เมนู

อรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร



จูฬอัสสปุรสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ

เหตุแห่งการแสดงพระสูตรนั้น เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. บท
ว่า สมณสามีจิปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาอันสมควรแก่สมณะทั้งหลาย คือ
ปฏิปทาอันเกื้อกูลแก่สมณะทั้งหลาย. ในบทว่า สมณมลานํ เป็นต้น ความ
ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกระทำสมณะทั้งหลาย ให้มีมลทิน
คือมลทินจับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นมลทินของสมณะ
สมณะทั้งหลายย่อมเสียหาย ย่อมประทุษร้าย ด้วยมลทินเหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นโทษของสมณะ. และธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมกระ
ทำสมณะทั้งหลายให้เป็นเหมือนหยากเยื่อหมดโอชะ ให้เหี่ยวแห้ง เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นดังน้ำฝาดของสมณะ ดังนี้. บทว่า อาปายิกานํ
ฐานานํ
ความว่า เหตุให้เกิดในอบาย. บทว่า ทุคฺคติเวทนียานํ ความว่า เป็น
ปัจจัยแห่งการเสวยวิบากในทุคคติ.
บทว่า มตชนฺนาม ความว่า พวกมนุษย์ตะไบเหล็กกล้าด้วยเหล็กแล้ว
ขยำผงเหล็กนั้นเข้ากับเนื้อให้นกกระเรียนกิน นกกะเรียนเหล่านั้น ไม่อาจ
ถ่ายอุจจาระก็ตาม ถ้าไม่ตาย ก็จะประหารให้ตาย. เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะผ่า
ท้องของนกกะเรียนเหล่านั้น เอาน้ำล้างผงเหล็กเหล่านั้น ถือเอาผงละเอียด
คลุกกับเนื้อให้นกกระเรียนทั้งหลายกิน ดังนั้นจึงให้นกกระเรียนกิน
อย่างนี้ 7 ครั้ง แล้วกระทำอาวุธด้วยผงเหล็กที่ถือเอาแล้ว ช่างเหล็กศึกษาดี
แล้ว ได้มูลเหตุหัตถกรรมเป็นอันมาก ย่อมกระทำอาวุธนั้น เขาจึงเรียก
อาวุธนั้นว่า มตชะ เพราะเกิดจากนกที่ตายแล้ว. อาวุธนั้นเป็นอาวุธคมยิ่ง
นัก. บทว่า ปีตินิสฺสิตํ ได้แก่ ชุ่มด้วยน้ำ และลับด้วยหิน. บทว่า สํฆาฏิยา

ได้แก่ ฝัก. บทว่า สํปารุตํ ได้แก่ หุ้มไว้แล้ว. บทว่า สมฺปลิเวฐิตํ ได้แก่
พันไว้โดยรอบ.

