เมนู

อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตร


มหาตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิคตํ นี้ ในอลคัททสูตร
กล่าวบทว่า ทิฏฐิว่าเป็นลัทธิ. ในที่นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัสสตทิฏฐิ. ก็ภิกษุนั้น
เป็นผู้สดับมาก แต่ภิกษุที่สดับน้อยกว่าชาดก ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ประชุมเรื่องชาดกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้เป็นเวสสันดร ได้เป็น
มโหสถ ได้เป็นวิธูรบัณฑิต ได้เป็นเสนกบัณฑิต ได้เป็นพระเจ้ามหาชนก
ดังนี้. ทีนั้น เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไป
ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลก
อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าว
ว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมแล่นไป ไม่ใช่อย่างอื่น ดัง
นี้. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณจึงมี เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ดังนี้. เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวคำที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมให้การประ
หารชินจักร ย่อมคัดค้านเวสารัชชญาณ ย่อมกล่าวกะชนผู้ใคร่เพื่อจะฟังให้
ผิดพลาด ทั้งกีดขวางทางอริยะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความ
ทุกข์แก่มหาชน มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
สิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชนชื่อฉันใด บัณฑิตพึงทราบ
ว่า โจรในคำสั่งของพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ความทุกข์แก่มหาชน ฉันนั้น.
บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรผู้มีปกติอยู่
ในชนบท. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ภิกษุสาตินี้

ได้พวกแล้ว จะพึงยังพระศาสนาให้อันตรธานไป เธอยังไม่ได้พวกเพียง
ใด พวกเราจักปลดเปลื้องเธอจากความเห็นผิดเพียงนั้น ดังนี้ จึงไม่ยืนไม่
นั่ง เข้าไปหาจากที่ที่ตนฟังแล้วๆ นั่นแหละ.
บทว่า ยํ กตมนฺตํ สาติ วิญฺญาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ เธอกล่าวหมายเอาวิญญาณใด วิญญาณนั้น
เป็นไฉน. ข้อว่า ยฺวายํ ภนฺเต วโท เวเทยฺโย ตตฺร ตตฺร กลฺยาณปาปกานํ
กมฺมานํ วิปากํป ปฏิสํเวเทติ
ความว่า สาติภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ สภาวะใด ย่อมพูดได้ ย่อมเสวยอารมณ์ได้ ก็ ภาวะนั้น ย่อมเสวย
วิบากของกุศลกรรม และอกุศลกรรมในที่นั้นๆ ได้ข้าพระองค์กล่าวหมายถึง
วิญญาณอันใด ข้าแต่พระองค์เจริญ นี้เป็นวิญญาณนั้นดังนี้. บทว่า
กสฺส นุ โข นาม ความว่า ก็ใครคือว่า แก่กษัตริย์หรือว่า พราหมณ์ หรือ
ว่าแก่แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คนใดคน
หนึ่ง.
บทว่า อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลาย. ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
พระศาสดาตรัสเรียกเราว่า โมฆบุรุษ ดังนี้จะไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและ
ผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่า โมฆบุรุษนี้เท่านั้น ก็หามิได้ เพราะ
ว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส อย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ
เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายาม
อยู่ ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา 6 แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระ
ทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
แสดงแก่เธอว่า สาติภิกษุนี้ มีปัจจัยอันขาดแล้ว เป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงาม
ในศาสนาดังนี้จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อุสฺมีกโต เป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบอธิบายตามที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

