เมนู

เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้
อย่างนี้.

กถาว่าด้วยพุทธคุณ



[454] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ตถาคตนั้น ทำโลกนี้พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว
สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด
ภายหลัง ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธา
ในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทาง
มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประ
พฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่
ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออก
บวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ
น้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น
บรรพชิต.

ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ


[455] เมื่อเขาบวชแล้วถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้ง
หลาย ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางไม้ วางมีดแล้ว มีความ

ละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เข้าให้
ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นสะอาดอยู่.
ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ
ห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน.
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำ
สัตย์ เป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.
ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอก
ข้างโน้น เพื่อทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำ
ลายข้างโน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสรินคนที่พร้อมเพรียงกัน
แล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลิน
ในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน
ละคำหยาบ เว้นขาดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวน
ให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่ พอใจ.
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล แต่คำที่เป็น
จริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.
ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี เว้นจากการฉันในเวลาวิกาล.
เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศล.

เว้นขาดจากการทัดทรงประดับเละตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของ
หอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงและใหญ่.
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.
เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกง
ด้วยเครื่องตวงวัด.
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการ
กรรโชก.
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต
เป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีก จะบิน

ไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง
บริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่มี
โทษในภายใน.
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุน-
ทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต...ดมกลิ่นด้วย
ฆานะ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบ
งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวย
สุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน.
ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ
บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ
การตื่น การพูด การนิ่ง.

การชำระจิต



[456] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร และสติสัมปชัญญะ
อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา