่อยึด
มั่น ก็ชื่อว่ายึดมั่นในความจริงเกี่ยวกับทุกข์ด้วยประการฉะนี้. ที่ชื่อว่า
ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ ก็คือ ขันธ์ทั้งห้า มีรูปเป็นต้น. เพื่อจะกำหนดขันธ์ห้า
นั้น ก็หยั่งลงด้วยอำนาจกัมมัฏฐานที่มีธาตุสี่เป็นอารมณ์ แล้วจึงกำหนดมหา
ภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ว่า รูป. เมื่อกำหนดอย่างนี้ว่า เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีธาตุสี่นั้นเป็นอารมณ์ เป็นนาม จึงชื่อว่ากำ
หนดว่า สองสิ่งนี้แหละ คือ นามรูป เหมือนตัดต้นตาลคู่ เมื่อได้กำหนดปัจจัย
และสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยว่า "ก็สิ่งนี้ไม่ใช่ ไม่มีเหตุ มันมีเหตุมีปัจจัย,
ก็อะไรเล่าที่เป็นปัจจัย สิ่งทั้งหลายมีความไม่รู้เป็นต้น (เป็นปัจจัย)" อย่างนี้
แล้ว ก็ยกขึ้นสู่ลักษณะที่ไม่เที่ยงว่า สิ่งทั้งหมดนี้ เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถ
ว่าไม่มี. ต่อจากนั้นก็ยกขึ้นสู่ลักษณะ 3 อย่างว่า เป็นทุกข์เพราะอาการ
เกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้น, ว่าเป็นของไม่มีตัวตน เพราะอาการไม่เป็นไป
ในอำนาจ, แล้วพิจารณาอยู่ตามลำดับวิปัสสนา ก็ย่อมบรรลุทางที่อยู่เหนือ
โลกได้ ในขณะแห่งทาง (มรรคขณะ) ก็ย่อมแทงตลอดความจริงทั้งสี่ประ
การ ด้วยการแทงตลอดเพียงครั้งเดียว. ย่อมตรัสรู้ ด้วยความตรัสรู้เพียงครั้ง
เดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วยอำนาจการกำหนดรู้, ย่อม
แทงตลอดเหตุเกิดขึ้น ด้วยการแทงตลอดคือการละ ย่อมแทงตลอดความดับ
โดยไม่เหลือให้แจ่มแจ้ง, ย่อมแทงตลอดทางด้วยการแทงตลอดการอบรม. ย่อม
ตรัสรู้ทุกข์ด้วยความตรัสรู้การกำหนดรู้. ย่อมตรัสรู้เหตุให้ทุกข์เกิด ด้วยความ
ตรัสรู้การละ, ย่อมตรัสรู้ความดับโดยไม่เหลือ ด้วยความตรัสรู้ทำให้แจ้ง, ย่อม
ตรัสรู้หนทาง ด้วยความตรัสรู้การอบรม. เขาแทงตลอดความจริงทั้งสามอย่าง
โดยหน้าที่ แทงตลอดความดับโดยไม่เหลือ โดยอารมณ์. ส่วนในขณะแห่งผล
ของเขานั้น ไม่ต้องมีความผูกใจ ความรวบรวมใจ ความเอาใจใส่ และการ
พิจารณาว่า "เรากำหนดรู้ทุกข์ กำลังละเหตุให้เกิดทุกข์ กำลังทำให้แจ้ง

ความดับโดยไม่เหลือ กำลังอบรมหนทาง. แต่สำหรับผู้ที่กำลังกำหนดถืออยู่นั้น
หนทางของผู้ที่กำลังกำหนดถืออยู่นั้นแล ทำหน้าที่มีการกำหนดรู้เป็นต้นใน
ความจริงสามประการ ให้สำเร็จอยู่ทีเดียว แทงตลอด ความดับโดยไม่เหลือ
โดยอารมณ์.

ในคำว่า "เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าผู้มีปัญญา" นี้ โดยต่ำที่สุด พระ-
โสดาบัน สูงที่สุด พระขีณาสพ ท่านแสดงว่าเป็นผู้มีมีปัญญา ส่วนผู้ที่เล่า
เรียนคำของพระพุทธเจ้า (จบ) สามปิฎก โดยบาลีบ้าง โดยอรรถกถา
บ้าง โดยอนุสนธิบ้าง โดยก่อนหลังบ้าง แล้วเที่ยวทำให้เป็นชั้นต่ำและชั้น
สูง แต่ไม่มีแม้แต่การกำหนดเอาด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และความไม่มีตัวตนเลยนี้ หาได้ชื่อว่า ผู้มีปัญญาไม่ ยังชื่อว่าผู้ไม่มี
ปัญญา(อยู่ตามเดิม) อย่าไปเรียกผู้ที่เที่ยวเอาแต่ความรู้แจ้ง (วิญญาณจริต )
นั้นว่าเป็นผู้มีปัญญาเข้านะ. คราวนี้ ผู้ที่ได้ยกขึ้นสู่ลักษณะสามอย่างแล้ว
พิจารณาตามลำดับวิปัสสนาอยู่ เที่ยวคิดว่า วันนี้ วันนี้แหละ อรหัตนี้ชื่อว่า
เป็นผู้มีปัญญา ไม่ใช่ไม่มีปัญญา. ผู้มีปัญญา เมื่อใครยอมให้พบด้วย
ก็พบ (แต่) ฝ่าย (ที่มีปัญญาด้วยกัน) ส่วนในพระสูตร ท่านกล่าวแต่ความ
แทงตลอดเท่านั้น ในคำว่า "ความรู้แจ้ง" นี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ ย่อมถาม
ถึงอะไร ผู้ที่เอาความรู้แจ้งอันใดมาพิจารณาสังขารนั้น ก็เป็นผู้มี
ปัญญา ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามวิปัสสนาที่
ต้องมา ความรู้แจ้ง และจิตผู้ทำงานของการพิจารณาสังขารนั้นกับ
ท่าน. คำว่า "ย่อมรู้แจ้ง สุขบ้าง" คือ ย่อมรู้แจ้ง ความรู้สึกเป็นสุขบ้าง.
แม้ในสองบทข้างบน ก็ทำนองเดียวกันนั่นแล. ด้วยบทว่า "ย่อมรู้แจ้ง
สุขบ้างนี้
" แสดงถึงกัมมัฏฐานที่ไม่ได้ใช้รูปเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจความรู้
สึกที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า "เมื่อเราเสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่ก็รู้แจ้งว่าเรา

เสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่" ควรทราบใจความของบทนั้นตามนัยที่กล่าวไว้
ในสูตรที่ว่าด้วยหลักตั้งสติ (=สติปัฏฐานสูตร) นั่นแล.
คำว่า "คละกัน" คือพระเถระย่อมถามว่า ที่ชื่อคละกันเพราะอรรถ
ว่า ประกอบพร้อมด้วยลักษณะมีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น หรือ
แยกออกจากกัน สำหรับข้อนี้ไม่พึงเข้าใจไปว่า พระเถระเอาสิ่งที่เป็นของ
โลกและที่อยู่เหนือโลกทั้งสองสิ่งคือปัญญาในมรรคและความรู้แจ้งแห่ง
วิปัสสนาเหล่านี้มาระคนปนเปกัน แล้วทำลายเสียระหว่างชั้น แล้วถามอย่างผู้
ไม่รู้จักสมัย แต่พึงทราบว่า ท่านถามถึงความคละกัน พร้อมกับความรู้
แจ้ง หนทาง ในความรู้ชัดหนทาง และกับความรู้แจ้งวิปัสสนา ในความรู้ชัด
วิปัสสนาเท่านั้น ถึงพระเถระเมื่อจะตอบใจความนั้นแลแก่พระมหาโกฏฐิกะ
นั้น ก็กล่าวคำเป็นต้นว่า "สิ่งเหล่านี้คละกัน" คำว่า และในกรณีนั้นบุคคล
ไม่พึงได้แห่งสิ่งเหล่านี้
" คือแห่งสิ่งสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ทั้งในขณะ
โลกิยมรรค ทั้งในขณะโลกุตรมรรคเหล่านี้. คำว่า "จำแนกเเยกแยะ" หมาย
ความว่า ไม่มีใครสามารถ เพื่อจะแยกเป็นแผนกและพลิกแพลงแสดงให้เห็น
ถึงความแตกต่างกันโดยอารมณ์ โดยที่ตั้ง โดยการเกิดขึ้น หรือโดยการดับ
ไปได้.

ก็ธรรมดาว่าอารมณ์ของสิ่งนั้นๆ มีอยู่. จริงอยู่ เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็น
ของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลกความ
รู้ชัดย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า. จริงอย่างนั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ
ตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ ก็ไม่ตรัสถามอย่างนี้ว่า "ภิกษุ เธอบรรลุ
ความรู้ชัดชนิดไหน เป็นความรู้ชัดในทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดใน
ทางชั้นที่สอง ที่สาม และที่สี่" แต่จะตรัสถาม ด้วยอำนาจจิตว่า "ภิกษุ เธอมี
จิตอย่างไร" และไม่ตรัสถามว่า "ภิกษุเธอมีผัสสะอย่างไร ? มีเวทนาอย่าง

ไร มีสัญญาอย่างไร มีเจตนาอย่างไร" แม้เมื่อจะทรงบัญญัติกุศลและ
อกุศล ก็ทรงบัญญัติด้วยอำนาจจิตอย่างนี้ว่า " สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ" และว่า "สิ่งที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัย
ใด จิตเป็นกุศลที่ท่องเที่ยวอยู่ในชั้นกาม ย่อมเป็นของเกิดขึ้นแล้ว" แต่เมื่อจะ
ทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลก จะไม่ทรงถามว่า ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทำหน้า
ที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จำอย่างไร มีความจงใจ
อย่างไร" จะทรงถามด้วยอำนาจความรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ภิกษุ ความรู้ชัดที่
เธอบรรลุแล้วเป็นไฉน เป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้
ชัดในหนทางชั้นที่สอง ชั้นที่สามและชั้นที่สี่" แม้ในอินทรีย์สังยุต ก็ตรัสแต่
สิ่งแบบโลกๆ และที่อยู่เหนือโลก ในอารมณ์เท่านั้นอย่างนี้ว่า " ภิกษุทั้ง
หลาย อินทรีย์ห้าเหล่านี้. ห้าอะไรบ้าง? คือ อินทรีย์คือความเชื่อถือ, อินทรีย์
คือความเพียร, อินทรีย์คือความระลึก, อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น, อินทรีย์คือ
ความรู้ชัดเจน, ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์คือความเชื่อถือ อันบุคคลพึงเห็นได้ที่
ไหน พึงเห็นอินทรีย์ คือความเชื่อถือ ในส่วนประกอบ สำหรับการถึง
กระแสสี่อย่างนี้. ก็ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือความเพียร อันบุคคลพึงได้ที่
ไหน พึงเห็นอินทรีย์ คือ ความเพียรในความเพียรชอบสี่อย่างนี้. ก็แลภิกษุ
ทั้งหลาย อินทรีย์คือความระลึก อันบุคคลพึงเห็นที่ไหน พึงเห็นอินทรีย์คือ
ความรู้ชัดเจนได้ที่ความจริงอันประเสริฐ 4 นี้" ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกเพื่อนซึ่งมีพระราชาเป็นที่ห้าคือลูกชายเศรษฐี
4 คน พระราชา 1 คิดว่า พวกเราจะเล่นนักขัตฤกษ์แล้วพากันเดิน
ไปตามถนน เมื่อถึงเรือนลูกชายเศรษฐีคนหนึ่ง อีก 4 คน ก็พากันนั่ง
นิ่ง. ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นที่เที่ยวสั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกิน
แก่พวกนี้ จงให้ของหอม พวงมาลัยและเครื่องสำอางเป็นต้น แก่พวกนี้.
เมื่อไปถึงเรือนของคนที่สอง...ที่สาม...ที่สี่ อีกสี่คนก็พากันนั้นนิ่ง ผู้เป็นเจ้าของ

เรือนเท่านั้นที่เที่ยวได้สั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่พวกนี้ จง
ให้ของหอมพวงมาลัยและเครื่องสำอางเป็นต้นแก่พวกนี้." คราวนี้หลัง
เขาหมด เมื่อไปถึงพระราชวัง พระราชาเท่านั้นถึงจะทรงเป็นใหญ่ในที่ทั้ง
ปวงก็จริง ถึงอย่างนั้นในเวลาแห่งพระราชานี้ ก็จะทรงเที่ยวได้สั่งว่า "พวก
เธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่คนพวกนี้ จงให้ของหอมและพวงมาลัยและ
เครื่องสำอาง เป็นต้นแก่พวกนี้." ในพระราชวังของพระองค์นั่นเอง ฉัน
ใด. ฉันนั้นนั่นแล เมื่ออินทรีย์อันมีความเชื่อถือเป็นที่ห้า แม้กำลังเกิดขึ้นอยู่ใน
อารมณ์เดียวกัน เหมือนเมื่อเพื่อนเหล่านั้นหยั่งลงสู่ถนนสายเดียวกัน ในเรือน
แรก อีก 4 คนพากันนั่งนิ่ง ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงานฉัน
ใด, ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อส่วนประกอบสำหรับถึงกระแส อินทรีย์คือความ
เชื่อถือที่มีลักษณะตัดสินอารมณ์ได้เด็ดขาดเท่านั้น ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัว
หน้า, อินทรีย์ที่เหลือกลายเป็นคล้อยไปตามอินทรีย์คือความเชื่อถือนั้น. เมื่อถึง
สัมมัปปธาน อินทรีย์คือความเพียร อันมีความประดับประคองเป็นลักษณะ
เท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยตามอินทรีย์
คือความเพียรนั้น, เหมือนในเรือนของคนที่ 2 อีก 4 คนนอกนี้ก็นั่งนิ่ง
ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงาน ฉะนั้น.
เมื่อถึงหลักตั้งความระลึก อินทรีย์คือความระลึก ที่มีความปรากฏ
เป็นลักษณะเท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อย
ไปตามอินทรีย์คือความระลึกนั้น เหมือนในเรือนของคนที่ 3 อีก 4 คนนั่ง
นิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้สั่งงานฉะนั้น.
เมื่อถึงความหลุดพ้นเพราะอำนาจฌาน อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น
อันมีความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า
ไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยไปตามอินทรีย์คือความตั้งใจมั่นนั้น, เหมือนในเรือน

ของคนที่ 4 อีก 4 คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้จัด
การ ฉะนั้น.

เมื่อมาถึงความจริงอันประเสริฐ อินทรีย์คือความรู้ชัดเจนที่มีความรู้
ชัดเจนเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอย
คล้อยไปตามอินทรีย์ คือความรู้ชัดเจนเท่านั้น, เหมือนเมื่อถึงพระราชวัง
ในตอนท้ายเขาหมด อีก 4 คนก็นั่งนิ่ง พระราชาเท่านั้นที่ทรงเที่ยวสั่งงานใน
พระราชวัง ฉะนั้น.

พระมหาโกฏฐิกเถระ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งในตำแห่งเลิศแห่งภิกษุสาวก
ถึงความแตกฉาน เมื่อจะถามเรื่องแบบโลกๆ ก็ทำจิตให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
แล้วจึงถาม เมื่อจะถามถึงเรื่องที่อยู่เหนือโลก ก็ยกเอาความรู้ชัดเจนมาให้เป็น
ใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้วจึงถาม. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระเป็นแม่ทัพธรรม
ก็แก้อย่างนั้นเหมือนกันด้วยประการฉะนี้แล.

คำว่า "ย่อมรู้ชัดเจนอันใด ท่านผู้มีอายุ ?" คือ ความรู้หนทางชัดเจน
ย่อมรู้ชัดเจนซึ่งสิ่งที่เป็นความจริงสี่ประการอันใด โดยทำนองเป็นต้น
ว่า นี้ทุกข์. คำว่า "ย่อมรู้แจ้ง อันนั้น" คือ แม้ความรู้แจ้งในหนทาง ก็ย่อมรู้
แจ้งอันนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. คำว่า ย่อมรู้แจ้งอันใด" คือความรู้แจ้งใน
วิปัสสนาโดยทำนองเป็นต้นว่า "สิ่งใดที่เป็นผู้ปรุง ผู้ถูกปรุง (สิ่งนั้น) ไม่
เที่ยง" คำว่า "ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้น" คือ แม้ความรู้ชัดด้วยวิปัสสนา ก็ย่อมรู้ชัด
สิ่งนั้นเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำว่า "เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้" คือ
เพราะเหตุนั้นสิ่งเหล่านี้. คำว่า "คละกัน" คือ เจือกันเพราะความที่เกิด
พร้อมกัน มีที่ตั้งอย่างเดียวกัน และมีอารมณ์อย่างเดียวกัน. คำว่า "พึงอบรม
ความรู้ชัด
" นี้ ท่านกล่าวประสงค์เอาความรู้ชัดในหนทาง ส่วนความรู้แจ้ง
ที่ประกอบพร้อมกับความรู้ชัดนั้น ก็ต้องอบรมให้พร้อมกันกับความรู้ชัดนั้น

ด้วย. คำว่า "ความรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้" นี้ ท่านกล่าวหมาย
เอาความรู้แจ้งในวิปัสสนา ส่วนความรู้ชัดประกอบกับความรู้แจ้งใน
วิปัสสนา ก็พึงกำหนดไปพร้อมๆ กับความรู้แจ้งนั้นด้วย. ทำไมท่านจึงถามคำ
ว่า "ความรู้สึก ความรู้สึก ?" แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องกำหนดว่าท่านหมาย
เอาแต่ความรู้สึกที่สำหรับใช้พิจารณาไตร่ตรองซึ่งเป็นไปในภูมิสามเท่า
นั้น. คำว่า "ย่อมเสวยสุขบ้าง" คือย่อมเสวยต่อตามเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุข. ทำนองอย่างเดียวกันนี้แหละ. ย่อมใช้ได้ในสองบทหน้าด้วย.
จริงอยู่ ท่านกล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ในที่นี้
ตามมหาลิสูตรนี้ว่า " มหาลิ ก็แลถ้ารูปนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นทุกข์
ถูกทุกข์ตกต้อง ถูกทุกข์เหยียบย่ำ สุขกล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ถ้าเป็นเสียแบบ
นี้ หมู่สัตว์ก็ไม่พึงกำหนัดหนักในรูป. มหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปแล เป็น
สุข ถูกสุขตกต้อง ถูกสุขเหยียบย่างเข้ามา ทุกข์กล้ำกรายเข้ามาไม่ได้
ฉะนั้น หมู่สัตว์จึงกำหนัดหนักในรูป เพราะกำหนัดหนัก จึงประกอบจน
ติด, เพราะประกอบจนติดจึงแปดเปื้อน. ก็แล ถ้าเวทนานี้ ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ มหาลิ ก็แล ถ้าวิญญาณนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วน
เดียว ฯลฯ จึงแปดเปื้อน." ด้วยประการฉะนี้.
และก็อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบใจความในเรื่องความรู้สึกนี้อย่างนี้
ว่า "ความรู้สึกที่เป็นสุขอีกอันหนึ่งก็ย่อมจะทำความรู้สึกที่เป็นสุขอันก่อนให้
เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกเป็นทุกข์อันหลังก็ย่อมจะทำความรู้สึกที่
เป็นทุกข์อันก่อนให้เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ที่ไม่ใช่สุข
อันหลังก็ย่อมจะกระทำความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขอันก่อนให้เป็นอารมณ์
แล้วจึงเสวย. มีคำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ก็ความรู้สึกนั่นแล ย่อมเสวย
ไม่มีใครอื่นที่ชื่อว่าเป็นผู้เสวย."

พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงอะไรในบทนี้ว่า "ความจำได้หมาย
รู้ ความจำได้หมายรู้
" คำว่า "ลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ก็ดี ว่า
"ลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ" ก็ดี แห่งปัญหา
ว่า อะไรเป็นลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ อะไรเป็นลักษณะแห่งความจำ
ได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ นี้เป็นอย่างเดียวกันนั่นเอง. ถึงแม้จะ
เป็นเช่นนี้ ก็พึงกำหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจำได้หมายรู้ที่เกิดพร้อม
กับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็น ไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น คำว่า "ย่อมจำ
สีเขียวบ้าง
" คือ เมื่อทำบริกรรมในดอกไม้สีเขียว หรือในผ้าแล้วให้ถึงอุปจาระ
หรืออัปปนา ชื่อว่า ย่อมรู้จำ ก็ในอรรถนี้ ใช้ได้ทั้งความรู้จำในบริกรรม
(ตระเตรียม) ทั้งความรู้จำในอุปจาระ (ฌานที่เฉียดๆ เข้าไป) ทั้งความ
รู้จำในอัปปนา (ฌานที่แนบแน่น) ถึงความรู้จำที่เกิดขึ้นในสีเขียวว่า "สี
เขียว" ก็ใช้ได้เหมือนกัน. ในสีเหลืองเป็นต้น ก็ทำนองนี้แหละ. ทำไม ท่านจึง
ไม่ถือเอาความรู้ชัดที่ถือเอาสิ่งทั้งสามนี้ คือ ความรู้สึก ความรู้จำ ความรู้
แจ้ง ในบทเหล่านี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลความรู้สึก" ความรู้จำ ความรู้แจ้งอันใด
ด้วยเล่า "เพราะไม่ใช่เป็นการรวบรวมเอามาทั้งหมด." จริงอยู่ เมื่อถือเอา
ด้วยความรู้ชัด ความรู้สึกเป็นต้นที่ประกอบด้วยความรู้ชัดจึงจะได้ ที่ไม่ประ
กอบหาได้ไม่. แต่เมื่อไม่ถือเอาความรู้ชัดนั้น, เมื่อสิ่งเหล่านั้นได้รับการถือเอา
แล้ว. ความรู้สึกเป็นต้น ทั้งที่ประกอบด้วยความรู้ชัดทั้งที่ไม่ประกอบ ชั้นที่
สุดแม้แต่สิ่งที่ทำหน้าที่รู้แจ้งทั้ง 10 ดวง ก็เป็นอันได้ด้วย. เหมือนอย่าง
ว่า ชาย 3 คน พึงกล่าวว่า "ด้าย ด้าย" คนที่ 4 ว่า "ด้ายร้อยแก้ว" ในคน
เหล่านั้น, 3 คน ย่อมได้การเดาบ้าง การคิดคาดคะเนเป็นต้นบ้าง และ
ด้วยจำนวนมากอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดเมื่อแสวงหาแม้แต่ใยแมงมุมหรือ
ด้ายร้อยแก้ว ก็ย่อมได้นิดหน่อย ฉันใด, พึงทราบข้อเปรียบเทียบฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บางท่านก็กล่าวว่า "ท่านแก้ไว้แล้ว เพราะได้การประกอบ

ไปพร้อมๆ กันกับความรู้ชัดและความรู้แจ้งมาแต่เบื้องล่างแล้ว และเพราะ
ฉะนั้น จึงไม่จัดเข้าในที่นี้ เพราะความที่ท่านได้แก้ไว้แล้ว คำว่า "ผู้มีอายุ
ก็แล ย่อมเสวยความรู้สึกใด
" คือ ความรู้สึกย่อมเสวยอารมณ์ใด แม้ความรู้
สึก ก็ย่อมจำอารมณ์นั้นเหมือนกัน. คำว่า "ย่อมรู้จำอารมณ์ใด" หมายความ
ว่า ความรู้จำ ย่อมรู้จำอารมณ์ใด แม้ความรู้แจ้ง ก็ย่อมรู้แจ้งอารมณ์นั้น
เหมือนกัน.
คราวนี้ พึงทราบความแตกต่างและความไม่แตกต่างในคำเหล่า
นี้ คือ "ย่อมรู้จำ ย่อมรู้แจ้ง ย่อมรู้ชัด" ในคำทั้ง 3 นั้น ต่างก็แต่เพียงคำนำ
หน้า (อุปสรรค) เท่านั้น. ส่วนบทว่า "ย่อมรู้" ไม่มีความแตกต่างกัน.
แม้ในอรรถว่ารู้ของบทนั้นก็พึงทราบความแตกต่างกัน. จริงอยู่ ความรู้
จำ สักแต่ว่ารู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น เท่านั้น ไม่อาจให้ถึงการ
แทงทะลุลักษณะทั้งสาม คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนได้ ความรู้แจ้ง
ย่อมรู้แจ้งอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นและให้ถึงการแทงทะลุลักษณะมี
ไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้ แต่จะให้ขวนขวายแล้วถึงความปรากฏของมรรคไม่
ได้ ความรู้แจ้งย่อมรู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นก็ได้ ให้ถึงการแทง
ทะลุลักษณะด้วยอำนาจความไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้ และขวนขวายแล้วสามารถ
ให้บรรลุความปรากฏของมรรคได้ด้วย. เหมือนอย่างว่า เราเอากหาปณะมา
กองไว้บนกระดานของเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่การเงิน) เมื่อคน 3 คน คือ
เด็กที่ยังไม่มีความรู้, ชายชาวบ้าน และเหรัญญิกใหญ่มายืนดู เด็กที่ยังไม่
มีความรู้ ย่อมได้แต่เพียงความวิจิตรงดงามและชนิดสี่เหลี่ยมหรือกลมของ
กหาปณะเท่านั้น ไม่รู้ว่า นี้เขายอมรับรู้กันทั่วว่าเป็นแก้วเครื่องอุปโภคบริโภค
ของคนทั้งหลาย. ชายชาวบ้าน ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วย รู้ถึงความที่
เขายอมรับรู้ทั่วกันว่าเป็นแก้วสำหรับใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของคนทั้ง
หลายด้วย แต่ไม่รู้ว่า "ก็กหาปณะนี้ปลอม นี้ไม่ปลอม นี้หยาบ นี้ละเอียด"

เหรัญญิกใหญ่ ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วย รู้ถึงความที่เขายอมรับรู้กัน
ว่าเป็นแก้วด้วย รู้ถึงความเก๊เป็นต้นด้วย. และก็เมื่อรู้อยู่ ก็ดูรูปนั้นบ้าง
ฟังเสียงบ้าง ดมกลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง เอามือหยิบสำรวจดูความหนัก และเบา
บ้าง แล้วก็รู้ว่าผลิตที่หมู่บ้านโน้นบ้าง รู้ว่าผลิตในจังหวัดโน้น ในเมือง
โน้น ใกล้สระธรรมชาติโน้น ใต้เงาภูเขาโน้น ที่ฝั่งแม่น้ำโน้น ผลิตโดย
อาจารย์คนโน้นบ้าง ฉันใด, ความรู้จำก็เหมือนเด็กที่ยังไม่มีความรู้ดู
กหาปณะ ย่อมรู้จำแต่อารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น. ความรู้แจ้งก็
เหมือนชายชาวบ้านดูกหาปณะ ย่อมรู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น
ด้วย ให้ถึงความแทงทะลุลักษณะด้วยสามารถไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. ความรู้
ชัด ก็เหมือนเหรัญญิกใหญ่ดูกหาปณะ ย่อมรู้อารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็น
ต้นด้วย ให้ถึงการแทงทะลุลักษณะด้วยอำนาจไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย ให้ขวน
ขวายแล้วถึงความปรากฏแห่งหนทาง (มรรค) ด้วย ฉันนั้นนั่นแล. ส่วนความ
แตกต่างแห่งสิ่งเหล่านั้น นั้น เจาะทะลุได้ยาก.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสน จึงกล่าวว่า "มหาบพิตร พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว" "ท่านนาคเสนผู้เจริญ สิ่งที่ทำ
ได้ยากอะไรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำแล้ว" "มหาบพิตร สิ่งที่ทำ
ได้ยาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำแล้ว คือข้อที่ทรงบอกการกำ
หนดสิ่งที่เป็นจิตและสิ่งที่เกิดกับจิตซึ่งไม่มีรูปร่างเป็นไปในอารมณ์อย่าง
เดียวกันว่า "นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่รูสึก นี้คือสิ่งที่ทำ
หน้าที่รู้จำ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่จงใจ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่คิด". ขนาดคนที่เอาน้ำ
มัน 5 ชนิด นี้คือ น้ำมันงา น้ำมันผักกาด น้ำมันมะซาง น้ำมันละหุ่ง น้ำมัน
เหลวมาใส่รวมในภาชนะเดียวกัน แล้วเอาไม้คนคู่มาคนทั้งวัน แล้วก็ตักแยก
จากกันแต่ละอย่าง ๆ ว่า นี้น้ำมันงา นี้น้ำมันผักกาด นี้ก็นับว่าทำได้ยากอยู่
แล้ว นี้ยิ่งทำให้ยากยิ่งกว่านั้นเสียอีก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระ

ธรรมราชา พระธรรมเมศวร เพราะความที่ทรงแทงทะลุพระสัพพัญ-
ญุตญาณอย่างดีแล้วตรัสบอกการกำหนดสิ่งหารูปร่างไม่ได้ที่กำลังเป็นไปใน
อารมณ์อย่างเดียวกันเหล่านี้. พึงทราบความข้อนี้ว่า เหมือนกับตักน้ำมาแยก
เป็นส่วนๆ อย่างนี้ว่า นี้เป็นน้ำของแม่น้ำคงคา นี้ของแม่น้ำยมุนา ในที่ที่แม่น้ำ
ใหญ่ทั้ง 5 สายไหลเข้าสู่ทะเลแล้วฉะนั้น. คำว่า "ที่สละออกแล้ว" คือสลัด
ออกไปแล้ว หรือที่ถูกทิ้งไปแล้ว. เมื่อใน คำว่า "ที่สละออกแล้ว" นั้น
ทั้งห้า" เมื่อมีความหมายว่า "ที่ถูกทิ้งไปแล้ว" ก็พึงทราบว่าเป็นตติยา-
วิภัติ. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า อันความรู้แจ้งที่สลัดออกไปจากอินทรีย์ทั้ง
5 แล้วเป็นไปในประตูใจ หรือที่ถูกอินทรีย์ทั้ง 5 ทอดทิ้งไปแล้ว เพราะความ
ที่ความรู้แจ้งนั้นไม่เข้าถึงความเป็นที่ตั้งได้. คำว่า "หมดจด" คือไม่มีอะไร
เข้าไปทำให้แปดเปื้อน คำว่า ด้วยความรู้แจ้งทางใจ" คือ ด้วยจิตที่มีฌานที่
สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์. คำว่า "พึงแนะนำอะไร " คือพึง
รู้อะไร เพราะสิ่งที่พึงรู้ในคำเป็นต้นว่า "ธรรมดาสิ่งที่พึงแนะนำบางสิ่ง
บางอย่างยังมีอยู่...ธรรม
" ท่านเรียกว่า "เนยฺย = พึงแนะนำ พึงรู้" พึงรู้
อากาสานัญจายตนะอย่างไร อรูปาวาจรสมาบัติ อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจิตที่มี
ฌานที่สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์; เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในฌาน
ที่สี่ที่ท่องเที่ยวไปในรูป ย่อมสามารถทำให้อรูปาวจรสมาบัติ (การเข้าถึง
ฌานที่ไม่ท่องเที่ยวไปในรูป หรือท่องเที่ยวไปในสิ่งที่ไม่ใช่รูป) เกิดขึ้น
ได้. เพราะอรูปาวจรสมาบัติย่อมสำเร็จแก่ผู้ที่อยู่ในฌานที่สี่ที่ท่องเที่ยว
ไปในรูปได้. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงตอบว่า "พึงรู้ (หรือแนะนำ)
อากาสานัญจายตนะ" ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น ทำไมจึงไม่กล่าวถึง เนวสัญ-
ญานาสัญญายตนะด้วยเล่า เพราะไม่มีการยึดไว้เป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหาก
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น บุคคลจะพิจารณาโดยเป็นหมวดๆ (และ)
โดยเป็นนัยๆ ก็ได้. การยึดเป็นแผนกๆ ย่อมไม่เกิดแก่ภิกษุ แม้ขนาดพระ

ธรรมเสนาบดีก็ตามที. เพราะฉะนั้น แม้พระเถระก็พิจารณาโดยเป็น
หมวดๆ (และ)โดยเป็นนัยๆ แล้วก็แก้ว่า "ได้ยินเขาว่ามาว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มี
แล้ว ย่อมมีพร้อม ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้" ด้วยประการฉะนี้. ส่วนพระผู้
มีพระภาคเจ้า เพราะความที่พระสัพพัญญุตญาณอยู่ในกำพระหัตถ์ ทรงยก
สิ่งมากกว่าห้าสิบอย่าง แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยการยกขึ้น
เป็นองค์จักไว้เป็นแผนกๆ แล้วตรัสว่า "การแทงทะลุอรหัตตผลมีประมาณ
เท่ากับการเข้าถึงความรู้จำ (สัญญาสมาบัติ)" ดังนี้.
คำว่า "ย่อมรู้ชัดด้วยตาคือปัญญา" คือ ย่อมรู้ด้วยปัญญาที่ชื่อว่า
เป็นดวงตา เพราะอรรถว่าเป็นผู้นำทุกทางในการเห็น. ในคำว่า "ย่อมรู้ชัด
ด้วยตาคือปัญญา
" นั้น ปัญญามี 2 อย่าง คือ ปัญญาในสมาธิ และปัญญาใน
วิปัสสนา. ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ด้วยปัญญาใน
สมาธิ. ท่านกล่าวความรู้โดยอารมณ์ด้วยการแทงลักษณะได้ทะลุด้วยปัญญาใน
วิปัสสนา. คำว่า "เพื่อต้องการอะไร คืออะไร เป็นความต้องการแห่งปัญญา
นี้. ในคำเป็นต้นว่า "มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ" คือ ชื่อว่ามีความรู้ยิ่งเป็นที่
ต้องการ เพราะย่อมรู้ยิ่งซึ่งสิ่งที่จะพึงรู้เป็นอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่ามีความกำหนดรู้
เป็นที่ต้องการเพราะย่อมกำหนดรู้สิ่งที่จะต้องกำหนดให้รู้. ชื่อว่ามีการละ
เป็นที่หมาย ก็เพราะย่อมละสิ่งที่จะต้องละ. ก็แลปัญญานี้ แม้ที่เป็นปัญญา
แบบโลกๆ ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกำหนดรู้เป็นที่
ประสงค์ และมีการละโดยการข่มไว้เป็นที่หมาย. ที่เป็นแบบอยู่เหนือ
โลก ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกำหนดรู้เป็นจุดประสงค์ และมีการ
ละโดยการตัดขาดเป็นเป้าหมาย. ในปัญญาทั้งสองนั้น ปัญญาแบบ
โลกๆ ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ปัญญาที่อยู่เหนือ
โลก ย่อมรู้ชัดโดยความไม่หลงลืม. คำว่า "อาศัยความเห็นที่ถูกต้อง" คือ
อาศัยความเห็นที่ถูกต้องในวิปัสสนา, และความเห็นที่ถูกต้องในมรรค. คำ

ว่า "และเสียงจากผู้อื่น" คือ การฟังเสียงที่เป็นที่สบาย. คำว่า "ความเอาใจ-
ใส่อย่างมีเหตุผล
" คือ เอาใจใส่ในอุบาย (วิธีการ) ของตน. แม้ในหมู่พระสาวก
เหล่านั้นเล่า ปัจจัยทั้งสองย่อมควรได้แก่ท่านแม่ทัพธรรม (พระสารี-
บุตร) เท่านั้น. เพราะพระเถระ ถึงจะบำเพ็ญบารมีมาตั้งหนึ่งอสงไขยกำไร
อีกแสนกัป ก็ยังไม่สามารถละกิเลสแม้แต่นิดเดียวโดยธรรมดาของตน
ได้. ต่อเมื่อได้ฟังคาถานี้จากพระอัสสชิเถระ ที่ขึ้นต้นว่า "สิ่งเหล่าใด มีเหตุ
เป็นแดนเกิด (=เกิดมาจากเหตุ) " จึงแทงทะลุได้. สำหรับเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า
และเหล่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไม่มีงานเกี่ยวกับเสียงจากคนอื่น. ผู้ที่
ดำรงอยู่ในความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเท่านั้น จึงจะให้เกิดปัจเจกโพธิญาณ
และสัพพัญญูคุณทั้งหลายได้. คำว่า "อัน...ช่วยเกื้อหนุนแล้ว"
คือ ได้รับอุปการะแล้ว. คำว่า "ความเห็นที่ถูกต้อง" คือ ความเห็นที่ถูกต้อง
ในอรหัตตมรรค (ทางแห่งความเป็นพระอรหันต์) ความเห็นที่ถูกต้องใน
อรหัตตมรรคนั้นเกิดในขณะแห่งผล. ที่ชื่อว่า มีความเห็นหลุดพ้นเพราะจิต
เป็นผล เพราะความหลุดพ้นเพราะปฏิบัติทางจิตเป็นผลของท่าน ที่ชื่อว่ามีผล
คือสิ่งที่ไหลออกมาจากความหลุดพ้นในทางจิตใจ เพราะผลคือสิ่งที่ไหลออก
มากล่าวคือความหลุดพ้นในทางจิตใจของท่านมีอยู่. แม้ในบทที่สองก็ท่านอง
เดียวกันนี้แหละ. และพึงทราบว่าในผลเหล่านี้ผลที่ 4 ชื่อว่า ความหลุดพ้น
เพราะความรู้ชัด สิ่งที่เหลือเป็นความหลุดพ้นเพราะจิตใจ. ในคำเป็นต้น
ว่า "อันศีลเกื้อหนุนแล้ว" ศีลอันมีความบริสุทธิ์ 4 อย่างชื่อว่าศีล. คำ
ว่า "การฟัง" คือการฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย (ถูกอารมณ์). คำว่า
"สากัจฉา" ได้แก่ ถ้อยคำที่ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏ-
ฐาน. คำว่า "สมถะ (ความสงบ)" ได้แก่สมาบัติ 8 ที่มีวิปัสสนารอง
รับ. คำว่า "วิปัสสนา (ความเห็นแจ่มแจ้ง)" คือการตามเห็น
(อนุปัสสนา) 7 อย่าง.

ก็แหละ พระอรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้นแล้วให้ผลแก่ผู้ที่กำลังบำเพ็ญ
ศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง ฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย ตัดความผิดพลาด
คลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน ทำงานในสมาบัติแปดที่มีวิปัสสนารองรับ อบรม
การตามพิจารณาเห็น 7 อย่างอยู่. พึงทราบข้อเปรียบเทียบที่เหมือนอย่างคน
ที่อยากกินมะม่วงสุกหวาน ติดซุ้มน้ำไว้รอบลูกต้นมะม่วงอย่างมั่นคง, ถือ
หม้อน้ำรดน้ำเป็นบางครั้งบางคราว, สร้างคันเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลออกอย่าง
มั่นคง, เอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ท่อนไม้แห้งๆ รังมดแดงหรือใยแมลงมุมออก
ไป. เอาจอบ (หรือเสียม)ไปขุดรอบๆโคนเป็นบางเวลา, เมื่อเขาระแวดระวังทำ
เหตุครบ 5 อย่าง ดังที่กล่าวมานี้อยู่ มะม่วงก็เจริญแล้วให้ผล.

พึงเห็นศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง เหมือนการติดซุ้มรอบต้น
ไม้, การฟังเรื่องราว (ธรรม) เหมือนการรดน้ำเป็นบางเวลา, สมถะ เหมือน
การกระทำความมั่นคงด้วยคัน, การตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏ-
ฐาน เหมือนการเอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ออก, การอบรมปัญญาเครื่องตาม
พิจารณาเห็น 7 อย่าง เหมือนการเอาจอบมาขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา,
พึงทราบการให้ผลคือความเป็นพระอรหันต์เพราะความเข้าใจที่ถูกต้อง
ซึ่งสิ่งห้าอย่างเหล่านี้ของภิกษุนี้ตามเกื้อหนุนแล้ว เหมือเวลาต้นมะม่วงที่เหตุ
ทั้งห้าอย่างเหล่านั้นตามเกื้อหนุนแล้วให้ผลหวานอร่อย ฉะนั้น.

ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระ ย่อมถามถึงอะไรในคำนี้ว่า "ผู้มีอายุ
ก็แลภพมีเท่าไร
" พระเถระย่อมถามว่า ความสืบต่อไปถึงรากทีเดียว
คนโง่ย่อมไม่ขึ้นจากภพเหล่าใด ข้าพเจ้าจะขอถามถึงภพเหล่านั้น" ในภพ
เหล่านั้น คำว่า "กามภพ" เพราะพระเถระท่านรวมเอาสิ่งทั้งสองคือการกระ
ทำที่เข้าถึงกามภพและขันธ์ที่ตัณหามานะและทิฏฐิยึดเอาไว้ ซึ่งเกิดขึ้นมา
เพราะการกระทำเป็นอันเดียวกันแล้วจึงกล่าวว่า "กามภพ"

แม้ในรูปภพและอรูปภพ ก็มีทำนองเดียวกันนี้แหละ. คำว่า "ต่อไป"
ได้แก่ในอนาคต. การเกิดขึ้นในภพใหม่อีก ชื่อว่า "การเกิดขึ้นอย่างยิ่งในภพ
ใหม่อีก" ในที่นี้ท่านถามถึงการเวียนว่ายตายเกิด. ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่ง
นั้นๆ อย่างนี้คือ ความยินดีอย่างยิ่งในรูป ความยินดีอย่างยิ่งในเสียงเป็น
ต้น ชื่อว่า "ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ "คำนี้เป็นปฐมาวิภัติ ลงในตติยา-
วิภัตินั่นเทียว จึงมีอธิบายว่า "การเกิดขึ้นในภพใหม่อีกย่อมมี เพราะความยิน-
ดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ. ก็แล ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็เป็นอันว่าพระเกระทำ
ให้ความหมุนเวียน (แห่งชีวิต ) ถึงที่สุดแล้วแสดงว่า "การไปมี, การมาก็
มี การไปและการมาก็มี ความหมุนเวียนก็ย่อมหมุนไป" ดังนี้.
บัดนี้ เมื่อจะถามถึงความเลิกหมุนเวียน พระมหาโกฏิฐิกเถระ จึง
ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า "ก็อย่างไร ท่านผู้มีอายุ" ในการตอบคำถามนั้น
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า "เพราะสำรอกความไม่รู้" ได้แก่เพราะความสิ้นไป และจืด
จางแห่งความไม่รู้. คำว่า "เพราะเกิดความรู้ขึ้น" ได้แก่เพราะเกิดความรู้ใน
พระอรหัตตมรรค. อย่าไปกล่าวคำทั้งสองนี้ว่า "ความไม่รู้ดับก่อน หรือ
ความรู้เกิดก่อน
" เพราะเกิดความรู้ขึ้น ความไม่รู้จึงเป็นอันดับไปโดย
แท้ เหมือนความมืดหายไป เพราะแสงโพลงของตะเกียง. คำว่า "เพราะความ
ทะยานอยากดับไปโดยไม่เหลือ
" ได้แก่ เพราะความดับไปโดยไม่เหลือคือ
ความสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก. คำว่า "ไม่มีความเกิดขึ้นในภพใหม่
อีก
" คือความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่อีกต่อไปอย่างนี้ย่อมไม่มี, การไป การ
มา ทั้งการไปและการมาก็ย่อมไม่มี. วงกลม (ของชีวิต) ก็หยุดหมุนไป
ด้วยประการฉะนี้. ก็เป็นอันว่า พระเถระทำให้วงกลม (ของชีวิต ) ถึงที่สุด
แล้วแสดง.

พระเถระย่อมถามถึงอะไรในคำนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ ก็เป็นไฉนเล่า?"
ภิกษุผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน (คือทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ) ย่อมเข้า
นิโรธเป็นบางครั้งบางคราว. พระเถระย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามฌานที่
หนึ่งซึ่งมีนิโรธเป็นเครื่องรองรับของภิกษุนั้น" ในคำนี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แล
ฌานที่หนึ่งนี้
" พระเถระย่อมถามถึงอะไร? ธรรมดาภิกษุผู้เข้านิโรธ
ต้องเข้าใจถึงขอบเขตส่วนกำหนดองค์ว่า ฌานนี้มีองค์ห้า นี้มีองค์สี่ นี้มีองค์
สาม นี้มีองค์สอง. พระเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามถึงขอบเขตส่วนสำ-
หรับกำหนดองค์. ในองค์เป็นต้นว่า "ความตรึก" (นี้) ความตรึกมีการยก
ขึ้น (คือยกอารมณ์ขึ้นสู่จิต หรือยกจิตขึ้นสู่อารมณ์) เป็นลักษณะ ความ
ตรองมีการเคล้าคลึง (อารมณ์) เป็นลักษณะ, ความเอิบอิ่มมีการแผ่ไปเป็น
ลักษณะ. ความสบายมีความชื่นใจเป็นลักษณะ. ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ สิ่งทั้งห้าอย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยประ
การฉะนี้.
ในคำว่า "ที่องค์นั้นละได้แล้ว" นี้ พระเถระย่อมถามถึงอะไร?
ท่านถามว่า ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้านิโรธ ต้องเข้าใจองค์ที่เป็นอุปการะและที่
ไม่ใช่เป็นอุปการะ ข้าพเจ้าจะขอถามองค์เหล่านั้น. สำหรับคำตอบในคำถาม
นี้ ปรากฏแล้วแล. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าท่านได้ถือเอาฌานที่หนึ่งซึ่ง
มีนิโรธเป็นที่รองรับไว้ในชั้นล่างแล้ว พระเถระจึงจะถามการเข้าเนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งฌานที่หนึ่งนั้นในชั้นบน. ก็แล
สมาบัติทั้ง 6 ในระหว่างแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น พึงทราบว่าท่าน
ได้ย่อไว้ หรือท่านชี้นัยแก้ไว้แล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะถามประสาททั้งห้าที่อาศัยวิญญาณพระมหาโกฏฐิก-
เถระจึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ห้าเหล่านี้" เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า "โคจร-

วิสัย" คือ วิสัยอันเป็นโคจร. คำว่า "ของกันและกัน" ได้แก่ไม่ยอมเสวย
เฉพาะโคจรวิสัย (อารมณ์เป็นที่เที่ยวไป) ของแต่ละอย่างๆ อย่างนี้ คือ
หู (รับอารมณ์ได้ทั้ง) ของตาและของหู หรือ (รับอารมณ์) ของตา. หากรวม
เอาอารมณ์ที่เป็นรูปต่างด้วยสีเขียวเป็นต้น แล้วโอนไปให้อินทรีย์คือหูแล้วพูด
ว่า " เอ้า... แกลองกำหนดมันก่อนซิ...ลองว่าให้แจ่มแจ้งมาซิว่า นี้มันชื่อ
อารมณ์อะไร " ถึงวิญญาณทางตาก็เถอะ ยกปากออกแล้ว มันก็จะพึงพูด
ตามธรรมดาของตนอย่างนี้ว่า "เฮ้ย...ไอ้บอดแล้วโง่ด้วย ต่อให้มึงวิ่งวนอยู่ตั้ง
ร้อยพันปีก็เถอะ นอกจากกูแล้ว มึงจะได้ผู้รู้จักสิ่งนี้ที่ไหน เอามันมาน้อม
ใส่ในประสาทตาซิ กูจะรู้จักอารมณ์นั้นไม่ว่ามันจะเขียวหรือเหลือง นั่นมัน
ไม่ใช่วิสัยของผู้อื่น เลยมันต้องเป็นวิสัยของกูเท่านั้น "แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัย
อย่างเดียวกันนี้แล. อย่างนี้ชื่อว่าอินทรีย์ เหล่านี้ไม่ยอมรับเสวยโคจรวิสัยของ
กันและกัน. คำว่า "อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ ท่านถามว่า "อะไรเป็นที่
พึ่งอาศัยของอินทรีย์เหล่านี้ คืออินทรีย์เหล่านี้อาศัยอะไร-" คำว่า "มีใจ
เป็นที่พึ่งอาศัย
" ได้แก่ มีใจเป็นที่แล่นไป (เสพอารมณ์ หรือ ทำกรรม)
เป็นที่พึ่งอาศัย. คำว่า "ใจนั่นแหละ...ของ...เหล่านั้น" ได้แก่ใจที่แล่น
ไปตามมโนทวาร หรือใจที่แล่นไปทางทวารทั้งห้า ย่อมเสวยโคจรวิสัยแห่ง
อินทรีย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น. จริงอยู่ ความรู้แจ้งในทาง
ตา ย่อมเป็นสักแต่ว่าเห็นรูปเท่านั้น ไม่มีความกำหนัดความคิดประทุษ-
ร้าย หรือความหลงในการเห็นรูปเป็นต้น แต่จิตที่แล่นไปในทวารนี้ต่าง
หาก ย่อมกำหนัด ย่อมประทุษร้าย หรือ ย่อมหลง. แม้ในความรู้แจ้งทางหู
เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบในเรื่องอินทรีย์เหล่านั้น คือ
มีเรื่องเล่าว่า มีกำนันอ่อนแอ 5 คน พากันส้องเสพพระราชา แล้วก็
ได้กำไรเล็กน้อยในหมู่บ้าน 5 ตระกูล แห่งหนึ่งด้วยความยากลำบาก.