บทว่า อถโข ภควา ความว่า อนุสนธิแม้นี้เป็นของเฉพาะบุคคล.
ได้ยินว่าสาติภิกษุได้มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ธรรมอันเป็น
อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายของเราไม่มี ดังนี้ เมื่อธรรมอันเป็น
อุปนิสัยไม่มีอยู่ เราอาจเพื่อจะแก้ไขธรรมอันเป็นอุปนิสสัยได้หรือ เพราะ
ว่า พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีอุปนิสสัย เท่า
นั้น แสดงอยู่แก่ใคร ๆ นั่นแหละ เราได้โอวาทของพระสุคตจากสำนักของ
พระพุทธเจ้าแล้วจักกระทำกุศล เพื่อสวรรค์สมบัติดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาท
หรืออนุสาสนีแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่ม
เทศนานี้. เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง
นั่นแหละ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชำระลัทธิในบริษัท จึงตรัส
คำว่า อิธาหํ ภิกฺขู ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ เป็นต้น. ถ้อยคำแม้ทั้งหมด บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
จบสาติกัณฑ์
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่วิญญาณมีปัจจัย
จึงตรัสคำว่า ยํ ยเทว ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนญฺจ
ปฏิจฺจ ธมฺเม จ
ได้แก่ วิญญาณอาศัยภวังคจิต พร้อมทั้งอาวัชชนะ และ
ธรรมดันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า กฏฺฐญฺจ ปฏิจฺจ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงชี้แจงด้วยอุปมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่าง
ไร ด้วยอุปมานั้น. ทรงแสดงถึงความไม่มีความพอใจในทวาร. เหมือนอย่าง
ว่า ไฟอาศัยไม่จึงลุกโพลงอยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อยังมีอยู่นั่นแหละ ก็ยังลุก
อยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อไม่มีอยู่ ก็ย่อมดับไปในที่นั้นนั่นเอง เพราะความขาด

แคลนปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้นว่า ไฟสะเก็ดไม่เป็นต้น เพราะก้าว
ล่วงวัตถุทั้งหลายมีสะเก็ดไม่เป็นต้น ฉันใด วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ
และรูปฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปัจจัยกล่าวคือ จักขุประสาท รูป อาโลกะ
และมนสิการในทวารนั้น ยังมีอยู่ ย่อมเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยนั้นไม่มีอยู่ ย่อมดังไป
ในที่นั้นแหละ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้น
ว่า โสตวิญญาณเป็นต้น เพราะก้าวล่วงโสตประสาทเป็นต้น. ในวาระทั้งปวง
ก็มีนัยนี้แหละ. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงติเตียนภิกษุสาติด้วย
พระดำรัสว่า เราย่อมไม่กล่าวเหตุแม้สักว่าความพอใจในทวาร ในความเป็น
ไปแห่งวิญญาณ ก็สาติภิกษุโมฆบุรุษนี้ ย่อมกล่าวถึงความพอใจในภพ
ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่วิญญาณมีปัจจัยแล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่ขันธ์แม้ทั้งห้ามีปัจจัย จึงตรัสคำว่า ภูตมิทํ
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูตมิทํ นี้ ได้แก่ ขันธปัญจกะ อันเกิด
แล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอเห็นว่า ขันธปัญจกะที่เกิดแล้วหรือ. บทว่า ตทาหารสมฺภวํ
ความว่า ก็ขันธปัญจกะนั่นนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหาร เกิดขึ้นเพราะปัจจัย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า พวกเธอเห็นปานนี้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่
ขันธปัญจกะย่อมเกิดขึ้นหรือดังนี้. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะความ
ดับแห่งปัจจัยนั้น. บทว่า ภูตมิทํ โนสุ ได้แก่ ขันธปัญจกะนี้เกิดขึ้นแล้ว.
คือเป็นแล้ว มีอยู่หรือหนอ. บทว่า ตทาหารสมฺภวํ โนสุ ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ตรัสถามว่า ก็ขันธปัญจกะที่มีแล้วนี้ เกิดขึ้น เพราะปัจจัยหรือ
ไม่หนอ. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะการดับแห่งปัจจัยนั้น. บท
ว่า นิโรธธมฺมํ โนสุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถามว่า ขันธปัญจกะ

