เมนู

อรรถกถาเวรัญชกสูตร



เวรัญชกสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้"

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ชาวเวรัญชา" ได้แก่ พวกผู้อยู่ที่เมือง
เวรัญชา. คำว่า " ด้วยกรณียะบางอย่างทีเดียว" ได้แก่ด้วยกิจที่ไม่กำหนด
ให้แน่ลงไปบางอย่างนั่นแล คำที่เหลือทั้งหมด พึงทราบตามแบบที่ว่าไว้แล้ว
ในสูตรก่อน. ก็เพียงแต่ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการ
แสดงชนิดยกเอาบุคคลมาเป็นที่ตั้งอย่างนี้ว่า "บุคคลมีปกติประพฤติไม่เป็น
ธรรม มีปกติประพฤติไม่เรียบร้อย แต่ในพระสูตรก่อน เป็นชนิดยกเอา
ธรรมมาเป็นที่ตั้งเท่านั้น. แตกต่างกันเท่านี้ ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเวรัญชกสูตร ที่ 2

3.มหาเวทัลลสูตร


[483] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะ
ออกจากที่เร้นในเวลาบ่ายแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่พัก แล้วก็ชื่น
ชมกับท่านพระสารีบุตร เมื่อเสร็จถ้อยคำที่ทำให้เกิดความชื่นชม เป็นที่ตั้ง
แห่งความระลึกนึกถึงกันแล้ว ก็นั่งลงในควรส่วนหนึ่ง."
[494] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะ นั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว
ก็ได้พูดกับท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า " ท่าน คำที่เขาเรียกกันว่า " คนมี
ปัญญาชั่วๆ " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า
" คนมีปัญญาชั่ว "
สา. " ที่เขาเรียกว่า คนมีปัญญาชั่ว (คนโง่) ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่
เข้าใจแจ่มแจ้งนั่นแหละคุณ ก็เขาไม่รู้ชัดอะไรเล่า ? เขาไม่รู้ชัดว่า " นี้ทุกข์ "
" นี้เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้น ". ไม่รู้ชัดว่า " นี้ความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ",
ไม่รู้ชัดว่า " นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ", ที่เรียกว่า
" คนโง่." ก็เพราะเขาไม่รู้ชัด ไม่เข้าใจ(อริยสัจ) นี่แหละคุณ "
" ดีมาก ครับท่าน " ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร แล้วก็ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า " ท่านครับ คำที่เขาว่า คนมีปัญญาๆ (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียง
ไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า " คนมีปัญญา "