เมนู

ไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง
บริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่มี
โทษในภายใน.
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุน-
ทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต...ดมกลิ่นด้วย
ฆานะ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวย
สุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน.
ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ
บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ
การตื่น การพูด การนิ่ง.

การชำระจิต



[456] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร และสติสัมปชัญญะ
อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตใน
กาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิด
พยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศ
จากถิ่นมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจกุกกุจะ
ได้ ละวิจีกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

[457] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง
จิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าถึง
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกและ
วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เข้าถึง
ตติยฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอยู่.

[458] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่า
รัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประ
มาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่ง
อกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้
แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่
สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิด

เพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็
ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็
ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
นั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต... ดมกลิ่นด้วยฆานะ...
ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่
น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัด
เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความ
เป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่น
ถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา
นั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ
อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติ
ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็
ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุติ โดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจง
ทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหาและกองตัณหา
ใหญ่ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทูพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ มหาตัณหาสังขยสูตรที่ 8

อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตร


มหาตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิคตํ นี้ ในอลคัททสูตร
กล่าวบทว่า ทิฏฐิว่าเป็นลัทธิ. ในที่นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัสสตทิฏฐิ. ก็ภิกษุนั้น
เป็นผู้สดับมาก แต่ภิกษุที่สดับน้อยกว่าชาดก ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ประชุมเรื่องชาดกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้เป็นเวสสันดร ได้เป็น
มโหสถ ได้เป็นวิธูรบัณฑิต ได้เป็นเสนกบัณฑิต ได้เป็นพระเจ้ามหาชนก
ดังนี้. ทีนั้น เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไป
ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลก
อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าว
ว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมแล่นไป ไม่ใช่อย่างอื่น ดัง
นี้. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณจึงมี เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ดังนี้. เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวคำที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมให้การประ
หารชินจักร ย่อมคัดค้านเวสารัชชญาณ ย่อมกล่าวกะชนผู้ใคร่เพื่อจะฟังให้
ผิดพลาด ทั้งกีดขวางทางอริยะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความ
ทุกข์แก่มหาชน มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
สิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชนชื่อฉันใด บัณฑิตพึงทราบ
ว่า โจรในคำสั่งของพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ความทุกข์แก่มหาชน ฉันนั้น.
บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรผู้มีปกติอยู่
ในชนบท. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ภิกษุสาตินี้