มีความดับไปเป็นธรรมดาหรือไม่หนอ. บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต
ความว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่โดยชอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยลักษณะ อัน
มีรสตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกะนี้ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว
ดังนี้. บทว่า ปญฺญาย สุทิฏฺฐํ ได้แก่ เห็นแล้วโดยชอบ ด้วยวิปัสสนาปัญญา
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บุคคลเหล่าใดๆ กำหนดคำถามนั้น ด้วยอา
การอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรับปฏิญญาของคนเหล่านั้นๆ
ก็จักแสดงถึงความที่ขันธ์ห้ามีปัจจัย ดังนี้.
บัดนี้ พวกภิกษุมีความเป็นขันธ์ปัญจกะนั้นมีปัจจัย และมีนิโรธเป็น
อย่างดี ด้วยปัญญาใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความที่ขันธ-
ปัญจกะนั้นไม่มีตัณหาในที่นั้น จึงตรัสคำว่า อิมํ เจ ตุมฺเห เป็นต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น. บทว่า ทิฏฺฐิ ได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะเห็น
โดยสภาวะ ชื่อว่า ผุดผ่อง เพราะเห็นปัจจัย. บทว่า อลฺลิเยถ ได้แก่ พึงติดด้วย
ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายอยู่. บทว่า เกฬาเยถ ได้แก่ พึงเพลิดเพลินอยู่ ด้วยตัณหา
และทิฏฐิ. บทว่า ธเนยฺยาถ ได้แก่ ถึงถึงความอยากได้ เหมือนผู้ปรารถนา
ทรัพย์. บทว่า มมาเยถ ได้แก่ พึงยังเหตุสักว่าตัณหาและทิฏฐิให้เกิด
ขึ้น. บทว่า นิตฺถรณตฺถาย โน คหณตฺถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ธรรมใด เปรียบด้วยทุ่น (แพชนิดหนึ่ง) ที่เราแสดงแล้ว เพื่อประ
โยชน์ในอันสลัดออกจากโอฆะ 4 พวกเธอพึงรู้ธรรมนั้น มิใช่เพื่อประโยชน์
ในอันถือเอาด้วยสามารถแห่งความใคร่ บ้างหรือหนอ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบ
ธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งขันธ์เหล่า
นั้น จึงตรัสคำว่า จตฺตาโร เม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น. คำนั้น มีอรรถตาม

ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. มีอธิบายว่า เหมืออย่างว่า ธรรมอย่าหนึ่ง ที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เธอย่อมรู้ธรรมนี้ คือว่า บุคคลเมื่อรู้ด้วยสามารถ
แห่งประเพณีเป็นมาอย่างนี้ว่า เราย่อมไม่รู้มารดาของบุคคลนี้อย่าง
เดียว ย่อมรู้แม้ซึ่งมารดาของมารกา ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมรู้อย่างดี ฉันใด พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงทราบชัดแต่เพียงขันธ์อย่างเดียว
เท่านั้นก็หาไม่ ทรงทราบความสืบต่อเนื่องๆ กันมาแห่งธรรมที่เป็นปัจจัยทั้ง
ปวง อย่างนี้ว่า ย่อมทรงทราบชัดแม้ปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบ
แม้ปัจจัยแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า เพื่อทรง
แสดงความสืบเนื่องต่อๆ กันมาแห่งปัจจัยในบัดนี้ จึงตรัสคำว่า อิเม จ ภิกฺขเว
จตฺตาโร อาหารา
เป็นต้น. แม้คำนั้น ก็มีอรรถเหมือนที่กล่าวแล้ว. กถาว่า
ด้วยปฏิจจสมุปบาทในพระบาลีนี้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลายสังขารทั้ง
หลาย มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดังนี้ พึงให้พิสดาร ก็กถานั้นกล่าว
พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ ได้แก่ เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี
อยู่ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็มี. บทว่า อิมสฺสุปฺปาทา อิทิ อุปฺปชฺชติ ได้แก่
เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิดขึ้นผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็เกิดขึ้น. ด้วยเหตุ
นั้นเหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้ง
หลาย จึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงแสดงถึงวิวัฏฏะจึงตรัสคำว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เป็น
ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว คือ อวิชชานั่นแหละ. บท
ว่า อเสสวิราคนิโรธา คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะสังขารดับ
ไป วิญญาณจึงดังดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดงว่า ก็เพราะความดับไปแห่งสังขาร
ทั้งหลาย อันดับไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะความดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค
กล่าวคือ วิราคะ ความดับไม่เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย จึงมี ดังนี้ วิญญาณ
ก็ดับ และเพราะความดับแห่งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น ชื่อว่า ธรรม
ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ก็ย่อมดับไปเหมือนกัน ดังนี้ แล้วจึงตรัสว่า ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมิได้อย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส
ได้แก่ ทั้งสิ้น อธิบายว่า กองทุกข์ล้วน ๆ เว้นจากความเป็นสัตว์. บทว่า
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส แปลว่า กองทุกข์. บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ ความไม่เกิด
ขึ้น. บทว่า อิมสฺมึ อสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำ
ที่กล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสปฏิจจสมุปบาททั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ
ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่มีแห่งการท่องเที่ยว
ไป อันบุคคลผู้รู้อยู่ซึ่งความหมุนเวียนไปแห่งปัจจัย 12 นี้พร้อมด้วยมรรค
ในวิปัสสนาญาณที่ละได้แล้วนั้น จึงตรัสคำว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เป็น
ต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ชานนฺตา ได้แก่ รู้อยู่อย่างนี้พร้อม
ด้วยวิปัสสนามรรค. บทว่า เอวํ ปสฺสนฺตา เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแหละ.
บทว่า ปุพฺพนฺตํ อธิบายว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งหลายในอดีต. บท
ว่า ปฏิธาเวยฺยาถ คือว่า พึงแล่นไปด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. คำที่
เหลือพิสดารแล้วในสัพพาสวสูตร.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่หวั่นไหวของ
ภิกษุเหล่านั้น ในที่นั้นจึงตรัสคำว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เอวํ ชานนฺตา เอวํ
ปสฺสนฺตา เอวํ วเทยฺยาถ สตฺถา โน ครุ
ดังนี้เป็นต้น. แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็น
ครูของพวกเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ครุ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยภาระ เป็นผู้คล้อย
ตามความใคร่ก็มิได้. บทว่า สมโณ ได้แก่ สมณะผู้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า
อญฺญํ สตฺถารํ อุทฺทิเสยฺยาถ ความว่า พวกเธอพึงเป็นผู้สำคัญอย่างนี้ว่า
พระศาสดานี้ ไม่สามารถยังกิจของพวกเราให้สำเร็จดังนี้ แล้วพึงยกย่อง
ศาสดาอื่น คือภายนอกพระศาสนาบ้างหรือ. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ
คือ สมณะเดียรถีย์และพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า วตกุตุหลมงฺคลานิ ได้
แก่ สมาทานข้อปฏิบัติอย่างหนึ่ง ตื่นความเห็นอย่างหนึ่ง และทิฏฐมงคล
สุตมงคล มุตตมงคลอย่างหนึ่ง. บทว่า ตานิ สารโต ปจฺจาคจฺเฉยิยาถ ความ
ว่า พึงเป็นผู้สำคัญเหล่านั้น อย่างนี้ว่าเป็นสาระ ดังนี้ ยึดถือเอา อธิบาย
ว่า แม้สละออกแล้วอย่างนี้ แล้วก็ยึดถือเอาอีก. บทว่า สมมํ ญาตํ ได้แก่
รู้ได้เองด้วยญาณ. บทว่า สามํ ทิฏฐํ ได้แก่ เห็นได้เองด้วยปัญญาจักษุ.
บทว่า สามํ วิทิตํ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง คือทำให้ปรากฏได้เอง. บทว่า อุปนี-
ตา โข เม ตุมฺเห
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออันเรานำเข้าไปสู่
นิพพานโดยธรรมอันมีสภาวะที่ตนพึงเห็นเองเป็นต้นนี้. อธิบายว่า อันเรา
ให้ ถึงแล้ว เนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายมีสนฺทิฏฐิโก เป็นต้น พิสดารแล้วใน
วิสุทธิมรรค. บทว่า อิทเมตํ ปฏิจฺจ วุตฺตํ ความว่า คำนี้ อย่างนี้ เรากล่าว
แล้ว เพราะอาศัยความที่พวกเธอรู้เองเป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคาถาว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัย 3 ประการดังนี้. พระองค์ทรง
ยังเทศนาให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะในหนหลังมิใช่หรือ. ตอบ
ว่า ใช่ให้ถึงที่สุดแล้ว. แต่ว่าอนุสนธินี้เป็นของเฉพาะบุคคล. จริงอยู่ โลกสัน
นิวาสนี้ หลงใหลแล้วในปฏิสนธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่ม
เทศนานี้ว่า เราจักกำจัดฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลของโลกสัน-
นิวาสนั้นทำให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง อวิชชามีวัฏฏะเป็นมูล ความบังเกิดขึ้น
แห่งพุทธะมีวิวัฏฏะเป็นมูล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงแสดง
อวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล และพุทธุปบาทอันมีวิวัฏฏะเป็นมูลแล้ว ทรงดำริ
ว่า เราจักยังเทศนาให้ถึงที่สุดอีกครั้งเดียว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะและวิวัฏฏะ
ดังนี้ จึงเริ่มเทศนานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิปาตาได้แก่ เพราะการประชุม
คือว่า เพราะประมวลมา. บทว่า คพฺภสฺส ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดขึ้นในครรภ์.
บทว่า อวกฺกนฺติ โหติ ได้แก่ ความเกิดย่อมมี. จริงอยู่ในที่บางแห่งท้องแห่ง
มารดาท่านเรียกว่า ครรภ์. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-
ยเมกรตฺตึ ปฐมํ คพฺเภ วสติ มาณโว
อพฺภุฏฺฐิโตว สยติ ส คจฺฉํ น นิวตฺตติ.