บทว่า รโชชลฺลิกสฺส ได้แก่ ผู้หมักหมมด้วยธุลี. บทว่า อุทโก-
โรหกสฺส
ได้แก่ ลงอาบน้ำวันละสามครั้น. บทว่า รุกฺขมูลิกสฺส ได้แก่ อยู่
โคนไม้. บทว่า อพฺโภกาสิกสฺส ได้แก่ อยู่กลางแจ้ง. บทว่า อุพฺภฏฺฐกสฺส
ได้แก่ การอบกาย. บทว่า ปริยายภตฺติกสฺส ได้แก่ การบริโภคอาหารเดือน
ละครั้น หรือว่า ครึ่งเดือนต่อครั้ง. คำทั้งหมดนั่นตรัสถึงลัทธิภายนอก. เพราะ
ในพระศาสนานี้ ภิกษุผู้ทรงจีวร ไม่เรียกว่า ครองสังฆาฏิ. อนึ่ง วัตรมีการ
หมักหมมด้วยธุลีเป็นต้น ในพระศาสนานี้ก็ไม่มี พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
เท่านั้น เป็นชื่อของพระพุทธพจน์ ไม่ใช่มนต์ เพราะฉะนั้น ก็บทว่า รุกฺขมฺลิโก
อพฺโภกาสิโก
ย่อมได้เพียงนี้เท่านั้น. แม้คำที่กล่าวแล้วนั้น ก็ตรัสไว้โดย
ลัทธิภายนอก. บทว่า ชาตเมว นํ ได้แก่ สักว่าเกิดแล้วในวันนั้นทีเดียว.
บทว่า สงฺฆาฏิกํ กเรยฺยุํ ความว่า นุ่งแล้ว ห่มแล้ว ซึ่งผ้าสังฆาฏิ พึงทำให้เป็น
สังฆาฏิ. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า วิสุทฺธมตฺตานํ สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมเห็นตน
ว่า บริสุทธิ์. แต่ว่า บทว่า บริสุทธิ์ ดังนี้ ไม่พึงกล่าว. บทว่า ปาโมชฺชํ
ชายติ
ได้แก่ อาการแห่งความยินดีย่อมเกิดขึ้น. อธิบายว่า ปีติอันยังสรีระทั้ง
สิ้นของผู้บันเทิงแล้ว ร่าเริงแล้วด้วยปีติ ให้หวั่นไหวเกิดขึ้นอยู่. บทว่า
ปีติมนสฺส กาโย ได้แก่ นามกายของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยปีติ. บทว่า
ปสฺสมฺภติ ได้แก่ ปราศจากความกระวนกระวาย. บทว่า สุขํ เวเทติ ความ
ว่า ย่อมเสวยความสุขอันเป็นทางกายบ้าง ทางใจบ้าง. บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ
ความว่า จิตของบุคคลผู้มีความสุข ด้วยเนกขัมมสุขนี้ย่อมตั้งมั่น ย่อมเป็น
เหมือนบรรลุอัปปนา. บทว่า โส เมตฺตาสหคเตน เจตสา ความว่า เทศนา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแล้ว ด้วยอำนาจแห่งกิเลสในหนหลัง หยั่งลง
แล้วสู่การเจริญพรหมวิหารตามอนุสนธิ ดุจฝนที่ตกแล้ว ตกเล่า บนภูเขา
ไหลลงสู่แม่น้ำฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำที่ควรกล่าวทั้งหมด ได้กล่าว
ไว้ในวิสุทธิมรรค. บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว โปกฺขรณี นี้ พึงทราบว่า
ในมหาสีหนาทสูตร มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบด้วยสระโบกขรณี
ใหญ่ พระศาสดาก็ทรงเปรียบไว้ในที่นี้. บทว่า อาสวานํ ขยา สมโณ
โหติ
ความว่า ชื่อว่า เป็นสมณะอย่างยิ่ง เพราะกิเลสทั้งหมดสงบแล้ว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายนั้นแล.

จบอรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร ที่ 10

จบวรรคที่ 4

จูฬยมกวรรค



1. สาเลยยกสูตร



[483] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อม
กับหมู่ภิกษุจำนวนมาก มาประทับอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์แห่งแคว้นโกศลชื่อ
สาละ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละได้ฟังข่าวว่า นี่แน่ เขาว่าพระ
สมณโคดมผู้เจริญ โอรสเจ้าศากยะบวชจากตระกูลศากยะกำลังท่องเที่ยวอยู่ใน
แคว้นโกศล ได้มาถึงหมู่บ้านสาละพร้อมกับหมู่ภิกษุจำนวนมาก ก็แลเกียรติ-
ศัพท์อันงามได้ขจรขึ้นไปยังพระโคดมผู้เจริญนั้นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกต้องด้วย
พระองค์เอง สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้จักโลก
เป็นผู้ฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้สอนพวกเทวดาและมนุษย์
เป็นพุทธะ เป็นผู้จำแนกธรรม พระโคดมนั้นได้กระทำให้แจ้งโลกนี้รวมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่คนรวมทั้งสมณะและพราหมณ์รวมทั้ง
เทวดาและมนุษย์ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วชี้แจง. ท่านแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งใจความ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ก็แหละการเห็นหมู่พระอรหันต์
เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแท้.
ครั้นนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละ ก็พากันเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บันเทิงกับพระผู้มีพระภาค
เจ้า เมื่อพูดจาปราศรัยกันพอเป็นที่ระลึกนึกถึงกันเสร็จแล้ว ก็นั่งลงในที่ควร