ของเพียงเท่านี้แหละ คือปรับเป็นปลาหนึ่งส่วน เนื้อหนึ่งส่วน กหาปณะพอซื้อ
เชือกได้หนึ่งเส้น กหาปณะพอซื้อเชือกผูกช้างได้ 1 เส้น สี่กหาปณะ แปด
กหาปณะ สิบหกกหาปณะ สามสิบสองกหาปณะ หรือหกสิบสี่กหาปณะ
ในหมู่บ้านนั้น ย่อมถึงพวกกำนันเหล่านั้น. พระราชาเท่านั้นทรงรับพลีใหญ่โต
เป็นหมวดสิ่งของร้อยสิ่ง ห้าร้อยสิ่ง พันสิ่ง.

พึงทราบว่าประสาททั้งห้าเหมือนหมู่บ้านห้าตระกูล ในที่นั้น. ความรู้
เเจ้ง (วิญญาณ) ทั้งห้า เหมือนกำนันอ่อนแอห้าคน การแล่นไปเสพ
อารมณ์ (ชวนะ)เหมือนพระราชา หน้าที่แต่การเห็นรูปเป็นต้นแห่งความรู้แจ้ง
ในทางตาเป็นต้น เหมือนกำนันอ่อนแอได้รับกำไรเล็กน้อย. ส่วนความกำหนัด
เป็นต้นไม่มีในประสาทเหล่านี้. พึงทราบความกำหนัดเป็นต้นของจิตที่ทำ
หน้าที่แล่นไปเสพอารมณ์ในทวารเหล่านั้น เหมือนการรับพลีจำนวนมากของ
พระราชา.

ในคำว่า "ห้าเหล่านี้ ผู้มีอายุ" นี้ พระเถระย่อมถามถึงอะไร ท่าน
ถามถึงประสาททั้งห้าภายในนิโรธว่า สำหรับพวกสิ่งที่หารูปร่างไม่ได้
(นั้น) เมื่อความเป็นไปที่สำเร็จมาจากกิริยา (จิต) กำลังดำเนินไปอยู่ ก็จะเป็น
ปัจจัยที่เข้มแข็งแก่ประสาททั้งหลาย ก็ผู้ใดดับประสาทที่เป็นไปแล้วนั้นแล้ว
เข้านิโรธสมาบัติ ประสาททั้งห้าภายในนิโรธของผู้นั้นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่
ได้ ข้าพเจ้าขอถามสิ่งนี้ด้วยประการฉะนี้ คำว่า "อาศัยอายุ" ได้แก่
อาศัยธรรมชาติที่เป็นใหญ่ทำหน้าที่เป็นอยู่ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่. คำว่า "อาศัย
ไออุ่น
" ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ อาศัยไฟที่เกิดจากกรรมตั้ง
อยู่. ก็เพราะแม้ไฟที่ผลิตมาจากกรรม เว้นสิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจึงว่า ไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่. คำว่า "ลุกไหม้
อยู่
" ได้แก่โพลงอยู่. คำว่า "อาศัยเปลวไฟ" ได้แก่อาศัยเปลวแสง. คำ

ว่า "แสงย่อมปรากฏ" ได้แก่แสงสว่างย่อมปรากฏ. คำว่า "เปลวไฟอาศัย
แสง
" ได้แก่เปลวไฟอาศัยแสงสว่างจึงปรากฏ. ในคำว่า "ฉันนั้น นั่นแล
ท่านผู้มีอายุ อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่
" นี้คือ ไฟที่เกิดจากกรรมเหมือน
เปลวไฟ, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ เหมือนแสงสว่าง, จริงอยู่ เปลวไฟ
เมื่อจะเกิด ก็ถือเอาแสงสว่างนั่นแหละ เกิดขึ้น. แม้เปลวไฟเองนั้นก็ย่อมเป็น
ของปรากฏเป็นเล็กใหญ่ยาวสั้น ตามแสงสว่างที่ตนนั้นให้เกิดนั่นแหละ
การใช้สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ซึ่งเกิดพร้อมกับมหาภูตรูปที่เกิดจากกรรม
ซึ่งอาศัยไออุ่น ตามรักษาไออุ่น ก็เหมือนความปรากฏแห่งความเป็นไปของ
เปลวไฟนั้นเอง เพราะแสงสว่างที่ความเป็นไปแห่งเปลวไฟในแสงสว่างนั้นให้
เกิด จริงอยู่ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ย่อมรักษาไออุ่นที่เป็นไปอันเกิดจาก
กรรมไว้ สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง ฯลฯ ร้อยปีบ้าง. ด้วยประการฉะนี้
มหาภูตรูป จึงเป็นปัจจัยด้วยอำนาจนิสสัยปัจจัยเป็นต้นแห่งรูปอาศัย.
ฉะนั้น จึงเป็นอันว่า อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่. ความเป็นใหญ่ในความ
เป็นอยู่ย่อมรักษามหาภูตรูปทั้งหลายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้าใจว่า ไออุ่นย่อม
อาศัยอายุตั้งอยู่.
คำว่า "อายุสังขาร" ก็คือ อายุนั่นเอง. คำว่า "สิ่งที่มีความรู้-
สึก
" คือสิ่งที่เป็นเครื่องรู้สึก. คำว่า "การออกย่อมปรากฏ" คือการออก
จากสมาบัติก็ปรากฏ. จริงอยู่ ภิกษุใด เกิดพอใจในอรูปที่เป็นไป
แล้ว จึงดับความรู้จำและความรู้สึกแล้วเข้าสู่นิโรธ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งมีสิ่งที่
เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปเป็นปัจจัยก็เกิดแก่ภิกษุนั้น ตามอำนาจเวลา
ตามที่กะไว้ ส่วนสิ่งทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นก็คงเป็น
ไป. เหมือนอะไร ? เหมือนชายคนหนึ่งเกิดกลุ้มขึ้นมา ในเพราะเปลวไฟที่เป็น
ไปจึงเอาน้ำมาสา ทำให้เปลวไฟเลิกเป็นไป เอาขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วก็
นั่งนิ่ง. เมื่อเขาอยากให้มีเปลวอีก ก็เขี่ยขี้เถ้าออกแล้วพลิกถ่านกลับ เติมเชื้อ

แล้วเป่าลมด้วยปาก หรือพัดลมด้วยก้านตาล (เอาพัดใบตาลพัด) ทีนั้นเปลว
ไฟที่เป็นไปก็เป็นไปอีกฉันใด, ฉันนั้นนั่นแล สิ่งที่ไม่มีรูป ก็เหมือนเปลวไฟที่
เป็นไป, การที่ภิกษุเกิดกลุ้มใจขึ้นมา ในเพราะอรูป (ฌาน) ที่เป็นไป
แล้ว จึงดับความรู้จำและความรู้สึก เข้านิโรธ ก็เหมือนการที่คนเกิดรำคาญ
ในเพราะเปลวไฟที่เป็นไปแล้ว จึงเอาน้ำมาสาดทำให้เปลวไฟเลิกเป็นไปเอา
ขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วนั่งนิ่ง, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปคือธาตุไฟที่
เกิดจากกรรม ก็คงเป็นไปเหมือนกับถ่านที่เอาขี้เถ้ากลบไว้, การไปตามเวลา
ที่ภิกษุกะไว้ เหมือนกับการที่เมื่อคนต้องการเปลวไฟอีก เขี่ยขี้เถ้าเป็นต้นออก
ไป, ความเป็นไปของสิ่งที่มีรูปและไม่มีรูปในเมื่อสิ่งที่ไม่มีรูปเกิดขึ้นอีก
พึงทราบว่า เหมือนความเป็นไปของแสงไฟ. คำว่า "อายุ ไออุ่นและวิญ-
ญาณ"
หมายความว่าสิ่งสามอย่างเหล่านี้คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของ
รูป 1 ธาตุไฟที่เกิดจากกรรม 1 จิต 1 ละทิ้งรูปกายนี้เมื่อไร เมื่อนั้น -
ก็ ถูกทอดทิ้งนอนบนแผ่นดินเหมือนท่อนไม้ที่ไร้จิตใจฉะนั้น สมจริงดัง
คำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

"อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละร่างนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้น
ก็ถูกทิ้งให้นอนอย่างไร้จิตใจ กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่นไป".