แปลว่า สัตว์อยู่ในท้องเเม่ ตลอดราตรีหนึ่งก่อน เขาลุกขึ้นแล้ว
ก็นอน เขาไปไม่กลับ
. ในที่บางแห่ง ท่านเรียกสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ว่า ครรภ์.
เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ยถา โข ปนานนฺท อิตฺถิโย อญฺญา นว วา ทส วา
มาเส คพฺภํ กุจฺฉินา ปริหริตฺวา วิชายนฺติ
แปลว่า ก่อนอานนท์ หญิงอื่นๆ
ย่อมรักษาทารกผู้เกิดในครรภ์ด้วยท้อง เก้าเดือน หรือว่า สิบเดือนแล้วจึง
คลอด. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัตว์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ ดังนี้ หมายถึงสัตว์นั้น.บทว่า อิธ ได้แก่ ในสัตว์โลก
นี้. บทว่า มาตา จ อุตุนี โหติ นี้ ตรัสหมายเอาเวลามีระดู. ได้ยินว่า ทารก
ย่อมเกิดแก่มาตุคามในโอกาสใด ในโอกาสนั้น เม็ดโลหิตใหญ่ตั้งอยู่แล้ว
แตกไหลไป เป็นวัตถุบริสุทธิ์ เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ มารดาบิดาอยู่ร่วมกันครั้ง
เดียวมีเขตเจ็ดวันทีเดียว ในสมัยนั้น ทารกย่อมเกิดขึ้นได้ แม้ด้วยการลูบคลำ
อวัยวะ มีการจับมือ จับมวยผมเป็นต้น. บทว่า คนฺธพฺโพ ได้แก่ สัตว์ผู้เข้าถึง
ในที่นั้น. บทว่า ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ นี้ มีอธิบายว่า ชื่อว่า สัตว์ผู้จ้องดูการอยู่
ร่วมมารดาและบิดา ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ย่อมไม่มี แต่ว่า สัตว์หนึ่ง ผู้อันกรรม
ซัดส่งไปแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นในโอกาสนั้น มีอยู่ ดังนี้. บทว่า สํสเยน ความ
ว่า ด้วยการสงสัยในชีวิตอย่างใหญ่ อย่างนี้ว่า เราหรือว่าบุตรของเราจัก
ปราศจากโรคไหมหนอดังนี้.

บทว่า โลหิตญฺเหตํ ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า โลหิตของแม่ในครั้ง
นั้น ถึงพร้อมแล้วและถึงพร้อมแล้วซึ่งฐานะนั้น คือว่า ย่อมเป็นของขาวด้วย
ความสิเนหาในบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า วงฺกํ ได้แก่ ไถเล็กของทารกในผู้เล่นอยู่. การเล่นประหารไม้สั้น
ด้วยไม้ยาว ท่านเรียกว่า ฆฏิกา. บทว่า โมกฺขจิกํ ได้แก่ การเล่นหมุนเวียน.
มีอธิบายว่า การเล่นจับท่อนไม้ในอากาศ หรือว่า เล่นเอาหัวตั้งที่พื้นดิน
แล้วพลิกไปมาข้างล่างข้างบน. จักรหมุนไปด้วยการกระทบลม ที่ทำด้วย
วัตถุทั้งหลายมีใบตาลเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิงคุลิกะ. ทะนานทำด้วยใบ
ไม้ ท่านเรียกว่า ปัตตาฬหกะ ได้แก่ การเล่นตวงวัตถุทั้งหลายมีทรายเป็น
ต้น ด้วยทะนานใบไม้นั้น. บทว่า รถกํ ได้แก่ รถเล็ก. แม้ธนู ก็ได้แก่ธนูเล็ก
นั่นแหละ. บทว่า สารชฺชติ ได้แก่ ย่อมยังราคะให้เกิดขึ้น. บทว่า พฺยาปชฺชติ
ได้แก่ ย่อมยังความพยาบาทให้เกิดขึ้น. บทว่า อนุปฏฺฐิตกายสติ ความ

ว่า สติในกาย เรียกว่า กายสติ อธิบายว่า ตั้งกายสตินั้น. บทว่า ปริตฺตเจตโส
ได้แก่ อกุศลจิต. บทว่า ยตฺถสฺส เต ปาปกา ความว่า อกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้นย่อมดับไป ในผลสมาบัติใด ย่อมไม่รู้ย่อมไม่บรรลุสมาบัติ
นั้น. บทว่า อนุโรธวิโรธํ ได้แก่ ราคะ และโทสะ. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่
ย่อมเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลกล่าวด้วยอำนาจแห่งตัณหา
ว่า โอ สุขหนอ เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมบ่น. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺฐติ ได้แก่
กลืนกิน คือยังกิจให้สำเร็จแล้วถือเอาด้วยความติดใจในตัณหา. อธิบาย
ว่า จงยินดียิ่งซึ่งสุข หรือว่าอทุกขมสุข ก่อนหรือว่าย่อมยินดียิ่งซึ่งทุกข์อย่าง
ไร. เมื่อบุคคลยึดถือว่า เรามีทุกข์ ทุกข์เป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง
ในทุกข์. บทว่า อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น.บทว่า ตทุปา-
ทานํ
ความว่า ตัณหานั้นเอง ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดถือ. ก็ปัจจยา-
การอันเป็นวัฏฏะมีสนธิสามและสังเขปนี้นี้ว่า ตสฺส อุปาทานปจฺจยา ภโว
ฯเปฯ สมุทโย โหติ
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอีกครั้งหนึ่ง.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอันเป็นส่วนวิวัฏฏะ จึง
ตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่าอุปฺปมาณเจตโส ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาประมาณมิได้ เพราะมีจิตเป็น
โลกุตตระอันประมาณมิได้ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต.
บทว่า อิมํ โข เม ตุมฺเห ภิกฺขเว สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ธาเรถ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำ
เทศนาตัณหาสังขยวิมุตติของเรา อันเราแสดงโดยย่อนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์
เถิด อย่าหลงลืม. จริงอยู่ เทศนาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
วิมุตติ เพราะเป็นเหตุได้วิมุตติ. บทว่า มหาตณฺหาชาลตณฺหาสํฆาฏิปฏิ-

มุกฺกํ ความว่า ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข่ายตัณหาใหญ่
เพราะอรรถว่า ร้อยรัดไว้ ตรัสว่า สังฆาฏะ เพราะอรรถว่า เสียดสี อธิบาย
ว่า พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เป็นบุตรนายเกวัฏฏ์นี้ว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่าย
แห่งตัณหาใหญ่ และในร่างตัณหานี้ พึงทรงจำภิกษุนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปแล้ว
อยากอยู่ภายใน ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น
แล.

จบอรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตรที่ 8

9. มหาอัสสปุรสูตร



[459] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่
เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม
รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น
อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก
เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักสมาทานประพฤติกรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น
พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา
ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย
นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา
อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.
[460] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ
ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ
ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้
พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ
(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น