การหายใจเข้าและการหายใจออก ชื่อว่า "เครื่องปรุงกาย" ความ
ตรึกและความตรองชื่อว่า "เครื่องปรุงวาจา" ความรู้จำและความรู้สึก
ชื่อว่า "เครื่องปรุงจิต" ความเป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปชื่อว่า
"อายุ". คำว่า "แตกไปโดยรอบ" ได้แก่ถูกกำจัด ฉิบหายแล้ว ในเรื่องของ
นิโรธ (ความดับ) นั้น บางท่านกล่าวว่า จิตยังไม่ดับเพราะคำ (บาลี) ว่า
"เครื่องปรุงจิตของผู้เข้านิโรธเท่านั้น ที่ดับไป, ฉะนั้นจึงเป็นการเข้าถึงกาย
พร้อมกับจิต" พึงกล่าว (ค้าน) ท่านเหล่านั้นว่า "คำพูดก็ไม่ดับน่ะซี เพราะ

คำ (บาลี)ว่า แม้เครื่องปรุงคำพูดของเธอ ก็ดับไปด้วย ฉะนั้น ผู้เข้านิโรธ-
สมาบัติ พึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็ได้ พึงนั่งทำการท่องหนังสืออยู่ก็ได้ ละจิต
ของผู้ที่ทำกาละตายไปแล้ว ก็พึงไม่ดับ เพราะคำ (บาลี) ว่า "แม้เครื่องปรุง
จิตของเขาก็ดับไปแล้ว" ฉะนั้น ผู้เผา แม่พ่อ หรือพระอรหันต์ที่ตายไป
แล้ว ก็จะพึงเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมน่ะซี" ...เพราะฉะนั้นอย่าไปทำความยึด
มั่นในพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ในแบบแผน (นัย) แล้วพิจารณาใจความให้รอบคอบ
จริงอยู่ ใจความเป็นหลักที่พึ่งอาศัย ไม่ใช่พยัญชนะ คำว่า "อินทรีย์ทั้ง
หลายผ่องใสแล้ว" ความว่า จริงอยู่ เมื่อความเป็นไปที่สำเร็จมาจากกิริยา
จิต กำลังเป็นไป เมื่ออารมณ์ภายนอกกำลังกระทบประสาท อินทรีย์ทั้งหลาย
ย่อมเหนื่อยเป็นเหมือนกับถูกกระแทกถูกทำ เหมือนกับกระจกที่ตั้งไว้ในทาง
ใหญ่สี่แยก ถูกละอองฝุ่นที่ฟุ้งขึ้นเพราะลมเป็นต้นทำให้แปดเปื้อนฉะนั้น.
ประสาททั้งห้าที่อยู่ภายในนิโรธของภิกษุผู้เข้านิโรธ ย่อมรุ่งเรืองเหลือที่
จะเปรียบ เหมือนกระจกที่ใส่ไว้ในถุงแล้วตั้งไว้ในตู้เป็นต้น ย่อมรุ่งเรืองใน
ภายในนั่นเอง ฉันใด ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงได้กล่าว
ว่า "อินทรีย์ทั้งหลายผ่องใสแล้ว". ในคำว่า "ผู้มีอายุ ก็ปัจจัย มีเท่าไร"
พระมหาโกฏฐิกเถระย่อมถามถึงอะไร ท่านย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอ
ถามถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ. สำหรับใน
การแก้ปัญหานั้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวถึงปัจจัยที่ไปปราศไว้สี่อย่าง
ว่า "และเพราะละสุขเสียได้" เป็นต้น.

ในคำว่า "ไม่มีเครื่องหมาย" นี้ ท่านย่อมถามถึงอะไร ท่านถาม
ว่า ข้าพเจ้าจะขอถามถึงผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธ. ก็แหละการออก
จากสมาบัติที่เหลือย่อมมีเพราะภวังค์. ส่วนการออกจากนิโรธ ย่อมมีเพราะ
ผลสมาบัติอันหลั่งไหลมาจากวิปัสสนา. ฉะนั้น พระเถระจึงถามถึงการออก

จากนิโรธนั้นแล. คำว่า "มีเครื่องหมายทุกอย่าง" ได้แก่อารมณ์ทั้งหมดมีรูป
เป็นต้น. คำว่า "และการใส่ใจในธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย" ได้แก่การใส่ใจใน
นิพพานธาตุที่ปราศจากเครื่องหมายทุกชนิด. พระเถระกล่าวหมายเอาความ
ใส่ใจที่เกิดพร้อมกับผลสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. เป็นอันว่าท่านถือเอาฌาน
ที่หนึ่งที่มีนิโรธเป็นที่รองรับในชั้นล่างแล้ว. เนวสัญญานาสัญญายตนะที่
เป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ ท่านก็ถือเอาแล้ว. ผลสมาบัติของผู้ออกจาก
นิโรธ ท่านก็ถือเอาในบทนี้แล้วแล. ในที่นี้พึงกล่าวถึง นิโรธกถา (ถ้อยคำว่า
ด้วยความดับ) นิโรธกถานั้นมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า ''ความรู้ชัด
สำหรับใช้อบรมบ่มความชำนิชำนาญ ย่อมมีได้ด้วยความสงบ ระงับเครื่อง
ปรุงแต่งตั้งสามอย่าง เพราะผู้ประกอบด้วยผลสองอย่าง ด้วยการดำเนินไป
ในความรู้ทั้งสิบหกอย่าง และการดำเนินไปในสมาธิเก้าอย่าง ความรู้
(ญาณ) ย่อมมีได้ด้วยการเข้านิโรธ" ส่วนคำวินิจฉัยทุกแง่ทุกมุมของนิโรธ-
กถานั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงสมาบัติสำหรับใช้สอย พระเถระจึงกล่าวคำเป็น
ต้นว่า "ผู้มีอายุ ก็แลปัจจัยมีเท่าไร" ก็ธรรมดาการหยุดของผลสมาบัติของ
ผู้ออกจากนี้โรธไม่มี. การหยุด (ฐิติ ได้แก่ ฐิติขณะ) เป็นไปหนึ่งหรือสองวาระจิต
เท่านั้น แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์ สำหรับภิกษุที่นั่งดับสิ่งที่ไม่มีรูปที่เป็นไป
แล้วตลอดเจ็ดวันนี้ จะตั้งอยู่ในผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธได้ไม่นาน.
แต่ในสมาบัติสำหรับใช้สอย การกำหนดเวลา เป็นเรื่องสำคัญแท้. ฉะ-
นั้น ชื่อว่าการหยุดนั้น จึงย่อมมีได้. เพราะเหตุนั้น พระมหาโกฏฐิกเถระ
จึงกล่าวว่า "ด้วยการตั้งอยู่ (ฐิติ) แห่งผลสมาบัติที่ไม่มีเครื่องหมาย" หมาย
ความว่า "ปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่ได้นานแห่งผลสมาบัตินั้นมีเท่าไร" ส่วนใน
การแก้ปัญหานั้น ท่านกล่าวถึงการกะเวลาว่า "และการปรุงแต่งอย่างยิ่งใน

กาลก่อน" พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงการออกจากภวังค์ในคำว่า "แห่ง
การออก" นี้. แม้ในการแก้ปัญหานั้น ท่านก็ได้กล่าวถึงความใส่ใจที่เกิดขึ้น
พร้อมกับภวังค์ด้วยอำนาจเครื่องหมายมีรูปเป็นต้นว่า "และการใส่ใจเครื่อง
หมายทุกชนิด
" ในคำว่า "ผู้มีอายุ...ก็แลนี้ใด" นี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ
ถามถึงอะไร ท่านถามว่าในที่นี้ไม่มีข้อใหม่อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะขอเอาสิ่ง
ที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเป็นอันเดียวกันแล้วจึงถาม.
ก็แล สิ่งเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ที่ไหน ท่านกล่าวความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีขอบ
เขตจำกัดไว้ในที่นี้แลว่า "ย่อมจำสีเขียวก็ได้ ย่อมจำเหลือง สีแดง สีขาวก็
ได้."
ท่านกล่าวถึงความเป็นของว่างเปล่าในสูตรนี้ว่า "ย่อมรู้ชัดอากิญจัญญา"
ในที่นี้ว่า "พึงรู้อากิญจัญญายตนะที่บริกรรมว่า" "ไม่มีอะไรๆ (หรืออะไร
น้อยหนึ่งก็ไม่มี)" ด้วยตาคือความรู้ชัด. ท่านกล่าวถึงความหลุดพ้นทางใจที่
ไม่มีเครื่องหมายในพระสูตรนี้ว่า "ผู้มีอายุ...ก็ปัจจัยของความหยุดอยู่
ของการออกแห่งความหลุดพ้นทางใจซึ่งไม่มีเครื่องหมายมีเท่าไร
" ท่าน
ย่อมเอาสิ่งที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเข้าเป็นอันเดียวกันในที่
นี้ แล้วจึงถามอย่างนี้. เพราะกล่าวว่า "ก็และท่านใส่ความหลุดพ้นนั้นแล้วจึง
แสดงความหลุดพ้นนี้ไว้ในที่นั้นๆ หรือ "จึงยังมีสิ่งเหล่าอื่นอีกสี่อย่างที่มีชื่อ
อย่างเดียวกัน. สิ่งอย่างเดียวกันชื่อถึง 4 อย่างก็มี. ท่านจึงถามเพื่อให้ผู้ตอบ
ทำสิ่งหนึ่งให้แจ่มแจ้งแล้วบอกในที่นี้. ในอรรถกถาท่านทำความตกลงใจดัง
นี้. คำในการตอบคำถามนั้นว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าความหลุดพ้นทางใจที่
ไม่มีประมาณ (ไม่มีขอบเขตจำกัด)
" คือ นี้ชื่อว่าความหลุดพ้นทางใจที่ไม่
มีประมาณเพราะไม่มีประมาณแห่งการแผ่ไป. จริงอยู่ ความหลุดพ้นทางใจที่
ไม่มีประมาณนี้ ย่อมแผ่ไปในสัตว์ไม่จำกัดจำนวน หรือแผ่ไปในสัตว์
หนึ่ง จนถึงไม่มีสัตว์เหลืออยู่.

คำว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าอากิญจัญญา" คือ ที่ชื่อว่าอากิญจัญญา
เพราะไม่มีความกังวลในอารมณ์. คำว่า "หรือจากตน" คือว่าง
จากตน กล่าวคืออัตภาพบุรุษและบุคคลเป็นต้น. คำว่า "หรือจากของ
ตน
" ได้แก่ว่างจากของตน กล่าวคือ เครื่องเครามีจีวรเป็นต้น. คำว่า "ไม่มี
เครื่องหมาย
" ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมายเพราะไม่มีเครื่องหมายมีความ
กำหนัดเป็นต้น. พระเถระกล่าวหมายเอาการเข้าถึงอรหัตตผล. คำว่า "ใจความ
ก็ต่างกัน และ พยัญชนะก็ต่างกัน
" ได้แก่ ทั้งพยัญชนะทั้งใจความของสิ่ง
เหล่านั้นแตกต่างกัน. ในความแตกต่างกันเหล่านั้น ความแตกต่างกันแห่ง
พยัญชนะแจ่มแจ้งแล้ว. ส่วนใจความ คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่จำกัด
จำนวน (อปฺปมาณา เจโตวิมุตฺติ) เป็น มหัคคตะ. เป็นรูปาวจรโดยภูมิ แต่โดย
อารมณ์มีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์. อากิญจัญญาโดยภูมิเป็นอรูปาวจร
โดยอารมณ์มีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว. ความเป็นของว่าง (สุญฺญตา) โดยภูมิ
เป็นกามาวจร โดยอารมณ์ มีสังขารเป็นอารมณ์. สำหรับในที่นี้ท่านหมาย
เอาวิปัสสนาว่า ความเป็นของว่าง. ความไม่มีนิมิต (อนิมิตฺตา) โดยภูมิเป็น
โลกุตตระ โดยอารมณ์มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในคำเป็นต้นว่า "ผู้มี
อายุ ความกำหนัดแล เป็นสิ่งทำความประมาณ
" ท่านกล่าวสิ่งที่ทำความประ
มาณไว้ว่า เหมือนอย่างว่าที่เชิงเขา มีน้ำเน่าสิบห้าชนิด เป็นน้ำมีสีดำ
ปรากฏราวกับว่าลึกตั้งร้อยวา แก่ผู้มองดู ไม่มีแม้แค่ท่วมหลังเท้าของผู้เอาไม้
เท้าหรือเชือกวัดอยู่ฉันใด. ฉันนั้นเหมือนกัน กิเลสมีความกำหนัดเป็นต้น
ยังไม่เกิดขึ้นตราบใด ตราบนั้น ก็ไม่มีใครสามารถรู้จักบุคคลได้ ต่าง
ก็ปรากฏเหมือนพระโสดาบัน เหมือนพระสกทาคามี และเหมือนพระอนาคามี
ต่อเมื่อความกำหนัดเป็นต้น เกิดขึ้นแก่เขา จึงปรากฏออกมาว่า เป็นผู้กำหนัด
ผู้ดุร้าย ผู้หลง. ความกำหนัดเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแสดงประ-
มาณของบุคคลว่า "คนนี้เพียงเท่านี้" ดังที่ว่ามานี้.

คำว่า "ผู้มีอายุ ความหลุดพ้นทางใจที่มีสัตว์อันบุคคลพึงประมาณ
ไม่ได้ มีประมาณเท่าใดแล
" คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณ
มีประมาณเพียงใด ก็แลการหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณเหล่านั้นมีเท่า
ไร มี 12 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 มรรค 4 ผล 4. ใน 12 อย่างนั้น
พรหมวิหารชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะความที่การแผ่ไปไม่มีประมาณ
ที่เหลือชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำประมาณ.แม้พระ
นิพพานก็ประมาณไม่ได้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้นทางใจไม่มี (ในพระ
นิพพานนั้น). ฉะนั้น ท่านจึงไม่จัดเข้า. คำว่า "ไม่กำเริบ" หมายเอาความ
หลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผล. ก็แล ความหลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผล
นั้น เป็นใหญ่กว่าอะไรๆ หมด. ฉะนั้น ท่านจึงว่า "อันท่านย่อมกล่าวว่าเป็น
เลิศ
" คำว่า "ผู้มีอายุ ความกำหนัดแล เป็นตัวเบียดเบียน" คือความกำหนัด
แม้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเบียดเบียน ย่ำยี รบกวน บุคคล ฉะนั้น ท่านจึง
ว่า เป็นตัวเบียดเบียน (ตัวก่อให้เกิดความกังวล, ความยุ่ง). เล่ากันมาว่า
พวกคนกำลังพากันเอาวัวนวดลานข้าวอยู่ ต่างพากันพูดว่า "ไอ้ดำ..เบียดเข้า
ไป เบียดไอ้แดงเข้าไป" พึงทราบอรรถว่า ย่ำยี อรรถว่า เบียดเบียน ดังที่ว่า
มานี้. แม้ในความประทุษร้ายและความหลง ก็มีทำนองเดียวกันนี้เหมือน
กัน. สิ่งเก้าอย่างคือ อากิญจัญญายตนะ 1 มรรคและผลอย่างละหนึ่งๆ (รวม
เป็นแปด) ชื่อ อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ. ใน 9 อย่างนั้น อากิญจัญญาย-
ตนะ ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวล (ความเบียด
เบียน, ความย่ำยี, ความรบกวน, ความยุ่งยาก, หรือน้อยหนึ่ง, อะไรๆ
น้อยหนึ่ง) แก่ใจ. มรรค (4) และผล (4) ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีความ
เบียดเบียน คือเพราะความไม่มีกิเลสเครื่องย่ำยีและเครื่องก่อให้เกิดความ
กังวล, แม้พระนิพพานก็เป็นอากิญจัญญา. แต่ไม่มีความหลุดพ้นแห่งใจ
(เพราะใจไม่มีในพระนิพพาน พระนิพพานไม่มีใจ) เพราะฉะนั้นจึงไม่จัด

เข้า. ในคำว่า "ผู้มีอายุ ความกำหนัดแลเป็นเครื่องทำเครื่องหมาย" เป็น
ต้น ความว่า เมื่อความกำหนัดยังไม่เกิดตราบใด ตราบนั้น ไม่มีใครสามารถ
รู้ได้ว่าเป็นอริยะหรือเป็นปุถุชน. ก็แลความกำหนัดเมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้น
เหมือนกำลังทำเครื่องหมายสำหรับจำได้ว่า "บุคคลนี้ ชื่อว่า ผู้มีความ
กำหนัด" เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่า "เป็นเครื่องทำเครื่องหมาย เหมือนลูกวัว
2 ตัว ที่เหมือนกันของ 2 ตระกูล ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำเครื่องหมายแก่
ลูกวัวทั้ง 2 ตัวนั้น ก็ย่อมไม่มีใครที่สามารถรู้ได้ว่า "นี้เป็นลูกวัวของตระกูล
โน้น นี้ของตระกูลโน้น" แต่เมื่อใดเอาเหล็กแหลมที่ปลายหอกเป็นต้น มาทำ
เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีผู้สามารถรู้ได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน. แม้ในความดุร้ายและความหลง ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน.

วิปัสสนา1 อรูป 4 มรรค 4 และผล 4 รวมเป็น 13 สิ่ง (นี้) ชื่อ
ว่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ในสิบสามสิ่งนั้น
วิปัสสนา ชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ก็เพราะเพิกถอนเครื่องหมายว่า
เที่ยง เครื่องหมายว่าสุข เครื่องหมายว่าตัวตนเสียได้. อรูป 4 ชื่อว่าไม่มีอะไร
เป็นเครื่องหมาย เพราะไม่มีรูปเป็นเครื่องหมาย. มรรคผล ชื่อว่าไม่มีอะไร
เป็นเครื่องหมายก็เพราะไม่มีกิเลสที่เป็นเครื่องทำเครื่องหมาย. แม้พระ
นิพพานก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหมือนกัน แต่พระนิพพานนั้น ไม่เป็น
ความหลุดพ้นแห่งใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ได้จัดเข้าไว้. แล้วทำไมจึงไม่จัด
ความหลุดพ้นแห่งใจชนิดที่เป็นของว่างไว้ด้วยเล่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่เป็น
ของว่างนั้น ชื่อว่าไม่เข้าไปในกิเลสทุกชนิดเลย เพราะคำ (บาลี) เป็นต้น
ว่า "ว่างจากความกำหนัด" เพราะฉะนั้นจึงไม่จัดเข้าไว้เป็นแผนกหนึ่งต่าง
หาก. คำว่า "มีใจความเป็นอันเดียวกัน" ได้แก่ และด้วยอำนาจ
อารมณ์ ก็มีใจความเป็นอันเดียวกัน. ก็แล คำทั้งหมดนี้คือ "ไม่มีประ

มาณ, ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวล, ความเป็นของว่าง, ไม่มีอะไรเป็น
เครื่องหมาย" เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น.
จึงเป็นอันสรุปได้ว่า ก็แลตามแบบนี้ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีประ
มาณในที่อื่น ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวลในที่อื่น ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่
มีอะไรเป็นเครื่องหมายในที่อื่น (ทั้งหมดนั้นล้วนแต่) มีใจความเป็นอันเดียว
กัน, ตามแบบนี้ ต่างกันแต่พยัญชนะ (เท่านั้น).
พระเถระ จบเทศนาลงตามอนุสนธิแท้ ดังที่ได้แสดงมาด้วยประการ
ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาเวทัลลสูตร ที่ 3

4. จูฬเวทัลลสูตร



[505] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเวฬุวันซึ่งเป็นที่ประทาน
เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีธรรมทินนา
ถวายนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
[506] วิสาขะอุบาสกถาม นางธรรมทินนาภิกษุณี ปรารภจตุ-
สัจจธรรมว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายะ สักกายะ
กายของตน กายของตน ดังนี้ ธรรมอย่างไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า กายของตน.
นางธรรมทินนาภิกษุณี วิสัชนาว่า วิสาขะอุบาสกผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง
หลายที่เป็นอุปาทานเหล่านี้ คือกองรูปที่ยังมีความยึดมั่น กองเวทนาที่ยัง
มีความยึดมั่น กองสัญญาที่ยังมีความยึดมั่น กองสังขารที่ยังมีความยึด
มั่น กองวิญญาณที่ยังมีความยึดมั่น อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้แล พระองค์
ตรัสว่า กายของตน.
วิสาขะอุบาสก อนุโมทนาชื่นชมตามภาษิต ของนางธรรมทินนา
ภิกษุณีว่า ถูกละ พระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว จึงถามยิ่งขึ้นไปกับนางธรรมทินนา
ภิกษุณีว่า พระแม่เจ้า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายสมุทัย
สักกายสมุทัย ธรรมเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น
พร้อมแห่งสักกายะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.
ธ. ตัณหา อันใดไปพร้อมด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความ
เพลิน มักเพลินเฉพาะในภพนั้น ๆ ตัณหานั้น 3 อย่าง กามตัณหาหนึ่งภวตัณ-